Skip to main content
Fatoutkey

Fatoutkey

By Fatoutkey

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ
Available on
Apple Podcasts Logo
Google Podcasts Logo
Overcast Logo
Pocket Casts Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

ทำไมหัวใจไม่เป็นมะเร็ง ตอนที่1

FatoutkeyAug 24, 2019

00:00
18:14
คำถาม 20 ข้อ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ไลฟ์#73: )

คำถาม 20 ข้อ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ไลฟ์#73: )

ไลฟ์#73: 20 คำถามเกี่ยวกับ Atherosclerosis

วันอาทิตย์ 14 เม.ย.2567

เวลา 20.00 น.


เมื่อสองสามวันที่แล้วใน Twitter ก็มีการวิวาทะระหว่างกลุ่มที่เชื่อว่าโดยวิวัฒนาการแล้ว อาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันเป็นหลัก (Carnivore diet) เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ และ คอเลสเตอรอลไม่ได้ทำให้เกิด Atherosclerosis ไม่เช่นนั้น สิงโต หรือสัตว์ที่เป็น carnivore ก็ต้องเกิด atherosclerosis ไปแล้ว กับกลุ่มที่เชื่อว่า อาหารที่มีพืชเป็นหลักคืออาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ (Plant based diet)


ในไลฟ์#73 นี้ เราจะมาทำความเข้าใจ Atherosclerosis ผ่านคำถามที่ถูกถามบ่อย 20 ข้อ โดยผู้ที่จะมาตอบคำถามคือ Prof.William C. Roberts แพทย์โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศสหรัฐอเมริกาในด้านพยาธิวิทยาของหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังเป็นอดีต editor in chief ของวารสาร American Journal of Cardiology มา 40 ปี ท่านเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ.2566 สิริอายุได้ 91 ปี


คำถามที่น่าสนใจอย่างเช่น

1. สุนัข สิงโต เสือ และแมว ซึ่งกินสัตว์อื่น ซึ่งเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล หลอดเลือดพัฒนา atherosclerosis ได้หรือไม่

2. มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช (Herbivores) หรือสัตว์กินสัตว์อื่น (Carnivores) กันแน่ แล้วทำไมหลอดเลือดมนุษย์จึงอ่อนไหวต่อการเกิด atherosclerosis

3. พันธุกรรม เป็นต้นกำเนิดของ Atherosclerosis จริงหรือไม่

4. Atherosclerosis เป็นเรื่องของคนชรา เป็นโรคของความเสื่อมของหลอดเลือดจริงหรือไม่


น้องๆที่ไม่ได้ไปเที่ยวสงกรานต์ และสนใจอยากจะรู้คำตอบตอบคำถามทั้ง 20 ข้อที่เกี่ยวข้องกับ atherosclerosis ในไลฟ์#73 นี้ค่ะ

#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า

#FatOutHealthspans


งานวืจัยอ้างอิง

1. Twenty questions on atherosclerosis

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1312295/pdf/bumc0013-0139.pdf


2. Human species-specific loss of CMP-N-acetylneuraminic acid hydroxylase enhances atherosclerosis viaintrinsic and extrinsic mechanisms

https://www.pnas.org/doi/pdf/10.1073/pnas.1902902116?download=true


3. The Cause of Atherosclerosis

https://moscow.sci-hub.ru/2641/e0e2d7c2febefd271daa2239135ce95d/roberts2008.pdf?download=true

Apr 15, 202401:15:02
สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C (ไลฟ์#72)

สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C (ไลฟ์#72)

ไลฟ์#72 : สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C หลังจากความล้มเหลวของงานวิจัยยา CSL112 ของบริษัท biotech CSL Behring ซึ่งเป็น Human Apolipoprotein A1 (apolipoprotein สำคัญบน HDL Particle) CSL112 ทำหน้าที่ผลักคอเลสเตอรอลออกจาก macrophage ของ plaque หลอดเลือด (Cholesterol Efflux Enhancer) และส่งเสริมเอ็นไซม์ LCAT ซึ่งหน้าที่สำคัญนี้ของ ApolipoproteinA1 บนผนัง HDL เป็นหน้าที่ที่นักวิจัยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นความหวังสำคัญในการสร้างกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง/รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันให้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยสำคัญที่ล้มเหลวนี้ทำให้ความเข้าใจบทบาทของ HDL เหมือนกลับไปตั้งต้นใหม่ เพราะงานวิจัยสารพัดในอดีตที่ทดสอบการเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่อยู่ใน HDL และทดสอบหน้าที่ของ HDL (functionality of HDL) ต่อการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจดูเหมือนจะล้มเหลวไปหมด ไม่ว่าจะเป็น Niacin, Fibrate, Gemfibrozil, Hormone Replacement และ CETP inhibitors พี่ปุ๋มโชคดีที่ได้มีโอกาสฟังเล็กเชอร์เรื่อง The Evolving Narrative of HDL-C: Contemporary Insights on Quality vs Quantity for Targeting Cardio Protection เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 จัดโดย National Lipid Association เป็นเล็คเชอร์ที่ดีมาก (กอไก่ล้านตัว) โดยศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านโรคหลอดเลือดหัวใจและ Lipidology 3 ท่าน หัวข้อเป็นดังนี้ค่ะ 1. Rethink the HDL Hypothesis: Then and Now โดย Professor Vera A. Bittner MD, MNLA University of Alabama 2. More than a Number: Functional Role of HDL for Atheroprotection โดย Professor Robert S. Rosenson MD, FNLA, Mount Sinai New York 3. Restoring confidence in HDL: Does CEC hold a promising as a potential therapeutic target? โดย Professor Christie M. Ballantyne MD, Baylor College of Medicine, Houston Texas (คนนี้เป็น Editor texbook สำคัญ Clinical Lipidology) แม้เนื้อหามันจะยาก แต่มันก็ท้าทายพี่ในการจะนำมาสรุปเป็นไลฟ์ #72 โพสต์นี้ไฮไลท์ประเด็นสำคัญจากเล็คเชอร์ HDL ที่พี่ได้ฟัง ให้อ่านเป็นน้ำจิ้มกันก่อน 1. HDL Nomenclature: HDL =/= HDL-C แต่เกี่ยวข้องกับขนาดของ particle ความหนาแน่น รูปร่าง ประจุ จำนวน ที่สำคัญมากคือ ประเภทของ Apolipoprotein (AI, AII, CIII, E) โปรตีน มากกว่า 300 ชนิด ไขมัน มากกว่า 300 ชนิด micro RNA ที่อยู่บน HDL Particle ส่งผลต่อหน้าที่ของ HDL ที่แตกต่างกันในคนแต่ละคน (wow!!) 2. ดังนั้น ความเชื่อฝังหัวที่มาจาก Classic Epidemiological Study อย่าง Framingham Study ว่า HDL เป็น good cholesterol การมีระดับ HDL-Cholesterol ที่สูง จะลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น เราควรจะลืมมันไปได้แล้ว 3. Low HDL-C predicts poor outcomes, high HDL-C is not protective for ASCVD (Atherosclerotic Cardiovascular Disease) 4. เราควรจะมุ่งความสนใจไปที่หน้าที่ของ proteins และ Lipid ที่อยู่บน HDL ซึ่งส่งผลให้ทำหน้าที่แตกต่างกัน ไม่ใช่สนใจปริมาณคอเลสเตอรอลที่อยู่ใน HDL พี่หวังว่าไลฟ์นี้ จะทำให้น้องๆที่มีความเชื่อว่า ไม่ต้องสนใจระดับ LDL-Cholesterol ที่สูง ตราบใดที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำ และระดับ HDL-Cholesterol สูง เพราะ LDL particle จะมีขนาดใหญ่ ไม่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ และ HDL-C ที่สูงจะช่วยปกป้องหัวใจ จะได้เข้าใจเสียใหม่ว่า HDL-C ที่สูงไม่ได้มีฤทธิ์ในการปกป้องหัวใจแต่อย่างใด และ LDL particle size ก็ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าจำนวน LDL particle #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans#ApoBgirl

Mar 13, 202401:43:11
หลักฐานหักล้าง Carbohydrate-Insulin Model of Obesity จากการดีเบตระหว่าง Dr.Stephan Guyenet vs Gary Taubes (ไลฟ์#71)

หลักฐานหักล้าง Carbohydrate-Insulin Model of Obesity จากการดีเบตระหว่าง Dr.Stephan Guyenet vs Gary Taubes (ไลฟ์#71)

Joe Rogan Experience #1267: Debate ระหว่าง Gary Taubes vs Stephan Guyenet เมื่อวันที่ 19 มี.ค.พ.ศ.2562 หลังจากพี่ปุ๋มเปิดเพจมาได้ 1 ปีกับ 3 เดือน ยังคงเชื่อใน Carbohydrate Insulin Model of Obesity (CIM) สุดจิตสุดใจว่า ฮอร์โมนอินซูลินเป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์บนโลกนี้อ้วน

