Skip to main content
8 Minute History

8 Minute History

By THE STANDARD

พอดแคสต์สำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ในทุกมุมโลก เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีตภายใน 8 นาที เพื่อถอดบทเรียนว่าเราจะสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
Available on
Apple Podcasts Logo
Google Podcasts Logo
Pocket Casts Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

8HIS117 การหลบหนีคดีอาชญากรสงครามของหมอโรคจิต Josef Mengele

8 Minute HistoryMay 12, 2022

00:00
05:57
8HIS275 ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู (Part 2/5)

8HIS275 ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู (Part 2/5)

ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/xrlD5BeIAgk


8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกสถานการณ์ของเวียดนามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่การต่อรองกับฝรั่งเศสในการปกครองเวียดนามเหนือ-ใต้ การร่วมเป็นพันธมิตรกับจีนในยุคเหมาเจ๋อตง จนนำไปสู่จุดพีคในสมรภูมิเดียนเบียนฟู ซึ่งฝรั่งเศสตัดสินใจยกธงขาวในที่สุด

Apr 18, 202429:21
8HIS274 ปฐมบท เวียดนามภายใต้สงครามสามทศวรรษ (Part 1/5)

8HIS274 ปฐมบท เวียดนามภายใต้สงครามสามทศวรรษ (Part 1/5)

ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/6aBiFjcE7Y4

8 Minute History ประเดิมซีรีส์ใหม่ 5 ตอนรวด ว่าด้วยชะตากรรมของ ‘เวียดนาม’ ช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ต้องรับมือกับเจ้าอาณานิคมทั้งฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศบอบช้ำจากไฟสงครามร่วมสามทศวรรษ

เริ่มเอพิโสดแรกด้วยการย้อนบริบทของเวียดนามในยุคที่ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชียอาคเนย์ อิทธิพลของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงเส้นทางชีวิตและแผนกอบกู้ชาติของโฮจิมินห์

Apr 16, 202428:31
8HIS273 ย้อนรอยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา

8HIS273 ย้อนรอยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา

ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/4zlM20Y9P1M

8 Minute History พาย้อนประวัติศาสตร์การค้นหาและผลิตพลังงานบนน่านน้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา

ไม่นานนี้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นประเด็นอีกครั้ง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าเต็มไปด้วยแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทว่ายังไม่มีฝ่ายใดลงมือสำรวจและนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะการเจรจายืดเยื้อมาหลายสิบปีโดยยังไม่มีข้อสรุป 

ทางออกของปัญหานี้มีอะไรบ้าง และแนวทางความร่วมมือที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้



Apr 11, 202420:03
8HIS272 ฉากสุดท้ายของเอสโกบาร์ โคลอมเบียยุคฟ้าหลังฝน

8HIS272 ฉากสุดท้ายของเอสโกบาร์ โคลอมเบียยุคฟ้าหลังฝน

8 Minute History เอพิโสดนี้ เดินทางมาถึงตอนจบของมหากาพย์แก๊งค้ายาโคลอมเบีย 

หลังจากประธานาธิบดีคนใหม่ชนะการเลือกตั้งในปี 1990 พันธกิจสำคัญของรัฐบาลโคลอมเบียคือการไล่ล่าตัวเอสโกบาร์มาดำเนินคดีให้ได้ ซึ่งสุดท้ายพวกเขาก็ทำสำเร็จด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มเครือญาติของผู้ที่ถูกเอสโกบาร์สังหาร กลุ่มปฏิบัติการ Search Bloc รวมถึงไส้ศึกที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มเมเดยิน



Mar 26, 202412:19
8HIS271 ยุคมืดแห่งโคลอมเบีย มาเฟียครองประเทศ

8HIS271 ยุคมืดแห่งโคลอมเบีย มาเฟียครองประเทศ

8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยเรื่องราวของโคลอมเบีย ในยุคที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของแก๊งมาเฟียยักษ์ใหญ่ นำโดย Pablo Escobar ที่เหิมเกริมถึงขั้นไล่เก็บกวาดศัตรูทางการเมืองอย่างอุกอาจคนแล้วคนเล่า ตั้งแต่นักการเมืองคู่แข่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ไปจนถึงสื่อมวลชน จนทำให้โคลอมเบียตกอยู่ในสภาวะ ‘รัฐล้มเหลว’

Mar 21, 202414:27
8HIS270 Pablo Escobar จากแก๊งค้ายาสู่องค์กรอาชญากรรม

8HIS270 Pablo Escobar จากแก๊งค้ายาสู่องค์กรอาชญากรรม

8 Minute History ยังอยู่กันที่เรื่องราวของสงครามยาเสพติดในอเมริกา โดยเอพิโสดนี้จะโฟกัสไปที่การขยายอิทธิพลของแก๊ง Medellin และ Pablo Escobar ตั้งต้นจากแก๊งค้ายาในโคลอมเบีย ลามไปสู่การเป็นองค์กรอาชญากรรมที่ไม่เกรงกลัวใคร โดยหนึ่งในหมากสำคัญคือการที่ Pablo Escobar ตัดสินใจลงเล่นการเมือง พร้อมสั่งสมฐานเสียงจากการสร้างภาพลักษณ์ ‘โรบินฮู้ด’ ที่ต่อสู้เพื่อคนทุกข์ยาก

Mar 19, 202417:06
8HIS269 War on Drugs ทำไมอเมริกาต้องประกาศสงครามยาเสพติด?

8HIS269 War on Drugs ทำไมอเมริกาต้องประกาศสงครามยาเสพติด?