คาร์โบไฮเดรตเลวร้าย บูชา Gary Taubes, Jason Fung ประดุจพระเจ้า😅…พี่ทราบข่าวว่า Gary Taubes จะดีเบตกับ Dr.Stephan Guyenet, Neuroscientist specialized in Obesity ในรายการ Joe Rogan Experience ตามประสาสาวกผู้ภักดี ก็ตามไปนั่งเฝ้าขอบ YT เตรียมเชียร์ Gary Taubes เต็มที่ และตลอด 2 ชั่วโมง 37 นาที ที่นั่งฟังอยู่ ต่อมเอะใจพี่ทำงานอย่างหนัก เพราะจากที่เป็น #ทีมGary พี่เริ่มปันใจไปให้ #ทีมStephan ด้วยหลักฐานแน่นหนาที่ Dr.Stephan ทำการบ้านมาอย่างดีมาก ประกอบกับความหล่อใสกิ๊กของ Stephan เมื่อ 5 ปีที่แล้วนิดหน่อย..ฮี่ ฮี่ ทำให้พี่เริ่มตาสว่างว่า Carbohydrate และ ฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้ทำให้มนุษย์อ้วนตราบใดที่ energy balance สมองเป็นอวัยวะหลักในการควบคุมน้ำหนัก โดยทำงานสัมพันธ์กับฮอร์โมนจากทางเดินอาหาร จากตับอ่อน จากเนื้อเยื่อไขมัน และจากฮอร์โมนอื่นๆ เพื่อสร้างสมดุล energy metabolism คาร์โบไฮเดรตไม่ได้เลวร้าย การได้พลังงานล้นเกินเรื้อรังต่างหากที่เลวร้าย และเริ่มอ่านงานวิจัยที่ Stephan เตรียมข้อมูลมาเพื่อดีเบตกับ Gary อย่างบ้าคลั่ง ในไลฟ์#71 วันพฤหัสนี้ พี่จะนำหลักฐานงานวิจัยที่สำคัญของ Dr.Stephan Guyenet ที่ใช้ดีเบตหักล้าง Carbohydrate Insulin Model of Obesity ในดีเบตนี้ มาสรุปให้น้องๆฟังกัน (เอามาหมดไม่ได้เพราะ 200+ ฉบับ) เข้ากับสถานการณ์ร้อนระอุระหว่าง Dr.Kevin Hall vs Dr.David Ludwig ที่กำลังวิวาทะกันในทวิตเตอร์ผ่านการตอบโต้งานวิจัยระหว่าง Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model of Obesity (งานนี้ Dr.Kevin Hall ชนะแบบ evidences defeat doubts ถล่มทลายค่ะ) #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatoutHealthspans#DebunkCarbohydrateInsulinModelofObesity

Mar 11, 202401:42:07
Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #24)

Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #24)

ไลฟ์ซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 24: Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study จากไลฟ์# 70: ข้อบกพร่องของงานวิจัย Lean Mass Hyper Responder โดย Dave Feldman พี่ปุ๋มแจ้งน้องๆในตอนท้ายของไลฟ์ว่า จะนำงานวิจัยสำคัญมาก 3 ฉบับมาสรุปต่อ ซึ่งทั้ง 3 ฉบับคือ 1. Progression of Early Subclinical Atherosclerosis (PESA) Study 2. Coronary Artery Risk Development in Young Adults (CARDIA) Study 3. Prevent Coronary Artery Disease (PRECAD) Study เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญมากว่า กระบวนการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจแบบปรากฏอาการนั้น (Symptomatic Cardiovascular Disease) เริ่มต้นก่อกำเนิดตั้งแต่วัยหนุ่มสาว แม้ว่าร่างกายมีระดับ LDL-Cholesterol ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปรกติ ร่วมกับไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆเลยก็ตาม (Cardiovascular Risk Factors) ก็สามารถเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยไม่ปรากฏอาการได้ (Subclinical Atherosclerosis) และเพิ่มความเสี่ยงของอุบัติการเกิดโรคหัวใจ (Cardiovascular Disease) ในระยะหลังของชีวิต เดิมทีพี่ปุ๋มจะทำไลฟ์#71 ตีแผ่ Lipid Energy Model 5 ข้อของ Dave Feldman แต่เปลี่ยนความคิดเอาไว้ทำไลฟ์ครั้งถัดไป เพราะเมื่ออ่านงานวิจัย Progression of Early Subclinical Study (PESA) จบแล้ว พี่พบว่ามันเป็นงานวิจัยที่สำคัญมาก ควรมีการสรุปและช่วยกันเผยแพร่ออกไปให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจในอันตรายของการปล่อยให้ระดับ LDL-Cholesterol สูงตั้งแต่อายุน้อยโดยไม่จัดการ ทั้งๆที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมอื่นใดเลย และเป็นการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องเพิ่มเติมของ LMHR study ว่า แม้ CAC score = 0 ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยจากการมีภาวะหลอดเลือดอุดตันแบบไม่ปรากฏอาการ เมื่อจบซีรีส์การสรุปงานวิจัยครั้งที่ 24: PESA Study (ขอเน้นงานวิจัยฉบับนี้ค่ะ) พี่เชื่อว่าเมื่อพี่ทำไลฟ์ตีแผ่ Lipid Energy Model ทั้ง 5 ข้อของ Dave Feldman แล้ว น้องจะเข้าใจความแตกต่างของการใช้ “เรื่องเล่า” vs “การใช้หลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ“ สนับสนุนการที่เราจะเชื่อข้อมูลสุขภาพใดก็ตามมากขึ้น #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

Jan 28, 202401:35:11
ข้อบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational ล่าสุด Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman (Live 70)

ข้อบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational ล่าสุด Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman (Live 70)

พบกับ ไลฟ์#70: ข้อบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational ล่าสุด Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman

ลัดคิวไลฟ์เรื่องน่าสนใจที่พี่ปุ๋มเตรียมไว้หลายเรื่องเลยค่ะ เพื่อมาทำไลฟ์เรื่องนี้ก่อนเลย เนื่องจากเก็บข้อมูลได้ดีมากพอเป็นเรียบร้อยแล้ว และคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่น้องๆให้ความสนใจกัน ขอเวลาพี่ทำสไลด์ 1 วันค่ะ

เราจะใช้ Evidence Based Medicine เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์จุดบกพร่องของงานวิจัยแบบ Observational study ฉบับนี้ ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “Carbohydrate restriction-induced elevation in LDL-Cholesterol and atherosclerosis: The Keto Trial” (NCT 05733325) กันค่ะ

วัตถุประสงค์ของพี่คือ น้องๆควรได้รับโอกาสที่จะได้ฟังข้อมูลหลายด้าน จากนั้นอำนาจในการตัดสินใจจะเชื่อข้อมูลจากใคร เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของน้องๆค่ะ พี่ทำหน้าที่ๆพี่ควรทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นอันว่าจบภารกิจของพี่

#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

Jan 09, 202402:07:08
 โภชนาการเพื่อลดระดับ Apo B

โภชนาการเพื่อลดระดับ Apo B

ไลฟ์ #69: โภชนาการเพื่อลดระดับ Apo B 👩🏻‍💻 จากไลฟ์#68 lipoproteins ที่ก่อให้เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คือ lipoproteins ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 70 นาโนเมตร และมี Apolipoprotein B อยู่บน particles (Apo B containing lipoprotein particles) ซึ่งได้แก่ Chylomicron remnants, VLDL remnants, IDL, LDL และ Lp(a) มีแฟนเพจท่านหนึ่งถามมาในคอมเมนท์ว่า มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยลด Apo B ลงได้ 📌 ในไลฟ์#69 นี้ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปสำรวจงานวิจัยที่มี Prof. Allan D. Sniderman, Cardiologist, Lipidologist ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเรื่อง Apolipoprotein B เป็นหนึ่งใน author ของงานวิจัยนี้ งานวิจัยให้ข้อสรุปว่าโภชนาการแบบใดบ้างที่มีหลักฐานหนักแน่นในการช่วยลด Apo B จากนั้นเราจะสำรวจต่อว่า นอกจากใช้โภชนาการแล้ว มีวิธีอื่นใดอีกบ้างที่สามารถลด Apo B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งข้อมูล 1. Nutritional management of hyperapo B https://www.cambridge.org/core/journa... 2. Psyllium Fiber With Simvastatin in Lowering Cholesterol https://jamanetwork.com/journals/jama... 3. Effects of apolipoprotein B on lifespan and risks of major diseases including type 2 diabetes: a mendelian randomisation analysis using outcomes in first-degree relatives https://www.thelancet.com/action/show...


#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า

#FatOutHealthspans

Dec 26, 202301:27:39
Lipoprotein particles ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ

Lipoprotein particles ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ

ไลฟ์#68: Lipoprotein particles ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ น้องๆมักจะได้ยิน กูรูสุขภาพ เตือนให้เราระวังอันตรายจาก small dense ldl particle บอกว่าเป็น ldl particle ที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ การเปลี่ยนมากินอาหารแบบคาร์บต่ำไขมันสูง จะทำให้ ldl-particle มีขนาดใหญ่ ไม่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ และให้เราสนใจสัดส่วน TG/HDL ถ้าใกล้เคียง 1 นี่ถือว่าปลอดภัย ไม่ต้องสนใจระดับ total cholesterol และ ldl-cholesterol ที่สูงลิ่ว….จริงหรือ ในไลฟ์#68 เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า lipoprotein particles ชนิดใดบ้าง ที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ เราควรสนใจแต่ small dense ldl particle จริงหรือ นอกจากนั้นมาฟังประธาน European Atherosclerosis Society คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ/lipidologist มา 30 ปี ให้สัมภาษณ์พูดถึงสัดส่วน TG/HDL ว่า เป็น parameter ที่ใช้ในการทำนายความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้จริงตามที่ กูรูสุขภาพ ชวนเชื่อเราจริงหรือ งานวิจัยอ้างอิงในไลฟ์#68: Lipoproteins ชนิดใดบ้างที่อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ 1. Low-density Lipoprotein Particle Number and Risk for Cardiovascular Disease https://moscow.sci-hub.st/817/60bd012... 2. Apolipoprotein B Particles and Cardiovascular Disease: A Narrative Review by Allan D. Sniderman https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... 3. LDL particle subclasses, LDL particle size, and carotid atherosclerosis in the Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis (MESA) https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16765... 4. Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease: pathophysiological, genetic, and therapeutic insights: a consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel https://academic.oup.com/eurheartj/ar... 5. Therapeutic Lipidology Chapter 27: Lipoprotein Subfractions in Clinical Practice by Jeffrey W.Meeusen https://link.springer.com/chapter/10.... 6. Metabolism and atherogenicity of apoB containing lipoproteins EAS https://eas-society.org/content/metab...#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

Dec 26, 202301:49:18
ออกกำลังกายแบบแแอโรบิค vs ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน แบบไหนลดความเสี่ยงโรคได้ดีกว่ากัน

ออกกำลังกายแบบแแอโรบิค vs ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน แบบไหนลดความเสี่ยงโรคได้ดีกว่ากัน

ไลฟ์ #67 การออกกำลังกายแบบแอโรบิค vs การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ควรออกกำลังกายแบบไหนถึงลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคต่างๆได้ดีที่สุด องค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำเรื่องการมีกิจกรรมทางกายกับประชาชน เพื่อนำไปสู่ความมีสุขภาพดีและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆโดยแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่มีความหนักปานกลาง 150-300 นาที หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิคแบบเข้มข้น 75 นาทีต่อสัปดาห์ และเพื่อประโยชน์เพิ่มเติมต่อสุขภาพ ควรออกกำลังกายแบบมีแรงต้านต่อมัดกล้ามเนื้อหลักทั่วร่างกายในระดับหนักปานกลางถึงเข้มข้นสัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไป ไลฟ์#67 นี้ พี่ปุ๋มจะนำบทความที่ดีมากของ Prof.Stuart M. Phillips ศาสตราจารย์ทางด้าน Muscle Kinesiology อยู่ที่ McMaster University ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้โภชนาการและการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านในการเปลี่ยนแปลง body composition รวมถึง Muscle protein turnover เขาบอกว่าถึงยุคที่การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านจะต้องเป็นรูปแบบ การออกกำลังกายหลักสำหรับประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกควรจะยอมรับและนำเอาการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเข้ามาเป็นกิจกรรมที่ประชาชนต้องทำร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ไม่ใช่มีลักษณะเป็น add on สำหรับผู้ที่สนใจ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans แหล่งข้อมูล: The Coming of Age of Resistance Exercise as a Primary Form of Exercise for Health https://journals.lww.com/acsm-healthf... Aerobic or Muscle-Strengthening Physical Activity: Which Is Better for Health? https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti... Resistance Training for Older Adults: Position Statement From the National Strength and Conditioning Association https://journals.lww.com/nsca-jscr/fu... WHO GUIDELINES ON PHYSICAL ACTIVITY AND SEDENTARY BEHAVIOUR https://iris.who.int/bitstream/handle...

Dec 26, 202301:01:05
กรดไขมันอิ่มตัว มีกลไกเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ได้อย่างไร?

กรดไขมันอิ่มตัว มีกลไกเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ได้อย่างไร?

กรดไขมันอิ่มตัวมีกลไกเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ได้อย่างไร European Society of Cardiology ได้ออกคำแนะนำในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจปี พ.ศ. 2564: 2021 ESC Guidelines on cardiovascular disease prevention in clinical practice ในส่วนของโภชนาการ แนะนำให้บริโภคกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 10% ของพลังงานทั้งหมดที่บริโภคต่อวัน ในไลฟ์#66 นี้ พี่ปุ๋มได้งานวิจัยที่ดีมากมาจากคำแนะนำของ Dr. William Cromwell, Lipidologist ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Lipoproteins, ไขมัน มานานกว่า 30 ปี เพื่ออธิบายกลไกของกรดไขมันอิ่มตัวที่ส่งผลต่อการเพิ่มระดับ LDL-Cholesterol ซึ่งทำให้ ESC ออกคำแนะนำในปี พ.ศ. 2564 ดังกล่าว จำไว้ว่า Low Density Lipoproteins (LDL) เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน งานวิจัยอ้างอิง 1. The effect of diet on cardiovascular disease and lipid and lipoprotein level https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK570127/ 2. Mechanisms by which Dietary Fatty Acids Modulate Plasma Lipids https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0022316622103810?via%3Dihub 3. Dietary Fatty Acids and the Regulation of Plasma Low Density Lipoprotein Cholesterol Concentrations https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0022316623017492 4. Increases in Dietary Cholesterol Are Associated With Modest Increases in Both LDL and HDL Cholesterol in Healthy Young Women https://www.ahajournals.org/doi/pdf/10.1161/01.ATV.15.2.169?download=true 5. Does dietary cholesterol matter? https://zero.sci-hub.st/6086/6a5be4767ff78c355bec444f0ae5d8d2/grundy2016.pdf?download=true 6. Total fat intake for the prevention of unhealthy weight gain in adults and children: WHO guideline https://www.who.int/publications/i/item/9789240073654

Oct 13, 202301:37:24
คาร์โบไฮเดรต เป็นต้นเหตุของการเกิด ภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือไม่

คาร์โบไฮเดรต เป็นต้นเหตุของการเกิด ภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือไม่

ช่วงนี้ Dr.mario Kratz PhD. ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Nourished by Science ทำวิดีโอให้ความรุู้ดีๆเกี่ยวกับภาวะดื้อต่ออินซูลินติดกันหลายเรื่อง ล่าสุดวันนี้สดๆร้อนๆ เมื่อ 16 ช.ม.ที่ผ่านมา เขาได้ upload vdo ล่าสุดเรื่อง Do Carbs Cause Insulin Resistance? ซึ่งให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ผ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพหลายฉบับ พี่ปุ๋มจึงคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้น้องๆได้ติดอาวุธความรู้ และไม่กลัว macronutrients ตัวใดตัวหนึ่ง จากการได้รับฟัง “เรื่องเล่า” ทางโซเชี่ยลมีเดียที่พูดซ้ำๆย้ำๆจนน้องๆไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริงกันแน่ เรื่องเล่าที่ได้ยินบ่อย เช่น 1. ฮอร์โมนอินซูลินทำให้อ้วน 2. ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก 3. กินคาร์บเยอะในอาหารแต่ละมื้อ จะกระตุ้นอินซูลิน ยิ่งกระตุ้นบ่อยยิ่งทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน มาฟังการสรุป วิดีโอ Dr.Mario ให้ความกระจ่างในเรื่องคาร์บกับการเป็นต้นเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือไม่กันค่ะ งานวิจัยอ้างอิง: 1. Measuring and estimating insulin resistance in clinical and research settings https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9542105/pdf/OBY-30-1549.pdf 2. Effect of sustained physiologic hyperinsulinaemia and hyperglycaemia on insulin secretion and insulin sensitivity in man https://sci.bban.top/pdf/10.1007/bf00400466.pdf?download=true 3. A severe but reversible reduction in insulin sensitivity is observed in patients with insulinoma https://sci.bban.top/pdf/10.1016/j.ando.2017.08.001.pdf?download=true 4. Production of insulin resistance by hyperinsulinaemia in man https://sci.bban.top/pdf/10.1007/bf00279918.pdf?download=true 5. Efficacy and safety of very-low-calorie ketogenic diet: a double blind randomized crossover study https://www.europeanreview.org/wp/wp-content/uploads/2274-2289-Safety-of-very-low-calorie-ketogenic-diet.pdf 6. Opposite Regulation of Insulin Sensitivity by Dietary Lipid Versus Carbohydrate Excess https://diabetesjournals.org/diabetes/article/66/10/2583/16346/Opposite-Regulation-of-Insulin-Sensitivity-by 7. Effects of high vs low glycemic index of dietary carbohydrate on cardiovascular disease risk factors and insulin sensitivity: the OmniCarb randomized clinical trial https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4370345/pdf/nihms671796.pdf 8. A Mediterranean and a high-carbohydrate diet improve glucose metabolism in healthy young persons https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s001250100009.pdf?pdf=button 9. Comparison of dietary macronutrient patterns of 14 popular named dietary programmes for weight and cardiovascular risk factor reduction in adults: systematic review and network meta-analysis of randomised trials https://www.bmj.com/content/bmj/369/bmj.m696.full.pdf 10. Mechanism by Which Caloric Restriction Improves Insulin Sensitivity in Sedentary Obese Adults https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4686951/pdf/db150675.pdf 11. Effects of weight loss on regional fat distribution and insulin sensitivity in obesity https://diabetesjournals.org/diabetes/article/48/4/839/10608/Effects-of-weight-loss-on-regional-fat

Sep 27, 202301:00:28
ต้นกำเนิดของภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน ตอนจบ

ต้นกำเนิดของภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน ตอนจบ

หลังจากจบตอนที่ 1 ของหัวข้อนี้ น้องๆได้ความเข้าใจเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างดัชนีมวลกายกับเบาหวานประเภทที่ 2 รับทราบว่าการได้รับพลังงานล้นเกิน ในคนที่มีระดับเพดานกักเก็บไขมันใต้ชั้นผิวหนังต่ำ (Personal Fat Threshold) อาจเป็นต้นกำเนิดของเบาหวานประเภทที่ 2


ในตอนจบนี้พี่ปุ๋มจะนำเอางานวิจัยที่สำคัญของ Prof.Roy Taylor ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์และเมตาบอลิสม เป็น Director of Magnetic Resonance Center อยู่ที่ University of Newcastle สหราชอาณาจักร มาสรุปให้น้องๆฟังกัน