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนมหากาพย์สงครามยาเสพติดในอเมริกา ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษ ตั้งต้นจากช่วงปลายทศวรรษ 1960 ที่วัฒนธรรมฮิปปี้เบ่งบาน ประกอบกับผลพวงจากสงครามเวียดนาม ซึ่งทหารจำนวนมากเลือกใช้ยาเสพติดในการผ่อนคลายความเครียด 

หมุดหมายสำคัญคือการประกาศ War on Drugs ในยุคประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เพื่อต่อกรกับกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาในอเมริกาใต้ โดยเฉพาะ ปาโบล เอสโกบาร์ ราชายาเสพติดผู้ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก



Mar 14, 202418:57
8HIS268 กำเนิด Italian Luxury Lifestyle จากอาหาร แฟชั่น ยานยนต์ สู่เฟอร์นิเจอร์

8HIS268 กำเนิด Italian Luxury Lifestyle จากอาหาร แฟชั่น ยานยนต์ สู่เฟอร์นิเจอร์

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์อิตาลีในแง่มุมของ Soft Power ซึ่งประกอบไปด้วย 4 อุตสาหกรรมหลัก คือ แฟชั่น, อาหาร, เฟอร์นิเจอร์ และยานยนต์

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยนักคือ กลุ่มของเฟอร์นิเจอร์ระดับลักชัวรี ซึ่งหลายแบรนด์มีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่ต่ำกว่าร้อยปี 

เริ่มต้นจากงานฝีมือ สู่ยุคเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมอิตาลี หน้าตาของแบรนด์และผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีอะไรบ้าง คุณค่าและความแตกต่างแบบอิตาลีคืออะไร แล้วมันส่งอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมด้าน Home and Living ทั่วโลกในปัจจุบันอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Mar 12, 202415:23
8HIS267 กำเนิด ‘โชกุน’ เบื้องหลังการช่วงชิงญี่ปุ่นของชาวคริสต์สองนิกาย

8HIS267 กำเนิด ‘โชกุน’ เบื้องหลังการช่วงชิงญี่ปุ่นของชาวคริสต์สองนิกาย

พูดถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น หนึ่งในกรอบเวลาที่ควรค่าแก่การศึกษาคือช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17 ซึ่งญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนผ่านจากยุคเซนโกคุไปสู่ยุคโชกุน โดยมีหมุดหมายสำคัญคือการเดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีจากชาติตะวันตกสองชาติคือดัตช์และโปรตุเกส

เหตุการณ์ดังกล่าวถูกนำมาถ่ายทอดเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ‘Shogun’ โดย James Clavell ในปี 1975 และได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์ฟอร์มยักษ์อีกครั้งในปี 2024 

8 Minute History เอพิโสดนี้ จะช่วยปูพื้นฐานประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าวแบบเจาะลึก ตั้งแต่การช่วงชิงอำนาจภายใน การเข้ามาเผยแพร่ศาสนาและวิทยาการของชาวตะวันตก ไปจนถึงการก่อกำเนิด Western Samurai ในราชสำนักญี่ปุ่น



Mar 07, 202423:24
8HIS266 ญี่ปุ่นปฏิรูปวิทยาการสู่ประเทศมหาอำนาจ (Part 2/2)

8HIS266 ญี่ปุ่นปฏิรูปวิทยาการสู่ประเทศมหาอำนาจ (Part 2/2)

8 Minute History เอพิโสดนี้ เล่าถึงช่วงเวลาที่ความสนใจในวิทยาการตะวันตกในจีนได้เลือนหายไปจากการผลัดแผ่นดินแต่ละสมัย ประกอบกับความพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นทำให้จีนเข้าสู่ยุคมืด หยุดนิ่งทางการพัฒนาประเทศ 

กลับกันกับเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นที่เร่งปฏิรูปประเทศอย่างสุดแรง หลังประจักษ์ถึงความก้าวหน้าของวิทยาการตะวันตก จนสามารถกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียได้ในที่สุด



Mar 05, 202411:25
8HIS265 ‘มาเก๊า’ ด่านหน้าของการเปิดรับวิทยาการตะวันตกในจีน (Part 1/2)

8HIS265 ‘มาเก๊า’ ด่านหน้าของการเปิดรับวิทยาการตะวันตกในจีน (Part 1/2)

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์ช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งชาติตะวันตกอย่างดัตช์และโปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลมายังตะวันออกไกล โดยมีปราการด่านแรกคือเกาะมาเก๊า ซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่แผ่นดินจีน

การที่ชาติตะวันตกจะเข้ามาสานสัมพันธ์กับจีนนั้น แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สุดท้ายพวกเขาก็ทำได้สำเร็จ ด้วยการใช้วิทยาการและองค์ความรู้จากฝั่งตะวันตกที่เหนือกว่ามาเป็นข้อแลกเปลี่ยน 

ทว่านั่นก็ไม่ต่างจากดาบสองคม เพราะแม้จีนจะได้ประโยชน์ แต่นั่นก็เป็นการยอมรับกลายๆ ว่า พวกเขาล้าหลังกว่าชาติตะวันตกอยู่หลายก้าว



Feb 29, 202421:28
8HIS264 ใครทำอะไรในโศกนาฏกรรม Munich Massacre (Part 2/2)

8HIS264 ใครทำอะไรในโศกนาฏกรรม Munich Massacre (Part 2/2)

8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังคงตามติดเบื้องหลังโศกนาฏกรรมช็อกโลกในโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก

หลังจากกลุ่ม ‘กันยาทมิฬ’ หรือ Black September บุกเข้าควบคุมตัวประกันชาวอิสราเอลได้สำเร็จ นำไปสู่การประกาศข้อเรียกร้องให้ทางการอิสราเอลปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์ สนามโอลิมปิกจึงแปรเปลี่ยนเป็นสนามการเมืองอันคุกรุ่นและยากที่จะคาดเดา

 

เหตุการณ์ตึงเครียดในวันที่ 5-6 กันยายน 1972 ลุกลามจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ และต้องใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษในการชำระล้างตราบาปที่เกิดขึ้น

Feb 27, 202421:01
8HIS263 เบื้องหลังเหตุก่อการร้ายในโอลิมปิก ปี 1972 (Part 1/2)

8HIS263 เบื้องหลังเหตุก่อการร้ายในโอลิมปิก ปี 1972 (Part 1/2)

ในวาระที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกใกล้เวียนมาอีกครั้ง 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนเบื้องหลังโศกนาฏกรรมช็อกโลกในโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก

ในขณะที่เจ้าภาพอย่างเยอรมนีตะวันตกตั้งใจใช้งานนี้เพื่อลบภาพจำแย่ๆ จากการเป็นเจ้าภาพครั้งก่อนที่จัดขึ้นภายใต้การเรืองอำนาจของนาซี สิ่งที่พวกเขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีกลุ่มก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ลักลอบเข้าไปในหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อจับนักกีฬาชาวอิสราเอลเป็นตัวประกัน ก่อนลงเอยด้วยเหตุการณ์น่าสลดในตอนท้าย  