เขาเป็นผู้ตั้งสมมุติฐานของ Personal Fat Threshold ว่าเป็นต้นกำเนิด (Aetiology) ของเบาหวานประเภทที่ 2 และสมมุติฐานของ Twin Cycle Hypothesis

พี่ปุ๋มจะนำงานวิจัยที่สำคัญของ Prof.Roy Taylor มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันนะคะ โดยเฉพาะงานวิจัยฉบับล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์สดๆร้อนๆซึ่งเป็นการทดสอบสมมุติฐาน Personal Fat Threshold ของเขาที่สำคัญ


ลิงค์อ้างอิงงานวิจัย 7 ฉบับ


Cause of Insulin Resistance: The Personal Fat Threshold (ตอนจบ)

1. Reversal of type 2 diabetes: normalisation of beta cell function in association with decreased pancreas and liver triacylglycerol


https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3168743/pdf/125_2011_Article_2204.pdf


2. Very Low-Calorie Diet and 6 Months of Weight Stability in Type 2 Diabetes: Pathophysiological Changes in Responders and Nonresponders


https://diabetesjournals.org/care/article/39/5/808/30678/Very-Low-Calorie-Diet-and-6-Months-of-Weight


3. Primary care-led weight management for remission of type 2 diabetes (DiRECT): an open-label, cluster-randomised trial


https://dacemirror.sci-hub.st/journal-article/54f864d9e758e0d7a4c02cc7d439d6c1/lean2017.pdf?download=true


4. Remission of Human Type 2 Diabetes Requires Decrease in Liver and Pancreas Fat Content but Is Dependent upon Capacity for β Cell Recovery


https://www.cell.com/action/showPdf?pii=S1550-4131%2818%2930446-7


5. Aetiology of Type 2 diabetes in people with a ‘normal’ body mass index: testing the personal fat threshold hypothesis


https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10472166/pdf/cs-137-cs20230586.pdf


6. From chronic overnutrition to insulin resistance: The role of fat-storing capacity and inflammation


https://zero.sci-hub.st/1544/b69228f84ca76b1cfc1cd1bb4159b906/lionetti2009.pdf?download=true


7. Pathogenesis of type 2 diabetes: tracing the reverse route from cure to cause


https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s00125-008-1116-7.pdf?pdf=button

Sep 27, 202301:28:11
ต้นกำเนิดของภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน EP1 Cause of Insulin Resistance : The Personal Fat Threshold Hypothesis

ต้นกำเนิดของภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน EP1 Cause of Insulin Resistance : The Personal Fat Threshold Hypothesis

พี่ปุ๋มเพิ่งได้งานวิจัยฉบับล่าสุด ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สดๆร้อนๆเลย ที่ทดสอบ Personal Fat Threshold กับการเป็นต้นกำเนิดของภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในกลุ่มคนที่มีเบาหวานประเภทที่ 2 แต่ค่าดัชนีมวลกายปรกติ น่าสนใจมากๆค่ะ


พี่ปุ๋มจึงอยากจะทำไลฟ์#63 สรุปความเข้าใจเรื่อง Personal Fat Threshold กับความเกี่ยวพันภาวะดื้อต่ออินซูลินให้น้องๆได้ฟังกัน หัวข้อคร่าวๆที่ตั้งใจไว้คือ

1. คำจำกัดความของ Personal Fat Threshold และสมมุติฐานว่ามันคือต้นกำเนิด (Aetiology) ของ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

2. Twin Cycle Hypothesis คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับ pathophysiology ของเบาหวานประเภทที่ 2

3. สถานที่เก็บไขมันภายในร่างกาย มีความสำคัญต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างไร

4. การจำกัดคาร์โบไฮเดรตหรือการจำกัดแคลอรี่กันแน่ที่ช่วยทำให้เบาหวานประเภทที่สองเข้าสู่ระยะสงบ (remission)

Sep 11, 202301:24:46
รีวิวหนังสือ The Art and Science of Low Carbohydrate Living

รีวิวหนังสือ The Art and Science of Low Carbohydrate Living

📢 พบกับไลฟ์#62 : Red Pen Reviews ได้ทำการรีวิวหนังสือเล่มที่ 21 ซึ่งเป็นหนังสือติด Top 3 ที่มีคนขอให้ Red Pen Reviews รีวิวมากที่สุด เมื่อครั้งที่ RPR ทำกิจกรรม Fund Raiser เมื่อปลายปี 2565

หนังสือ The Art and Science of Low Carb Living เขียนโดย Jeff Volek และ Stephen Phinney ซึ่งถือได้ว่าเป็น Godfathers ของโภชนาการแบบ ketogenic diet เลย

พี่ปุ๋มจะสรุปสิ่งที่ Red Pen Reviews ทำการรีวิวหนังสือเล่มนี้ให้น้องๆได้ฟังกันนะคะ ที่สำคัญ การรีวิวหนังสือเล่มนี้ทำโดย Dr.Stephan Guyenet ผู้ก่อตั้ง Red Pen Reviews และ Peer review โดย Dr.Mario Kratz ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Nourished By Science ซึ่งพี่ปุ๋มแนะนำให้พวกเราไปติดตามช่อง YT ชื่อเดียวกันนี้ของเขา เพราะข้อมูลแน่น ไม่ได้ใช้เรื่องเล่า น้องๆจะได้ความรู้สุขภาพที่ถูกต้องจาก YT Channel นี้ค่ะ

Sep 04, 202301:28:47
ปัจจัยสำคัญ 8 ประการ ต่อความมีสุขภาพดีเมื่อเริ่มสูงวัย

ปัจจัยสำคัญ 8 ประการ ต่อความมีสุขภาพดีเมื่อเริ่มสูงวัย

ประชากรโลกอายุยืนยาวขึ้นเพราะความก้าวหน้าทางสาธารณสุข ยา และเทคโนโลยีการแพทย์ก็จริง แต่กลับพบว่ามีระบาดวิทยาของกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น 


ไลฟ์#61 นี้มารีวิวงานวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร JACC ในเดือน ก.ย. 2566 ถึงปัจจัยที่สำคัญยิ่ง 8 ประการ ซึ่งเชื่อมโยงกับ 9 Hallmarks of Aging ที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเรื้อรังอื่น

Aug 29, 202301:17:18
จัดอันดับ 10 ไดเอ็ด ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ที่คุณต้องนำไปใช้ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP23)

จัดอันดับ 10 ไดเอ็ด ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ที่คุณต้องนำไปใช้ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP23)

ซีรีส์สรุปงานวิจัย ครั้งที่ 23 “การจัดลำดับ Dietary patterns 10 ชนิดที่ได้รับความนิยม ตามคะแนนความสอดคล้องกับ American Heart Association 2021 Dietary Guidance” 📃 ในปี 2021 American Heart Association (AHA) ได้ออก Scientific Statement หลักการสำคัญทางด้านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ นำไปสู่ Dietary, Pattern ที่ได้รับความนิยม 10 ชนิดที่มีการนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่ดีของหัวใจ 👩🏻‍💻 ในไลฟ์ซีเรียสสรุปงานวิจัยครั้งที่ 23 นี้พี่ปุ๋มจะนำ AHA SCIENTIFIC STATEMENT Popular Dietary Patterns: Alignment With American Heart Association 2021 Dietary Guidance: A Scientific Statement From the American Heart Association ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Circulation เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566 มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่า 🥙 ในบรรดา Dietary pattern ที่ได้รับความนิยม 10 ชนิด เมื่อนำมาจัดลำดับด้วยการให้คะแนนความสอดคล้องกับหลักการของ American Heart Association 2021 Dietary Guidance แล้วนั้น Dietary pattern ใดได้คะแนนสูงสุด และ ต่ำสุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี

May 17, 202301:30:10
ทำไมรักษาน้ำหนักที่ลดไปแล้วไว้ได้ยาก

ทำไมรักษาน้ำหนักที่ลดไปแล้วไว้ได้ยาก

😬 ทุกครั้งที่เราพยายามลดน้ำหนัก ร่างกายตอบโต้ทั้งฝั่ง Energy Intake และฝั่ง Energy Expenditure เพื่อดึงเรากลับไปที่น้ำหนักตั้งค่าใหม่ ซึ่งก็คือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักตั้งค่าเดิม

📃 งานวิจัยที่ดีมากของ Pollidori et al. ที่พี่ปุ๋มเคยเขียนสรุปโพสต์ไปเมื่อ 2 ปีก่อน เราพบว่า ทุกครั้งที่ลดน้ำหนัก ร่างกายจะตอบโต้ฝั่ง Energy Intake ด้วยการเพิ่มความอยากอาหาร (Appetite) 95 แคลอรี่ ต่อ น้ำหนักตัว 1 กก.ที่ลดไป ต่อวัน และตอบโต้ฝั่ง Energy Expenditure ด้วยการลด Resting Metabolic Rate 25 แคลอรี่ ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ที่ลดไป ต่อวัน เราเรียกกระบวนการทางสรีรวิทยาที่เป็น negative feedback นี้ว่า Metabolic Adaptation ซึ่งมีผลให้ทุกความพยายามลดน้ำหนักของเรา จึงยากในการที่จะรักษาน้ำหนักที่ลดไปไว้ได้นาน

📃 งานวิจัยชื่อ Long-Term Persistence of Hormonal Adaptations to Weight Loss ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 27 ต.ค. พ.ศ. 2554 โดย Prof. Priya Sumithran และคณะ ถือว่าเป็น “The greatest study of all time” ในการทำความเข้าใจ Metabolic Adaptation และได้รับการอ้างอิงไปมากกว่า 1,500 ครั้ง

👩🏻‍💻 ดังนั้น พี่ปุ๋มจึงคิดว่าควรจะนำมาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่า ร่างกายตอบโต้การลดน้ำหนักผ่านการปรับตัวของฮอร์โมนอะไรบ้าง ที่ทำให้ Biology always wins และพี่จะนำตัวอย่างคนที่สามารถรักษาน้ำหนักที่ลดไปไว้ได้เท่าเดิมนานเกินกว่า 5 ปี เขามีวิธีที่จะลดกระบวนการตอบโต้นี้ได้อย่างไรบ้าง มันน่าสนใจที่จะศึกษาคนกลุ่มนี้ค่ะ

May 05, 202301:40:50
Demystifying Medicine Fat  Biology and Staying Thin โดย Dr Kevin Hall (Live#60)

Demystifying Medicine Fat Biology and Staying Thin โดย Dr Kevin Hall (Live#60)

👩‍💼 ช่วงนี้พี่รับมือจัดการกับอาการบาดเจ็บที่ไหล่ หน้าอก สะบักหลัง จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก่อนสงกรานต์ กินยา ทำกายภาพรัวๆ อาการดีขึ้นช้าๆๆ ยังยกแขนขึ้นทางด้านข้างไม่ได้ แต่ขึ้นด้านหน้าพอได้ แล้วมันมีอาการร้อนที่ผิวตลอดเวลา ประคบเย็น ทาน้ำมัน นวดทุกวัน น้องมิลค์นักกายภาพซึ่งเก่งมากบอกว่า จิ้มไปตรงไหนก็เจออาการบาดเจ็บทั้งเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่พร้อมใจกันหดเกร็งตัวรุนแรงเพื่อป้องกันกระดูกไหปลาร้า ไหล่ของพี่ไม่ให้หัก ซึ่งมิลค์ประเมินว่าพี่ต้องใช้เวลาราว 2 เดือนกว่าเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดและเส้นเอ็นจะเยียวยาตัวเอง พี่รับรู้อารมณ์ตัวเองได้ว่า นอยด์ หงุดหงิด งอแง คนรอบตัวหมด ใช้เสียงเพลงเป็นเครื่องมือปลอบประโลมใจ ช่วงนี้ฟังเพลงเยอะมาก เลยไม่ได้โพสต์อะไรที่หน้าเพจมา 5 วัน ทั้งๆที่มีข้อมูลสุขภาพดีๆที่เก็บไว้เต็มไปหมด 😭 👩🏻‍💻 สำหรับไลฟ์ #60 นี้ พี่ตั้งใจว่าต้องทำสรุปวิดีโอเรื่องนี้ให้น้องๆฟัง ตั้งแต่ทราบว่า Dr.Kevin Hall กำลังจะไปเล็คเชอร์สดให้กับ vdo series Demystifying Medicine ของ NIH เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ความยาว 2 ช.ม. ซึ่งรอบเดือนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากคือ ขจัดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชีววิทยาของไขมันและวิธีรักษาระดับไขมันร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ “ผอม” เราจะได้เข้าใจถูกต้องกันเสียทีถึงกระบวนการสะสมและเผาผลาญไขมันในร่างกาย บางทีพี่ก็เห็น “เรื่องเล่า” การขจัดไขมันที่ไร้หลักฐานงานวิจัยสนับสนุนบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะการโยนความผิดให้ฮอร์โมนอินซูลิน จริงหรือที่คนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินลดน้ำหนักได้ยาก

Apr 28, 202301:57:28
Cholesterol-Years

Cholesterol-Years

👨‍⚕️ จากวิดีโอเล็คเชอร์ชื่อ LDL-C Cumulative Exposure Hypothesis of ASCVD โดย Prof.Brian A Ference ซึ่งเป็นเล็คเชอร์เดียวของเขาที่พี่หาเจอใน Youtube และเป็นเล็คเชอร์ดีสุดๆ ที่บอกให้รู้ว่าไม่เพียงแค่ระดับ ldl-c ที่เราปล่อยให้สูงเกินระดับทางสรีรวิทยา (40 มก/ดล) มากเท่าไหร่เท่านั้น (Magnitude) แต่รวมถึงระยะเวลาที่เราปล่อยให้ระดับสูงเกินกว่าระดับสรีรวิทยาด้วย (Temporal) ที่เร่งความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างมหาศาล

👨‍⚕️ Prof. Brian A Ference เป็นนักวิจัยชื่อแรกของงานวิจัยสำคัญมาก ซึ่งถือเป็น Landmark study ชื่อ Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease. 1. Evidence from genetic, epidemiologic, and clinical studies.

A consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel ซึ่งพี่ปุ๋มได้ทำไลฟ์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 20 ซึ่งสรุปงานวิจัยฉบับนี้ให้น้องๆได้ฟังกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรุปว่า Low density lipoproteins (LDL) เป็น “สาเหตุ” ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน )Atherosclerotic Cardiovascular Disease)

🚩 Apo B containing Lipoprotein particles ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 70 นาโนเมตร (ตั้งแต่ Chylomicron remnants, VLDL remnants ลงมา) สามารถแทรกเข้าออกใต้ชั้น intima ของหลอดเลือดได้หมด ในโลกโซเชียลมีเดีย health influencers กำมะลอ (รวมถึงแพทย์บางคนด้วย 😭) โม้ว่า ldl-particle มี 2 แบบคือ แบบ A ขนาดใหญ่ (25 นาโนเมตร) และ แบบ B ขนาดเล็ก (15 นาโนเมตร) ถ้าใช้ไดเอ็ทบางประเภทแล้วทำให้ระดับ ldl-c พุ่งกระฉูด ไม่ต้องกังวล เพราะไดเอ็ทประเภทนี้จะทำให้ ldl particle เป็นแบบ A มีขนาดใหญ่ (25 นาโนเมตรนี่ใหญ่กว่า 70 นาโนเมตรเหรอ?) ตราบใดที่ hdl-c สูง ไตรกลีเซอไรด์ต่ำ แล้วบอกให้ดู ratio TG/Hdl ถ้าไม่เกิน 2 ไม่ต้องสนใจ ldl-c ที่สูงกระฉูดนี่พี่เศร้าใจมาก

👩🏻‍💻 ในไลฟ์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 21 นี้ พี่จะสรุปงานวิจัย 2 ฉบับที่ Dr.Thomas Dayspring อ้างถึง รวมทั้งจะอธิบายความเข้าใจผิดของ health influencer บางคนที่ให้ข้อมูลผู้ติดตามผิดๆว่า กินยาลดระดับไขมันกลุ่ม Statin แล้ว เสียชีวิตช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินยาแค่ 3 วัน สร้างความตลกขบขันในกลุ่มผู้ติดตาม ทั้งๆที่ ignorance ไม่รู้ว่าหายนะจาก compound effect ของเวลากำลังจะมาเยือน (หลังจากเจอความ ignorance ของ health influencer กำมะลอในโซเชียลมีเดียนี่ พี่ปุ๋มปากจัดขึ้นเยอะ 😁)

Apr 08, 202301:15:14
Landmark study สรุปว่า LDL เป็นสาเหตุของ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

Landmark study สรุปว่า LDL เป็นสาเหตุของ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

👩‍💼ภารกิจที่พี่ปุ๋มตั้งใจทำ แม้ว่ามันจะใช้พลังงานกาย ใจ เงิน ในการทำไลฟ์แต่ละครั้งก็ตามคือ นำข้อมูลสุขภาพจากงานวิจัยที่มีคุณภาพมาย่อยให้น้องๆได้ฟัง/ชมกัน มีข้อมูลสุขภาพหลายเรื่องที่แพร่กระจายอย่างผิดๆอยู่บนโซเชียลมีเดีย เรื่องที่พี่ปุ๋มให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง นอกเหนือไปจากความเข้าใจผิดว่า “ฮอร์โมนอินซูลินทำให้เราอ้วน ดังนั้นการตัดคาร์โบไฮเดรตออกไปจากมื้ออาหาร จึงเป็นวิธีที่จะช่วยลดน้ำหนักได้ดีที่สุด” ก็คือความเชื่อผิดๆที่ว่าระดับ ldl-cholesterol ที่สูง ไม่เป็นสาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ตราบใดที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำ และระดับ HDL-Cholesterol สูง


พี่เชื่อว่าการที่น้องๆได้รับข้อมูลด้านเดียวจากเหล่า health influencers เหล่านี้ ที่นำเอางานวิจัยที่ไม่ได้มาตรฐานที่เผยแพร่กันต่อๆกันในเฉพาะกลุ่มมานำเสนอ ทำให้น้องๆเข้าไม่ถึงข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่เผยแพร่ได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์อยู่ในชุมชนการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น


👩🏻‍💻 ในไลฟ์ ซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 20 พี่จะสรุปข้อมูลงานวิจัย 1 ใน 2 ฉบับซึ่งถือเป็น landmark study เป็นคำประกาศที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus Statement) จาก European Atherosclerosis Society Consensus Panel ชื่อ “Low-density lipoproteins cause atherosclerotic cardiovascular disease. 1. Evidence from genetic, epidemiologic, and clinical studies. A consensus statement from the European Atherosclerosis Society Consensus Panel”

ตีพิมพ์ในวารสาร European Heart Journal เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561


📃 งานวิจัยฉบับนี้ใช้ประโยคที่หนักแน่นมากว่า Low-density lipoproteins CAUSE atherosclerotic cardiovascular disease (ldl “เป็นสาเหตุ”ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน) ฟันธงหนักแน่นด้วยหลักฐานงานวิจัยทั้งด้านพันธุกรรม ด้านระบาดวิทยา และ randomized controlled tirials ครบถ้วน