อะไรคือมูลเหตุจูงใจเบื้องหลังเหตุการณ์นี้ และฝั่งเจ้าภาพมีวิธีรับมือสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้



Feb 22, 202416:52
8HIS262 ‘Technogym’ ผู้บุกเบิกและขับเคลื่อนนวัตกรรมด้าน Wellness Luxury

8HIS262 ‘Technogym’ ผู้บุกเบิกและขับเคลื่อนนวัตกรรมด้าน Wellness Luxury

จากโรงรถในเมืองเชเซนา ประเทศอิตาลี สู่ผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพระดับโลก เริ่มขึ้นจากแนวคิดตั้งต้นอย่าง ‘Wellness is everyone’s business’ ทำให้ Technogym ขับเคลื่อนด้วยการผสาน 3 แนวคิดหลักคือ Innovation, Performance และ Design เข้าไว้ด้วยกัน จนกลายเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพในหลากหลายมิติ


8 Minute History ซีรีส์ Brand Journey เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘Technogym’ แบรนด์ที่เป็นผู้นำด้าน Luxury Wellness สัญชาติอิตาลีแท้ๆ ที่เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านการออกกำลังกายหลายประเภท รวมถึงเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับมหกรรมกีฬานานาชาติอย่างโอลิมปิก ฟุตบอลโลก และฟอร์มูลาวัน (Formula One) มาหลายทศวรรษ

Feb 20, 202415:36
8HIS261 บทเรียนจากคลองปานามา สู่โปรเจกต์ ‘คลองไทย’ ในตำนาน (Part 2/2)

8HIS261 บทเรียนจากคลองปานามา สู่โปรเจกต์ ‘คลองไทย’ ในตำนาน (Part 2/2)

จากตอนที่แล้ว เราเล่าถึงประวัติการขุดคลอง เส้นทางการค้าสำคัญของโลก เช่นคลองคีล ประเทศเยอรมนี, คลองคอรินท์ ประเทศกรีซ และคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์ 


8 Minute History เอพิโสดนี้ เล่าเรื่องอีกหนึ่งคลองสำคัญที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโครงการ ‘คลองกระ’ ของไทยเรามากที่สุดคือ คลองปานามา พร้อมเฉลยสาเหตุที่การขุด ‘คลองกระ’ หรือ ‘คอคอดกระ’ ไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

Feb 08, 202418:36
8HIS260 แผนการขุดคลองกระ โครงการแลนด์บริดจ์โดย ปรีดี พนมยงค์ (Part 1/2)

8HIS260 แผนการขุดคลองกระ โครงการแลนด์บริดจ์โดย ปรีดี พนมยงค์ (Part 1/2)

ในตอนนี้ของ 8 Minute History พามาย้อนแผนการขุด ‘คลองกระ’ หรือ ‘คอคอดกระ’ ในยุคของปรีดี พนมยงค์ เป็นการลดทางที่ซับซ้อนผ่านช่องแคบมะละกาถึง 1,200 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าทางทะเล และส่งเสริมเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาค 

ถึงแม้โครงการนี้จะไม่สำเร็จในยุคนั้น แต่แนวคิดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญสำหรับการวางแผน และพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลของบริเวณนี้ในอนาคต


Feb 06, 202418:18
8HIS259 ที่มาของชื่อ ศิลป์ พีระศรี ชีวิตและผลงานหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Part 3/3)

8HIS259 ที่มาของชื่อ ศิลป์ พีระศรี ชีวิตและผลงานหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Part 3/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายเรื่องราวของ ‘อาจารย์ฝรั่ง’ ศิลป์ พีระศรี ด้วยเบื้องหลังการตั้งชื่อและถือสัญชาติไทย การวางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปจนถึงผลงานประติมากรรมเด่นๆ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท่านและบรรดาลูกศิษย์ร่วมกันสร้างสรรค์

Feb 01, 202415:58
8HIS258 ย้อนชีวิตและผลงาน ‘อาจารย์ฝรั่ง’ จากฟลอเรนซ์สู่สยาม (Part 2/3)

8HIS258 ย้อนชีวิตและผลงาน ‘อาจารย์ฝรั่ง’ จากฟลอเรนซ์สู่สยาม (Part 2/3)

ในตอนที่แล้ว เราได้เกริ่นถึงการเดินทางของศิลปะอิตาเลียนมายังสยามประเทศ ผ่านผลงานของสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาเลียนหลายคน เช่น Mario Tamagno, Annibale Rigotti, Galileo Chini รวมถึง Corrado Feroci ที่ได้รับชื่อไทยว่า ศิลป์ พีระศรี ในเวลาต่อมา


8 Minute History เอพิโสดนี้ จะพามาทำความรู้จักกับ Corrado Feroci ในมุมที่ลึกขึ้น ตั้งแต่การวางรากฐานด้านศิลปะตะวันตกในไทย การใช้เทคนิค Iconographic (ประติมานวิทยา) ในการปั้นประติมากรรม อาทิ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ซึ่งแม้ไม่เคยเห็นพระองค์จริง แต่ผลงานของท่านกลับแม่นยำ จนได้รับคำชมจากรัชกาลที่ 7 ว่า “ดีมาก เหมือนมาก”

Jan 30, 202417:16
8HIS257 เส้นทางศิลปะอิตาเลียนในแดนสยาม (Part 1/3)

8HIS257 เส้นทางศิลปะอิตาเลียนในแดนสยาม (Part 1/3)

สถานีรถไฟหัวลำโพง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ล้วนเป็นประติมากรรมอิตาเลียน หากแต่เราอาจไม่ทันสังเกตว่าศิลปะอิตาเลียนเหล่านี้หาชมได้ยากในแถบเอเชียตะวันออก แล้วเหตุใดมาอยู่กลางกรุงสยามได้


8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนวันวานสู่ยุครัชกาลที่ 5 เปิดประตูต้อนรับศิลปินอิตาเลียนมากมายเข้ามาสู่สยามประเทศ ทั้ง Mario Tamagno, Annibale Rigotti, และ Galileo Chini รวมถึง Corrado Feroci ซึ่งต่อมาได้รับการเชิดชูในนามศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งไม่เพียงแต่มีคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัยอย่างมหาศาล แต่ยังเป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของสองประเทศที่อยู่คนละซีกโลก

Jan 25, 202415:13
8HIS256 ผลงาน ดร.อัมเบดการ์ และการเปลี่ยนศาสนาช่วงบั้นปลายชีวิต (Part 2/2)

8HIS256 ผลงาน ดร.อัมเบดการ์ และการเปลี่ยนศาสนาช่วงบั้นปลายชีวิต (Part 2/2)

จากความเดิมตอนที่แล้ว เราได้เห็นภาพกว้างของการเมืองอินเดีย และระบบการแบ่งวรรณะที่มีอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างความไม่เท่าเทียมและการแบ่งแยกในสังคมอินเดียมาอย่างยาวนาน

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกประวัติและปูมหลังชีวิตของ ดร.อัมเบดการ์ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักกฎหมาย นักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของ ‘ฑลิต’ ชนชั้นต่ำสุดในสังคมอินเดีย รวมถึงการเบนเข็มศรัทธาของตัวท่าน ซึ่งตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาเป็นพุทธศาสนิกชนในช่วงบั้นปลายชีวิต

Jan 23, 202413:04
8HIS255 ดร.อัมเบดการ์ จากผู้อยู่นอกวรรณะ สู่คู่ปรับ มหาตมะ คานธี (Part 1/2)

8HIS255 ดร.อัมเบดการ์ จากผู้อยู่นอกวรรณะ สู่คู่ปรับ มหาตมะ คานธี (Part 1/2)

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ดร.อัมเบดการ์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย’

เบื้องหลังชีวิตของชายคนนี้มีหลายมิติที่น่าสนใจ ตั้งแต่การเกิดมาเป็น ‘จัณฑาล’ ที่อยู่นอกระบบวรรณะของชาวฮินดู, การต่อสู้ขวนขวายจนได้รับวุฒิการศึกษาระดับสูงจากตะวันตก จนถึงจุดยืนด้านศาสนาที่สวนทางโดยสิ้นเชิงกับ มหาตมะ คานธี



Jan 22, 202409:51
8HIS254 ย้อนรอย ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ ฉากสุดท้ายของ อินทิรา คานธี (Part 2/2)

8HIS254 ย้อนรอย ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ ฉากสุดท้ายของ อินทิรา คานธี (Part 2/2)

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์อันดุเดือดของอินเดีย ตั้งแต่การต่อสู้ของชาวซิกข์ เพื่อนำมาซึ่งรัฐเอกราชคาลิสถาน (Khalistan) ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงนำไปสู่ ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ (Operation Blue Star) ที่เปลี่ยนศาสนสถานสำคัญเป็นเวทีโศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 500 ราย รวมถึงการสังหาร อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย ที่โลกไม่อาจลืมเลือน

Jan 16, 202414:41
8HIS253 อินทิรา คานธี ปูมหลังชีวิตและผลงานก่อนถูกสังหาร (Part 1/2)

8HIS253 อินทิรา คานธี ปูมหลังชีวิตและผลงานก่อนถูกสังหาร (Part 1/2)

ภายใต้การปกครองที่เด็ดเดี่ยว อินทิรา คานธี พาอินเดียฝ่าฟันวิกฤตและก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ตลอด 3 ยุคสมัย รวมเวลากว่า 15 ปี ในประเทศที่ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า 

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาทุกท่านมารู้จักกับ อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงเพียงหนึ่งเดียวในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองอินเดีย ทั้งชีวิตวัยเด็ก นโยบายการเมืองที่ทำให้เธอครองใจชาวอินเดียมายาวนาน รวมถึงมูลเหตุที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมที่ทำให้เธอจบชีวิต ภายใต้ ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ (Operation Blue Star)



Jan 11, 202418:01
8HIS252 ยาและวัคซีนมาจากไหน? ประวัติศาสตร์การรับมือโรคร้ายของมนุษยชาติ

8HIS252 ยาและวัคซีนมาจากไหน? ประวัติศาสตร์การรับมือโรคร้ายของมนุษยชาติ

รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่โลกเราจะมีนวัตกรรมยาและวัคซีนที่ทรงประสิทธิภาพอย่างทุกวันนี้ ในอดีตมนุษย์เคยเผชิญโรคระบาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง คร่าชีวิตประชากรโลกเป็นหลักสิบล้านคน โดยไร้หนทางป้องกันหรือรักษา


8 Minute History เอพิโสดนี้ ขอพาย้อนประวัติศาสตร์การเกิดโรคระบาดครั้งสำคัญของโลก พร้อมไล่เลียงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการของนวัตกรรมยาและวัคซีนที่ช่วยให้มนุษย์รับมือกับโรคภัยต่างๆ ได้ดีขึ้นตามลำดับ

Jan 09, 202418:39
8HIS251 กำเนิดรัฐกะเหรี่ยง และรัฐประหารของนายพลเนวิน (Part 3/3)

8HIS251 กำเนิดรัฐกะเหรี่ยง และรัฐประหารของนายพลเนวิน (Part 3/3)

จากความเดิมตอนที่แล้ว ความพยายามรวมชาติพันธุ์ในการประชุมที่ปางหลวงของนายพลอองซานเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี หากแต่หนทางประชาธิปไตยของเมียนมายังไม่ถึงเส้นชัย 

8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยห้วงเวลาสำคัญหลังจาก ‘บิดาแห่งเมียนมาสมัยใหม่’ อย่างนายพลอองซานถูกสังหาร การเกิดขึ้นของรัฐกะเหรี่ยง และการรัฐประหารครั้งใหญ่โดยนายพลเนวิน ผู้พลิกหน้าประวัติศาสตร์การเมืองเมียนมาไปตลอดกาล

Dec 28, 202314:45
8HIS250 ทวงคืนเอกราชเมียนมา ภายใต้การนำของ นายพล ออง ซาน (Part 2/3)

8HIS250 ทวงคืนเอกราชเมียนมา ภายใต้การนำของ นายพล ออง ซาน (Part 2/3)