นอกเหนือจากที่งานวิจัยฉบับนี้เขียนไว้ชัดเจนว่า Lipoproteins-particle ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 70 นาโนเมตร (VLDL, VLDL-remnants, IDL, LDL, Lp(a)) สามารถแทรกเข้า-ออกใต้ชั้นหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้วนั้น ยังมีข้อมูลสำคัญอื่นๆที่พี่สมควรจะนำงานวิจัยฉบับนี้มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน เพื่อความกระจ่างว่า ทำไมการปล่อยให้ ldl-cholesterol (ที่จริงต้องพูดว่า ldl particle) สูงเกินระดับมาตรฐาน มากเท่าไหร่ และนานเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจมากเท่านั้น

Mar 21, 202301:49:45
Cholesterol Paradox

Cholesterol Paradox

📃 มีงานวิจัยทำในประเทศเดนมาร์กชื่อ “Association between low density lipoprotein and all cause and cause specific mortality in Denmark: prospective cohort study” ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ British Medical Journal เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 ซึ่งเป็น prospective cohort study ศึกษาประชากรเดนมาร์กอายุ 20-100 ปี ที่ recruit ในช่วงปีพ.ศ. 2546-2558 จำนวน 108,243 คน ติดตามไป 9.4 ปี ดูความเกี่ยวพันระหว่างระดับ ldl-cholesterol กับ ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (all causes mortality) แล้วพบว่ามีลักษณะเป็น u-shape คือ ในประชากรที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงและต่ำ มีความเกี่ยวพันกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ

📌 งานวิจัยฉบับนี้ เป็นที่ฮือฮาในบรรดา health influencers ที่ปฏิเสธอันตรายของคอเลสเตอรอลเป็นอย่างยิ่ง (cholesterol deniers) ต่างนำข้อมูลมาเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ตีความงานวิจัยอย่างไม่ถูกต้อง สร้างความสับสนให้กับประชาชน จนถึงขนาดที่นักวิจัยผู้ทำการศึกษาฉบับนี้ ต้องออกจดหมายแสดงความกังวลถึงการเผยแพร่ข้อมูลอย่างผิดพลาดในโซเชียลมีเดีย และชี้แจงข้อสรุปที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากคณะผู้ทำงานวิจัยฉบับนี้

👩🏻‍💻 ในไลฟ์ # 59 พี่จะนำข้อมูลจากงานวิจัยมาอธิบายข้อเท็จจริงเรื่อง Cholesterol Paradox นี้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ การมีระดับ ldl-cholesterol ต่ำ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำเกินไป จริงหรือ?

Mar 06, 202301:24:30
3 ปัจจัยสำคัญในมื้ออาหาร ที่มีโอกาสทำให้เราอ้วนมากที่สุด

3 ปัจจัยสำคัญในมื้ออาหาร ที่มีโอกาสทำให้เราอ้วนมากที่สุด

👨‍⚕️ ในงานวิจัยสาขา Obesity พี่ว่าน้อยคนมากที่จะไม่รู้จัก Dr.Kevin D. Hall Ph.D. เขาดำรงตำแหน่ง Section Chief: Physiology Section, Laboratory of Biomedical Modeling ที่ National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Disesses (NIDDK) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ National Institutes of Health (NIH)

🧪 งานวิจัยจากห้องแล็ปของเขามุ่งสำรวจว่า ระบบเมตาบอลิสมและสมองปรับตัวเพื่อตอบสนองการแทรกแซงด้วยโภชนาการและการมีกิจกรรมทางกายอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจระบบควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพื่อหาวิธีจัดการกับโรคอ้วนที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงทั่วโลก

👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มเก็บงานวิจัยของ Dr.Kevin Hall เกือบทุกฉบับ และนำมาทำไลฟ์ให้ น้องๆชมกันเป็นระยะ เขาเป็นหนึ่งในนักวิจัยที่ทำให้พี่ตาสว่างว่า Carbohydrate และ อินซูลิน ไม่ได้ทำให้มนุษย์อ้วน เหมือนอย่างที่พี่เคยเข้าใจจากการหลงเชื่อ “เรื่องเล่า” Carbohydrate Insulin Obesity Model ของ Health Influencers ชื่อดังหลายคน 😁

📃 ในเดือน ม.ค. 2566 Dr.Hall และคณะได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่น่าสนใจเพื่อสำรวจว่าอะไรคือ 3 ปัจจัยสำคัญของมื้ออาหารที่มีโอกาสทำให้เราอ้วนได้มากที่สุด นอกจากงานวิจัยฉบับนี้แล้ว พี่ปุ๋มจะสรุปเลคเชอร์ล่าสุดของ Dr.Kevin Hall ชื่อ “The Calculus of Calories: Quantifying Human Body Weight Regulation” ที่พี่ได้ฟัง version ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 เป็นเลคเชอร์ที่เจ๋งมากๆค่ะ ขนาดพี่ได้ฟัง version แรกมาแล้ว มาฟัง version ปี 2566 ก็ยัง ว้าว ค่ะ

Feb 26, 202301:25:41
สรุปเลคเชอร์ Cholesterol Masterclass โดย Prof Thomas Dayspring ตอนจบ

สรุปเลคเชอร์ Cholesterol Masterclass โดย Prof Thomas Dayspring ตอนจบ

Prof.Thomas Dayspring M.D., FACP, FNLA เป็น Clinical lipidologist คนสำคัญที่มีความรู้และความเข้าใจคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตกับผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เขาทั้งทำงานวิจัยและเขียน textbook เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลมานานกว่า 30 ปี ที่พี่ปุ๋มประทับใจมากคือ เขาอายุ 77 ปีแล้วแต่ยังกระฉับกระเฉง เต็มไปด้วยพลังงาน เลคเชอร์ฟังเข้าใจง่าย สนุก ตื่นเต้น เห็นภาพ  

เขาเพิ่งเลคเชอร์เรียกได้ว่าเป็น Cholesterol Masterclass 4 ตอน เนื้อหาดีมาก ครอบคลุมความเข้าใจเรื่องการสร้างคอเลสเตอรอล ระบบการขนส่งไขมันภายในร่างกาย คอเลสเตอรอลกับการเป็นสาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยาลดระดับคอเลสเตอรอล การป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ความมีอายุยืนยาวจากการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก  พี่ปุ๋มจึงจะนำ Cholesterol Masterclass ทั้ง 4 ตอนของเขาซึ่งเลคเชอร์ผ่าน Foolproof Mastery Channel มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน 2 ตอนจบ   

ในตอนที่ 1 พี่สรุปไปเรียบร้อยในไลฟ์ #57 น้องๆกลับไปดูย้อนหลังกันได้ค่ะ หัวข้อคือ 

1. คอเลสเตอรอลกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 

2. การขนส่งไขมันในร่างกาย และ HDL-Cholesterol  ในตอนจบ พี่จะสรุปต่ออีก 2 เรื่องคือ 

3. ยาลดระดับคอเลสเตอรอล 

4. การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพื่อความมีอายุขัยที่ยืนยาว  

ฟังพี่สรุปจบแล้ว จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องจากงานวิจัยถึงอันตรายของการปล่อยให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงโดยไม่จัดการ และจะได้ไม่ไปหลงเชื่อ health influencer ในโซเชียลมีเดีย ที่ “เล่า” ว่า ระดับคอเลสเตอรอลที่สูงในกระแสเลือด มีความจำเป็นต่อร่างกาย ถ้าไตรกลีเซอไรด์ต่ำ HDL-Cholesterol แล้วละก็ ถึงแม้ LDL-Cholesterol สูง ก็ไม่เป็นอะไร เพราะ LDL-particle จะมีลักษณะ pluffy ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ เมื่อฟังเลคเชอร์ของ Prof.Thomas จบ พวกเราจะพบว่า…ไม่จริงเลยค่ะ

Feb 14, 202301:51:12
สรุปเลคเชอร์ Cholesterol Masterclass โดย Prof.Thomas Dayspring ตอนที่ 1

สรุปเลคเชอร์ Cholesterol Masterclass โดย Prof.Thomas Dayspring ตอนที่ 1

Prof.Thomas Dayspring M.D., FACP, FNLA เป็น Clinical lipidologist คนสำคัญที่มีความรู้และความเข้าใจคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตกับผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เขาทั้งทำงานวิจัยและเขียน textbook เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลมานานกว่า 30 ปี   

เขาเพิ่งเลคเชอร์เรียกได้ว่าเป็น Cholesterol Masterclass 4 ตอน ในช่องยูทูป Foolproof Mastery เนื้อหาดีมาก ครอบคลุมความเข้าใจเรื่องการสร้างคอเลสเตอรอล ระบบการขนส่งไขมันภายในร่างกาย คอเลสเตอรอลกับการเป็นสาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยาลดระดับคอเลสเตอรอล การป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ความมีอายุยืนยาวจากการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก  

พี่สรุปเนื้อหาตอนที่ 1 

1. คอเลสเตอรอลกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 

2. การขนส่งไขมันในร่างกาย และ HDL-Cholesterol   

เชิญรับฟังได้ค่ะ

Feb 06, 202301:55:50
Red Pen Reviews มีกระบวนการรีวิวหนังสือ Why We Get Sick

Red Pen Reviews มีกระบวนการรีวิวหนังสือ Why We Get Sick

พบกับไลฟ์ #56

Red Pen Reviews มีกระบวนการรีวิวหนังสือ Why We Get Sick: The Hidden Epidemic at the Root of Most Chronic Disease--and How to Fight It เขียนโดย Dr.Benjamin Bikman อย่างไร


วันพุธ 11 ม.ค. 2566

เวลา 20.00 น.