จากความเดิมตอนที่แล้ว เมียนมาได้เผชิญหน้าการรุกรานจากอังกฤษ และตกไปอยู่ใต้อาณานิคมของ British Raj ในที่สุด ทว่าประวัติศาสตร์ของเมียนมาไม่ได้หยุดนิ่งที่เหตุการณ์นั้น

8 Minute History เอพิโสดนี้ ไปสำรวจยุคที่เมียนมาเจอการแทรกแซงจากมหาอำนาจเอเชียอย่างญี่ปุ่น และการต่อสู้เพื่อเอกราชภายใต้การนำของนายพล ออง ซาน ผู้เป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของเมียนมา รวมไปถึงความพยายามในการรวมชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านการประชุมที่ปางหลวง สะท้อนถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และความปรารถนาอันแรงกล้าในการกำหนดอนาคตของชาติตนเองของประชาชนเมียนมา



Dec 26, 202317:34
8HIS249 ทำไม CHANEL N°5 จึงเป็นน้ำหอมยอดนิยมตลอดกาล

8HIS249 ทำไม CHANEL N°5 จึงเป็นน้ำหอมยอดนิยมตลอดกาล

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปไขรหัส CHANEL N°5 น้ำหอมที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘The world’s most famous fragrance.’ กับแขกรับเชิญพิเศษ ปืน-สธน ตันตราภรณ์ นักวิชาการด้านแฟชั่น ที่มีโอกาสไปเยี่ยมชมแหล่งปลูกดอกลิลลี่ และกระบวนการผลิต CHANEL N°5 ที่เมืองกราสส์ ประเทศฝรั่งเศส อย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน

อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้กลิ่นหอมของ CHANEL N°5 ได้รับความนิยมมากว่าหนึ่งศตวรรษ ประวัติศาสตร์เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของน้ำหอมเลื่องชื่อนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามได้ใน 8 Minute History ‘Brand Journey’ ตอนพิเศษนี้ไปพร้อมๆ กัน



Dec 21, 202317:04
8HIS248 เจาะประวัติศาสตร์เมียนมาผ่านสงครามอังกฤษ-พม่า 3 ครั้ง (Part 1/3)

8HIS248 เจาะประวัติศาสตร์เมียนมาผ่านสงครามอังกฤษ-พม่า 3 ครั้ง (Part 1/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ จะพาคุณไปสำรวจประวัติศาสตร์และการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านของเรา ‘สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา’ ตั้งแต่ยุคของพระเจ้าอโนรธามังช่อ ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ก่อตั้งและปูพื้นฐานอาณาจักรพุกามอันยิ่งใหญ่ ไปจนถึงการรุกรานจากชาวตะวันตก จนเกิดเป็นสงครามอังกฤษ-พม่า (Anglo-Burmese Wars) ถึง 3 ครั้ง กินเวลากว่า 60 ปี 

การเปลี่ยนแปลงอำนาจเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้ง



Dec 19, 202323:48
8HIS MEDLEY#24 ยูโกสลาเวีย จากยุคทองคอมมิวนิสต์ สู่สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

8HIS MEDLEY#24 ยูโกสลาเวีย จากยุคทองคอมมิวนิสต์ สู่สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

6 ประเทศ 4 ภาษา 3 ศาสนา ยูโกสลาเวีย อดีตดินแดนคอมมิวนิสต์อันแสนรุ่งโรจน์ ที่มีจุดจบเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ 

8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ สรุปประวัติศาสตร์ยูโกสลาเวีย และเล่าถึงการรวมชาติภายใต้การนำของจอมพลติโต รวมไปถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บอสเนีย ตั้งแต่ยุคทองของความเป็นหนึ่งเดียว ผ่านความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่นำไปสู่การแบ่งแยก ค้นหาคำตอบว่าทำไมแผ่นดินแห่งนี้ถึงกลายเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าในหน้าประวัติศาสตร์



Dec 10, 202349:51
8MIN MEDLEY#23 รวมประวัติศาสตร์จักรวรรดิโรมันตะวันตก จากยุครุ่งเรืองสู่ล่มสลาย

8MIN MEDLEY#23 รวมประวัติศาสตร์จักรวรรดิโรมันตะวันตก จากยุครุ่งเรืองสู่ล่มสลาย

“ข้าค้นพบโรมในวันที่มันสร้างด้วยอิฐ และจากมาในวันที่มันกลายเป็นเมืองหินอ่อน” คือคำกล่าวของ ซีซาร์ ออกุสตุส (Caesar Augustus) จักรพรรดิพระองค์แรกของอาณาจักรโรมัน เป็นประโยคอมตะที่สะท้อนพลวัตของหนึ่งในจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้เป็นอย่างดี

8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ ขอพาทุกคนย้อนไปสู่วันวานแห่งความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากแรกเริ่มก่อตั้ง สู่วันที่ค่อยๆ ร่วงโรย ล่มสลาย ก่อนถูกแบ่งแยกและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแห่งยุโรปในปัจจุบัน

Dec 02, 202301:03:59
8HIS247 ผู้นำยังรู้พลาด โบนาปาร์ตยังรู้พลั้ง! จุดจบจักรวรรดิที่ 1 ของฝรั่งเศส (Part 3/3)

8HIS247 ผู้นำยังรู้พลาด โบนาปาร์ตยังรู้พลั้ง! จุดจบจักรวรรดิที่ 1 ของฝรั่งเศส (Part 3/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีรีส์สงครามนโปเลียน และฉากจบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้แพ้ภัยต่อความอหังการ์ ก่อนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะอันห่างไกล และจบชีวิตลงอย่างโดดเดี่ยว

ผลที่ตามมาหลังจากนั้นคือการขยายอำนาจของเยอรมนีและจักรวรรดิอังกฤษ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส ภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

Nov 28, 202318:38
8HIS246 กลยุทธ์ของนโปเลียน และการรับมือกับ British Empire (Part 2/3)

8HIS246 กลยุทธ์ของนโปเลียน และการรับมือกับ British Empire (Part 2/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ รับชมรับฟังกันแบบต่อเนื่องกับเรื่องราวของ ‘สงครามนโปเลียน’ ภายใต้การนำทัพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 


เจาะลึกสงครามย่อยๆ ทั้ง 7 ครั้ง ที่เต็มไปด้วยกลการรบและเกมการเมือง ในยุคที่ความยิ่งใหญ่ไม่ใช่เพียงเพราะผู้นำ กระบอกปืนใหญ่ และจอมพล แต่เพราะประชาชนที่ยืนอยู่ข้างหลัง

Nov 23, 202322:49
8HIS245 ปฐมบทสงครามนโปเลียน เส้นทางสู่อำนาจของนโปเลียนที่ 1 (Part 1/3)

8HIS245 ปฐมบทสงครามนโปเลียน เส้นทางสู่อำนาจของนโปเลียนที่ 1 (Part 1/3)

8 Minute History พาไปร้อยเรียงมหากาพย์สงครามที่นำไปสู่ความรุ่งโรจน์ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ความยิ่งใหญ่ที่ Ridley Scott ผู้สร้าง Gladiator นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ชื่อ Napoleon นำแสดงโดย Joaquin Phoenix 

เริ่มต้นเอพิโสดแรกกับที่มาที่ไปของสงคราม เส้นทางสู่อำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต จากนายทหารปืนใหญ่ กลายเป็นกงสุลใหญ่ และเป็นผู้ผลัดแผ่นดินสู่ยุคจักรวรรดิฝรั่งเศส

Nov 21, 202314:42
8HIS244 ‘Franco-Prussian War’ ศึกเปลี่ยนขั้ว ฝรั่งเศสร่วง-เยอรมนีรุ่ง (Part 3/3)

8HIS244 ‘Franco-Prussian War’ ศึกเปลี่ยนขั้ว ฝรั่งเศสร่วง-เยอรมนีรุ่ง (Part 3/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ มาถึงจุดจบของนโปเลียนที่ 3 ผู้สร้างความงามให้ปารีส แต่อยู่ไม่ทันได้เชยชมผลงานตน พ่ายศึกที่สู้ไม่ได้ทั้งจำนวนคนและแสนยานุภาพ

ด้าน ‘ปรัสเซีย’ หรือเยอรมนี นำโดย Otto von Bismarck ผู้ที่รู้ผลการศึกตั้งแต่ก่อนเริ่ม นำขบวนทัพประกาศสถาปนาจักรวรรดิหยามฝรั่งเศสกลางพระราชวังแวร์ซายส์ ความดุเดือดของศึกฟรานโก-ปรัสเซียนจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Nov 16, 202323:08
8HIS243 ยุคกำเนิดความงามของปารีส ก่อนเป็นศัตรูกับความเท่าเทียม (Part 2/3)

8HIS243 ยุคกำเนิดความงามของปารีส ก่อนเป็นศัตรูกับความเท่าเทียม (Part 2/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังคงอยู่กับเรื่องราวของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส ครั้งนี้มาย้อนดูความรุ่งโรจน์ที่ส่งผลถึงความรุ่งเรืองในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการพัฒนาอุตสาหกรรม อภิมหาโปรเจกต์ Haussmann และการออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่เหล่าทหาร 


แต่สุดท้ายบุคคลที่ประชาชนโหวตให้อย่างถล่มทลาย กลายเป็นถูกกดดันจนต้องยอมสละอำนาจบางส่วน ก่อนหน้านั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเหตุใดจึงลงเอยเช่นนี้ ติดตามต่อกันได้เลย!


Nov 14, 202313:38
8HIS242 จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สืบทอดอำนาจ จากเลือกตั้งสู่รัฐประหาร (Part 1/3)

8HIS242 จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สืบทอดอำนาจ จากเลือกตั้งสู่รัฐประหาร (Part 1/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ เริ่มต้นซีรีส์ความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส-เยอรมนีช่วงหลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม และการเกิดขึ้นของกษัตริย์พลเมือง ด้วยประวัติของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หรือ ‘หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต’


จากอดีตผู้ลี้ภัยการเมืองในวัยเยาว์ กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากการเลือกตั้งโดยประชาชนฝรั่งเศส สู่การรัฐประหารตนเอง และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ติดตามได้ในซีรีส์จักรพรรดินโปเลียนที่ 3


Nov 09, 202323:32
8HIS241 ไส้กรอกมาจากไหน ทำไมต้องเยอรมัน?

8HIS241 ไส้กรอกมาจากไหน ทำไมต้องเยอรมัน?

รายการ 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ ‘ไส้กรอกเยอรมัน’ จากวิธีการถนอมอาหารที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ สู่อาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก พร้อมไขข้อสงสัยว่า เหตุใดเยอรมนีจึงเป็นชนชาติที่เชี่ยวชาญในการทำไส้กรอก รวมถึงการแปรรูปเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แฮม เบคอน โบโลนา แล้วในประเทศไทยเอง เริ่มรู้จักรสชาติต้นตำรับแบบเยอรมันตั้งแต่เมื่อไร บริษัทไหนที่เป็นผู้บุกเบิกการผลิตอาหารประเภทนี้เป็นรายแรกๆ

Nov 07, 202311:52
8HIS240 ประวัติศาสตร์ ‘Whistleblower’ เจอเบาะแสต้องไม่เงียบ!

8HIS240 ประวัติศาสตร์ ‘Whistleblower’ เจอเบาะแสต้องไม่เงียบ!

8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจประวัติศาสตร์ของผู้แจ้งเบาะแส หรือ ‘Whistleblower’ ปราการด่านแรกที่มีส่วนสำคัญในการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลภายในองค์กร ตั้งแต่การทุจริตฉ้อโกงในระดับเล็กๆ ไปจนถึงการเปิดโปงข้อมูลลับในคดีคอร์รัปชันระดับโลก


ความสำคัญของ Whistleblower คืออะไร ต้นตอของคำนี้มีที่มาจากไหน และในโลกยุคปัจจุบันมีนโยบายหรือมาตรการแบบไหนที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการ Speak Up ที่ยั่งยืนได้ ติดตามได้ใน 8 Minute History เอพิโสดนี้

Oct 31, 202323:54
8HIS239 ออตโตมันล่มสลาย กำเนิดรัฐใหม่ ตุรกีแห่งเติร์ก (Part 3/3)