✅ หลังจากที่พี่ปุ๋มได้แนะนำองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ Red Pen Reviews ซึ่งทำหน้าที่ในการรีวิวความน่าเชื่อถือของข้อมูลในหนังสือสุขภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้อ่านมาสักพัก พี่ปุ๋มก็คิดว่าน่าจะเป็นการดีที่น้องๆจะได้มาทำความเข้าใจกระบวนการในการรีวิวหนังสือสุขภาพขององค์กรนี้ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด


📗 พี่เลือกหนังสือชื่อ Why We Get Sick: The Hidden Epidemic at the Root of Most Chronic Disease--and How to Fight It เขียนโดย Dr.Benjamin Bikman ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้อ่าน ได้รับคะแนนรีวิวจากสื่อกระแสหลักสูงมาก แต่ทำไมหนังสือเล่มนี้ ถึงได้

คะแนนรีวิวรวมจาก Red Pen Reviews แค่ 52% คะแนนความถูกต้องของข้อมูลจากงานวิจัยที่หนังสืออ้างอิง 45% 

คะแนนความถูกต้องของการอ้างอิง 43% 

ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 68%


📌 มาทำความเข้าใจผ่านกระบวนการรีวิวขององค์กร Red Pen Reviews กันค่ะว่า ทำไมหนังสือสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง อาจไม่ได้มีข้อมูลสุขภาพที่มีคุณภาพเท่ากับความนิยมที่ได้รับ


ลิงค์งานวิจัย

https://academic.oup.com/jcem/article...


https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...


https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...


https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...


https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...


https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29243...


https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25515...


#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า

#FatOutHealthspans

Jan 13, 202301:38:18
" Protein Leverage Hypothesis " ทำไมการกินโปรตีนไม่พอ จึงทำให้อ้วน?

" Protein Leverage Hypothesis " ทำไมการกินโปรตีนไม่พอ จึงทำให้อ้วน?

👨‍💼 Prof. David Raubenheimer ดำรงตำแหน่ง Professor of Nutritional Ecology, Leonard P Ullmann Chair in Nutritional Ecology School of Life and Environmental Sciences เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเรื่อง Nutritional Ecology ซึ่งศึกษาว่าสภาวะสิ่งแวดล้อมทางด้านโภชนาการที่สัตว์เผชิญ ทำให้ระบบชีววิทยาของสัตว์สร้างการตอบสนองอย่างไรเพื่อธำรงสุขภาพและสมรรถนะทางกาย  

👨‍⚕️ ส่วน Prof. Stephen J. Simpson ดำรงตำแหน่ง Academic Director of the Charles Perkins Centre, and a Professor in the School of Life and Environmental Sciences at the University of Sydney, และ Executive Director of Obesity Australia ในปี 2556 เขาได้รับเลือกให้เป็น Fellow ของ the Royal Society of London ในฐานะที่เป็น “one of the world’s foremost entomologists and nutritional biologists”  

👨‍⚕️👨‍💼 ทั้ง 2 คนเป็นนักกีฏวิทยา (Entomologist) ชั้นนำ ที่ทำงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับแรงผลักดันตามสัญชาติญาณของแมลงและสัตว์อื่นที่ต้องได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มิฉะนั้นสัตว์จะกินต่อจนกว่าจะได้รับโปรตีนตามที่สัตว์ต้องการ ทั้งสองเป็นผู้เสนอทฤษฎี Protein Leverage Hypothesis และได้ขยายงานวิจัยมาทำในมนุษย์   

🍕 ทั้ง Prof. David และ Prof. Stephen เชื่อว่า การเพิ่มการบริโภคอาหารสำเร็จรูปที่มีการผ่านกระบวนการเป็นอย่างมาก (Ultra Processed Foods) ในปัจจุบันซึ่งมีปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์บริโภคเคลอรี่เพิ่ม และได้นำเสนอข้อมูลล่าสุดจากงานวิจัยในงาน Causes of obesity: theories, conjectures and evidence ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 ต.ค.2565 ที่ The Royal Society, London UK เป็นการประชุมที่รวมนักวิจัยระดับท็อปด้านโรคอ้วน มาแลกเปลี่ยน/update ข้อมูลงานวิจัยล่าสุดใน area ของ Obesity research  

 👩🏻‍💻 ไลฟ์ #55 นี้ พี่ปุ๋มจะนำงานวิจัยสำคัญเกี่ยวกับ Protein Leverage Hypothesis ของทั้งสองท่าน มาสรุปให้น้องๆฟังกันค่ะว่ามันคืออะไร มีงานวิจัยสนับสนุนทฤษฎีนี้มากน้อยแค่ไหน และความเข้าใจทฤษฎีนี้จะช่วยลดระบาดวิทยาของโรคอ้วนที่ไม่มีทีท่าจะชะลอความรุนแรงได้หรือไม่  เชิญหาคำตอบจากไลฟ์นี้ได้เลยค่ะ  

#หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans 

ลิงค์งานวิจัย  

https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1467-789X.2005.00178.x 

https://europepmc.org/backend/ptpmcrender.fcgi?accid=PMC9515627&blobtype=pdf 

https://www.researchgate.net/profile/Peter-Petocz/publication/15701207_A_Satiety_Index_of_common_foods/links/00b495189da413c16d000000/A-Satiety-Index-of-common-foods.pdf?origin=publication_detail 

ติดตามเพจ Fatout-Healthspans 

https://www.facebook.com/fatoutkey

Dec 25, 202201:27:43
ระบบตั้งค่าน้ำหนักร่างกาย From Weight Set Point System to A Dual Intervention Point System

ระบบตั้งค่าน้ำหนักร่างกาย From Weight Set Point System to A Dual Intervention Point System

🎥 ในงาน Causes of obesity: theories, conjectures and evidence จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 ต.ค.2565 ที่ The Royal Society, London UK เป็นการประชุมที่รวมนักวิจัยระดับท็อปด้านความอ้วน มาแลกเปลี่ยน/update ข้อมูลงานวิจัยล่าสุดใน area ของ Obesity research   

👩🏻‍💻 พี่โชคดี ลงทะเบียนฟรีเข้าไปฟัง online ร่วมกับผู้คนทั่วโลก 1,300 คน ทั้ง 3 วัน และพี่ก็ตั้งใจไว้แล้วว่า เมื่อเสร็จภารกิจงานประจำของพี่ปลายเดือน พ.ย. พี่จะเริ่มเลือกหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้มาสรุปให้น้องๆได้ฟังกัน ลองดูหัวข้อที่น่าสนใจจากงานนี้ค่ะ 

1. The genetic subtyping of obesity (wow มากๆค่ะ) Professor Ruth Loos Novo Nordisk Foundation Center for Basic Metabolic Research, Faculty of Health and Medical Science, University of Copenhagen, Copenhagen, Denmark and Icahn School of Medicine at Mount Sinai, USA 

2. Insights from the genetics of obesity and thinness (ยีนผอมก็มาค่ะ) Professor I Sadaf Farooqi FMedSci FRS University of Cambridge, UK 

3. Adipocyte and lipid turnover in human adipose tissue (wow อีกหัวข้อค่ะ) Dr Kirsty Spalding Karolinska Institutet, Sweden 

4. Obesity, mitochondrial energy efficiency and insulin secretion (เป็นแฟนคลับ Prof.Barbara ไปแล้วค่ะ)  Emeritus Professor Barbara E Corkey Boston University School of Medicine, USA 

5. Leptin and a simple circuit regulating feeding Professor Jeffrey Friedman ForMemRS Rockefeller University, USA (เป็นคนพบฮอร์โมนเลปติน) 

6. Protein leverage and human obesity (น่าสนใจมาก) Professor Stephen Simpson AC FRS University of Sydney, Australia 

7. Do ultra-processed foods cause obesity? Dr Kevin D Hall National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases, USA 

8. FFM and RMR are strong determinants of energy intake: integration into a theory of appetite Professor John Blundell University of Leeds, UK 

9. Does eating less or exercising more to reduce energy availability produce distinct physiological responses? Professor Lewis Halsey(หล่อใจละลายเลย 😍 lecture ดีมากค่ะ) University of Roehampton, UK 

10. Paleolithic perspectives on human diet and cardiometabolic health Professor Herman Pontzer (ผู้เขียนหนังสือดี Burn พี่เคยทำไลฟ์สรุปไปแล้ว 2 ตอน) Duke University, USA 

11. Direct weight sensing and regulation of body weight: the gravitostat (เป็นเรื่องที่ว้าวได้อีกค่ะ) Professor John-Olov Jansson University of Gothenburg, Sweden 

12. Decoding weight gain defence mechanisms: a critical foundation for future obesity treatment (ดีมากๆๆๆๆๆๆ) Associate Professor Christoffer Clemmensen University of Copenhagen, Denmark 

13. The dual-intervention point model for body fat regulation (ข้อมูลดีมากๆๆๆ) Professor John R Speakman FMedSci FRS Shenzhen Institutes of Advanced Technology, China and University of Aberdeen, UK  

👩🏻‍💻 ไลฟ์#54 นี้ พี่เลือกเรื่องที่ 13 The Dual Intervention Point Model for Body Fat Regulation ซึ่งพูดโดย Prof. John R. Speakman มาสรุปเป็นเรื่องแรก เพราะตามงานวิจัยของ Speakman มาตลอดค่ะ เขากล่าวว่า  “ถ้าปริมาณไขมันร่างกาย (Body fatness) อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างแน่นหนาของระบบตั้งค่าน้ำหนักจริง มันเป็นไปได้อย่างไรที่สุขภาพของคนทั้งโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายจากระบาดวิทยาโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นจาก 4% ในปี พ.ศ.2518 มาเป็น 18% ในปี พ.ศ. 2559”  