8HIS239 ออตโตมันล่มสลาย กำเนิดรัฐใหม่ ตุรกีแห่งเติร์ก (Part 3/3)

8 Minute History ยังอยู่กันที่ออตโตมัน จากจักรวรรดิที่รุ่งเรือง ล้าหลัง เข้าไปมีความสัมพันธ์กับสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเลี่ยงไม่ได้ จนสู่ยุคผู้พ่ายที่ไร้ธงตนเองบนแผ่นดิน ถูกตัดแบ่งพื้นที่เป็นชิ้นๆ อังกฤษและฝรั่งเศสล่อลวงเมืองขึ้นของออตโตมันให้ร่วมต่อต้านด้วยของขวัญชิ้นโตอย่างคำว่า ‘เอกราช’ จนเกิดสนธิสัญญา ‘Treaty of Serves’ 


แม้ออตโตมันล่มสลาย แต่ชาวเติร์กมิยอมจำนน จนในที่สุดช่วงชิงพื้นที่หนึ่งจนเป็นสาธารณรัฐตุรกี จากความขัดแย้งเหล่านี้นำสู่ความขัดแย้งในปัจจุบัน เกี่ยวเนื่องโยงใยกันอย่างแยกไม่ได้ จะเป็นอย่างไรเริ่มฟังได้ในเอพิโสดนี้

Oct 26, 202314:14
8HIS238 ออตโตมัน ผู้ชนะสงครามไครเมีย เบี้ยหมากมหาอำนาจฝรั่งขาว (Part 2/3)

8HIS238 ออตโตมัน ผู้ชนะสงครามไครเมีย เบี้ยหมากมหาอำนาจฝรั่งขาว (Part 2/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ ต่อกันที่จักรวรรดิออตโตมันที่เริ่มล้าหลังไม่ทันตะวันตก จนกลายเป็นเบี้ยล่างในกระดานหมากรุกโลก และนำไปสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ศูนย์ หรือสงครามไครเมีย สงครามที่เริ่มจากปัญหาความไม่ลงรอยกับจักรวรรดิรัสเซีย โดยออตโตมันมีพันธมิตรคืออังกฤษและฝรั่งเศส

แต่ภายหลังแม้จะชนะสงครามไครเมีย กลับมีปัญหาด้านการเงินที่ต้องกู้ยืมจากพันธมิตรจนเป็นหนี้ก้อนโต เมื่อพันธมิตรมีอิทธิพลและอำนาจเหนือกว่า ออตโตมันหันไปสร้างสัมพันธ์เพิ่มกับเยอรมนีเพื่อถ่วงดุลอำนาจ ส่วนตนเองมีการรัฐประหารยึดอำนาจภายใต้ชื่อ ‘Young Turk’ 

แล้วการล่มสลายของออตโตมันจะเป็นอย่างไรต่อ ติดตามได้ที่เอพิโสดหน้า



Oct 24, 202316:09
8HIS237 ออตโตมัน อดีตมหาอำนาจ ล้าหลังจนเกือบสิ้นแผ่นดิน (Part1/3)

8HIS237 ออตโตมัน อดีตมหาอำนาจ ล้าหลังจนเกือบสิ้นแผ่นดิน (Part1/3)

8 Minute History ซีรีส์ ‘จุดสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน’ ประวัติศาสตร์มหาอำนาจที่อยู่มายาวนานถึง 6 ศตวรรษ และกินพื้นที่ 3 ทวีป แต่ไม่สามารถก้าวทันความก้าวหน้าของชาติยุโรปได้  จึงเริ่มมีการรยกเลิกระบบแกนหลักของสังคมออตโตมันเพื่อหวังจะพัฒนาให้ทันชาวโลก


แต่ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาถึงเร็วเกินกว่าที่ออตโตมันจะสร้างกองทัพสมัยใหม่ให้เข้มแข็งรับมือภัยคุกคามได้ อีกทั้งยังต้องรับมือกับปัญหาในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กลายมาเป็นชนวนเหตุในสงครามโลกครั้งที่ 0 ในเวลาต่อมา ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ออตโตมันที่เคยยิ่งใหญ่กลับร่วงโรย ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Oct 19, 202315:15
8HIS235 สงครามกระแสไฟฟ้า เก้าอี้ไฟฟ้าตัวแรกของโลก เดิมพันด้วยชีวิต (Part2/2)

8HIS235 สงครามกระแสไฟฟ้า เก้าอี้ไฟฟ้าตัวแรกของโลก เดิมพันด้วยชีวิต (Part2/2)

8 Minute History คุยต่อเนื่องถึงประวัติศาสตร์เทคโนโลยี การกำเนิดพลังงานไฟฟ้า ที่กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักในโลกปัจจุบัน การผลิตกระแสไฟฟ้านำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างสองบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่พยายามต่อสู้กันระหว่างการสนับสนุนการใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสตรง’ และ ‘ไฟฟ้ากระแสสลับ’

สงครามที่นำกระแสไฟมาทดสอบกับชีวิตคนจะนำไปสู่ผลลัพธ์อะไรบ้าง และทำไมสงครามไฟฟ้าในครั้งนั้น จึงเป็นการแข่งขันที่สกปรกที่สุดในสังคมอเมริกา ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Oct 18, 202323:59
8HIS236 Shrewsbury School มรดกการเรียนรู้ 470 ปีจากราชวงศ์ทิวดอร์

8HIS236 Shrewsbury School มรดกการเรียนรู้ 470 ปีจากราชวงศ์ทิวดอร์

8 Minute History เอพิโสดนี้เรียงหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์โลกควบคู่ไปกับพัฒนาการของ ‘Shrewsbury School’ มรดกทางการศึกษาที่มีจุดเริ่มต้นจากราชวงศ์ทิวดอร์แห่งอังกฤษเมื่อเกือบ 500 ปีก่อน สู่สถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศไทยในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตบุคลากรคนสำคัญของโลกอย่าง ‘ชาร์ลส์ ดาร์วิน’ เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ รวมถึงห้องสมุดที่รวบรวมเรื่องราวสำคัญของประวัติศาสตร์โลกเอาไว้ในสถาบันการศึกษาแห่งนี้ด้วย

มรดกทางการเรียนรู้จากรั้วสหราชอาณาจักร สู่การพัฒนาการศึกษาในประเทศไทย จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้


Oct 17, 202313:58
8HIS234 สงครามกระแสไฟฟ้า ไฟขัดแย้งสองนวัตกร Edison-Tesla (Part 1/2)

8HIS234 สงครามกระแสไฟฟ้า ไฟขัดแย้งสองนวัตกร Edison-Tesla (Part 1/2)

8 Minute History เอพิโสดนี้ ชวนย้อนอดีตไปในช่วงที่ทำให้ทุกวันนี้เรามีไฟฟ้าเป็นแหล่งความสว่างภายในบ้าน โดยนักประดิษฐ์-นวัตกร ‘Thomas Edison’ ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟและจำหน่ายไฟฟ้าให้มีไว้ใช้ในครัวเรือนได้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลถึงโลกปัจจุบัน


แต่ผลงานของ Edison ในยุคนั้นยังเป็นเพียงการใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสตรง’ ทำให้ลูกน้องเก่าอย่าง ‘Nikola Tesla’ กลายเป็นคู่ปรับและเข้ามามีบทบาทในการคิดหาทางออก จนนำไปสู่การใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสสลับ’ ในเวลาต่อมา วิวัฒนาการทั้งสองนี้นำไปสู่จุดเริ่มต้นของสงครามแห่งกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Oct 10, 202316:51
8HIS233 สงครามครั้งสุดท้าย สู่ข้อตกลงแคมป์เดวิดแอคคอร์ด (Part 3/3)

8HIS233 สงครามครั้งสุดท้าย สู่ข้อตกลงแคมป์เดวิดแอคคอร์ด (Part 3/3)

8 Minute History ปิดท้ายซีรีส์ด้วยสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างสันนิบาตอาหรับกับอิสราเอล ซึ่งมีชนวนมาจากการบุกโจมตีอิสราเอลเพื่อทวงคืน ‘คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน’ แต่เหตุการณ์บานปลาย จนกระทั่งสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาต้องเข้ามามีบทบาทในการยุติ และนำไปสู่ ‘สัญญาสันติภาพอียิปต์-อิสราเอล’


ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนั้นจะยุติลง แต่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังคงคุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งถึงปัจจุบัน รายละเอียดของความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Oct 05, 202315:32
8HIS232 สงคราม 6 วัน อิสราเอลบุกสันนิบาตอาหรับ (Part2/3)

8HIS232 สงคราม 6 วัน อิสราเอลบุกสันนิบาตอาหรับ (Part2/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงพื้นที่แห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และกลุ่มสันนิบาตอาหรับ ความขัดแย้งครั้งที่ 2 อันเกิดจากการรุกล้ำคำประกาศ ‘ห้ามเปิดช่องแคบติราน’ ของฝ่ายอิสราเอล อันนำไปสู่ความไม่พอใจ ชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่การก่อสงครามกองทัพอากาศเหนืออียิปต์


การจบลงด้วยชัยชนะอิสราเอลเหนืออียิปต์ในเวลาเพียง 6 วัน จะสร้างแรงแค้นให้ฝ่ายสันนิบาตอาหรับอย่างไร และจะส่งผลกระทบใดบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Oct 03, 202320:44
8HIS231 ชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ (Part 1/3)

8HIS231 ชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ (Part 1/3)

8 Minute History เอพิโสดนี้ เรียบเรียงเบื้องหลังประวัติศาสตร์ ปมความขัดแย้งระหว่างชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ ที่มีชนวนเหตุมาจาก ‘ปฐมบท Zionist’ แนวคิดการเกิดรัฐของชาวยิวบนดินแดนพันธสัญญา หรือแนวคิดที่เชื่อว่าชาวยิวต้องมีรัฐเป็นของตนเอง ซึ่งนำไปสู่ความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์เดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนานชนวน


ชนวนเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งและสงครามต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน จะมีพื้นฐานมาจากแนวคิดและความเชื่อทางศาสนาอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Sep 28, 202320:21
8HIS230 อาณาจักรโกโชซอน กำเนิดเกาหลียุคโบราณ

8HIS230 อาณาจักรโกโชซอน กำเนิดเกาหลียุคโบราณ

8 Minute History เอพิโสดนี้เอาใจแฟนๆ ซีรีส์เกาหลีย้อนยุค ด้วยการพาไปดูจุดกำเนิดอารยธรรมบนคาบสมุทรเกาหลี เปิดหลักฐานการก่อตั้ง ‘อาณาจักรโกโชซอน’ และการสู้รบของชนเผ่าต่างๆ ก่อนจะพัฒนามาเป็น ‘ราชวงศ์โชซอน’ ของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน


ซีรีส์เกาหลีแอ็กชันฟอร์มยักษ์เรื่อง Arthdal Chronicles ซีซัน 1 และซีซัน 2 สตรีมได้บน Disney+ Hotstar

Sep 26, 202310:53
8HIS229 ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก (Part 2/2)

8HIS229 ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก (Part 2/2)

8 Minute History คุยต่อเนื่องถึงการก่อตัวทางความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งพัฒนามาจากการเริ่มตั้งคำถามต่อความเชื่อเดิม การพิสูจน์แนวคิดเรื่องระบบสุริยจักรวาล รวมถึงแนวคิดเรื่องกฎธรรมชาติที่นำไปสู่การขยายผลในเชิงสังคมและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศเอกราชของอเมริกา รวมถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

ระบบคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของโลกในปัจจุบัน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้


Sep 19, 202315:08
8HIS228 การตั้งคำถามต่อความเชื่อเดิม สู่ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Part 1/2)

8HIS228 การตั้งคำถามต่อความเชื่อเดิม สู่ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Part 1/2)

8 Minute History พาย้อนไปดูจุดเริ่มต้นแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ผ่านการตั้งคำถามของ Galileo Galilei ต่อแนวคิดแบบ ‘Heliocentric’ หรือความเชื่อเรื่อง ‘ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก’ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์กล้าตั้งคำถามต่อแนวคิดของศาสนจักรที่ถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน

การก่อตัวทางความคิดแบบวิทยาศาสตร์จะสั่นคลอนแนวคิด ความเชื่อ และผู้มีอำนาจเดิมอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

Sep 14, 202314:54