Dec 16, 202201:42:08
Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease

Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease

vdo series สรุปงานวิจัยครังที่ 18: Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease ของ Frank B. Hu แพทย์และนักระบาดวิทยา นักโภชนาการระดับโลก งานวิจัยของ Hu ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่น 433,043 ครั้ง h-idex 294, i-10 index 1,352 พี่ว่าในชีวิตพี่ก็ไม่เคยเจอนักวิจัยในสาขา diet and Nutrition ที่ Citation สูงขนาดนี้มาก่อน Prof.Hu ทำงานวิจัยในสาขาโรคอ้วน, เบาหวาน, หัวใจ textbook สำคัญของ Hu คือ Obesity Epidemiology แค่งานวิจัยชื่อ Obesity Epidemiology ของเขา ก็ได้รับการอ้างอิงโดยงานวิจัยฉบับอื่นถึงหมื่นกว่าครั้ง

งานวิจัยชื่อ Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease ของ Hu ร่วมกับ Prof. Walter Willett ฉบับนี้ ตีพิมพ์ในปี 2002 ได้ให้กลยุทธ์โภชนาการเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจไว้ 3 ประการคือ

1. แทนที่ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ด้วยไขมันไม่อิ่มตัว

2. เพิ่มการบริโภคกรดโอเมก้า 3 จากปลา อาหารเสริมโอเมก้า 3 จากปลาหรือจากพืช

3. บริโภคผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืช ปริมาณมาก ลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากธัญพืชที่ป่นจนละเอียด (refined grain)

นอกจากกลยุทธ์โภชนาการ 3 ประการนี้ Prof. Hu แนะนำการออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของเราค่ะ

Dec 03, 202234:19
ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล

ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล

👩🏻‍💻 ห่างหายจากการทำไลฟ์ไปเดือนกว่าเลยค่ะ ตอนนี้จบภารกิจงานสำหรับปีนี้เป็นพี่เรียบร้อย พร้อมกับยังอยู่รอดปลอดโควิด ทั้งๆที่ในรอบ 1.5 เดือนที่ผ่านมา พี่ทำใจไว้ละ เพราะทำงานนอกบ้านเกือบทุกวัน พบเจอผู้คนมากมาย เปิดมาส์กทานข้าว ที่สำคัญแม่บ้านติดโควิดมาเสิรฟข้าวพี่บนห้องทุกวัน พี่ก็ยังอยู่รอดปลอดภัย (ไขว้นิ้ว) 

🎧 กลับมากับไลฟ์ #53 ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล ทำไมเรื่องนี้สำคัญ และพี่อยากทำไลฟ์มาก ก็เพราะพี่เองก็เคยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องคอเลสเตอรอลหลายข้อทีเดียวค่ะ ซึ่งพี่เห็นว่าถึงเวลาที่ต้องอ่านงานวิจัยเพื่อเคลียร์ความเข้าใจผิดเหล่านี้กันเสียที เช่น

1. คอเลสเตอรอลสร้างจากที่ไหนในร่างกายบ้าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่าง สร้างจากตับ (hepataic synthesis) vs สร้างจากทางเดินอาหาร (intestinal synthesis) vs สร้างจากอวัยวะอื่นนอกเหนือจากตับ (extrahepatic synthesis) แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว กับ diagram 1 รูปจากงานวิจัยดีมาก 1 ฉบับพี่ว่าน้องจะกระจ่างในข้อสงสัยหลายเรื่องเลยค่ะ งานวิจัยที่พี่อ่านจบไปแล้ว 2 ฉบับดีมากๆ

2. คอเลสเตอรอลจากอาหาร มีผลกระทบต่อคอเลสเตอรอลในเลือดหรือไม่อย่างไร ทำไมบางคนกินไข่แล้วระดับคอเลสเตอรอลปรกติ ในขณะที่บางคนกินไข่แล้วระดับคอเลสเตอรอลในเลือดขยับขึ้น งานวิจัยที่ไขข้อข้องใจนี้รวมถึงฟังเลคเชอร์ของ Prof.Thomas Dayspring ก็กระจ่างมากเลยค่ะ

3. ทำไมตับจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะการควบคุมสมดุล LDL-Cholesterol ในเลือด ซึ่งเราจะต้องให้ความสนใจมาก เพราะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของ Atherosclerotic Coronary Artery Disease (ASCVD) มีปัจจัยอะไรบ้างที่กระทบการควบคุมสมดุลนี้

4. การลดระดับ LDL-Cholesterol ให้ต่ำที่ระดับ 70 มก/ดล หรือต่ำกว่าด้วยยา ในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อ ASCVD เป็นอันตรายเนื่องจากไปลดการ supply คอเลสเตอรอลให้อวัยวะต่างๆจริงหรือไม่

5. ถ้าเราไม่บริโภคคอเลสเตอรอลเลย เป็นอันตรายต่อการสร้างคอเลสเตอรอลภายในร่างกายหรือไม่ 

📌 แค่ 5 หัวข้อนี้ พี่ว่าจะทำให้น้องๆเข้าใจคอเลสเตอรอลดีขึ้น พี่จะใช้ข้อมูลจาก textbook Teherapeutic Lipidology 2nd Edition เป็นหลัก เสริมด้วยงานวิจัยที่น่าสนใจสักจำนวนหนึ่ง

Nov 29, 202201:56:17
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตอนจบ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP17)

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตอนจบ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP17)

👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มได้ทำ vdo สรุปงานวิจัย เกี่ยวกับบทความเรื่อง Thirty Obesity Myths, Misunderstandings, and/or Oversimplifications: An Obesity Medicine Association (OMA) Clinical Practice Statement (CPS) 2022 ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity Pillars ของ Obesity Medicine Association เมื่อเดือน ส.ค. ทึ่ผ่านมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อให้ Clinical Practice Guideline ต่อแพทย์ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากความอ้วน ทำไปแล้วทั้งหมด 2 ตอน ครอบคลุมความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนไปแล้ว 16 ประการ    

📃 ในตอนจบนี้ มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนที่น่าสนใจแก่การทำความเข้าใจใหม่หลายข้อ เช่น 

ข้อที่ 18: คนอ้วนมีการเผาผลาญต่ำ (low metabolism) เมื่อเทียบกับคนที่ผอมโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นคนที่มีการเผาผลาญสูง  

ข้อที่ 20: ไดเอ็ทแบบไขมันต่ำ (Low fat diet) มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดน้ำหนัก 

ข้อที่ 23: เมื่อลดน้ำหนักด้วยการกินให้ลดลง 500 แคลอรี่ต่อวัน ทุกๆ 7 วัน (3500 แคลอรี่) จะลดมวลไขมันได้ 1 ปอนด์ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังกินน้อยลง 500 แคลอรี่ต่อวัน 

ข้อที่ 24: เพิ่มการออกกำลังกายคือวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดน้ำหนัก 

ข้อที่ 25: ทุกๆ 1 ปอนด์ที่มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแทนไขมัน หมายถึงการเผาผลาญพลังงานที่เพิ่มขึ้น 60 แคลอรี่ต่อวัน ข้อที่ 27: การตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนักตามความเป็นจริง ช่วยให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จมากกว่าการตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักแบบ aggressive  

 ☑️ พี่เชื่อว่าข้อมูลในบทความนี้ ซึ่งมีงานวิจัยอ้างอิงทั้งหมด 528 ฉบับ จะเป็นรากฐานความรู้ที่ถูกต้องให้กับน้องๆทุกคนในการทำความเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัย ไม่ใช่จากเรื่องเล่า หรือจากความดูสมเหตุผลแต่ปราศจากงานวิจัยรองรับ

0 Comments

SORT BY

Oct 14, 202201:44:56
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตอนที่ 2 (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP16)

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตอนที่ 2 (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP16)

👩🏻‍💻 พี่ได้ทำ vdo สรุปงานวิจัยครั้งที่ 15 ไปแล้ว 1 ตอนเกี่ยวกับบทความเรื่อง Thirty Obesity Myths, Misunderstandings, and/or Oversimplifications: An Obesity Medicine Association (OMA) Clinical Practice Statement (CPS) 2022 ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity Pillars ของสมาคมฯ เมื่อเดือน ส.ค. ทึ่ผ่านมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อให้ Clinical Practice Guideline ต่อแพทย์ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากความอ้วน ในตอนที่ 1 สรุปให้น้องๆฟังไปได้ทั้งหมด 7 ข้อ


📃 บทความอธิบายความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ความเข้าใจผิด และ/หรือ การด่วนสรุปง่ายเกินไปเกี่ยวกับความอ้วนทั้งหมด 30 ข้อ แต่ละข้อสอดแทรกงานวิจัยรองรับ เนื้อหาทั้งหมดเกือบ 30 หน้า มีงานวิจัยอ้างอิง 528 ฉบับ จึงต้องแบ่งเป็น 3 ตอนค่ะ 


☑️ พี่เชื่อว่าข้อมูลในบทความนี้ จะเป็นรากฐานความรู้ที่ถูกต้องให้กับน้องๆทุกคนในการทำความเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัย ไม่ใช่จากเรื่องเล่า หรือจากความดูสมเหตุผลแต่ปราศจากงานวิจัยรองรับ


📢 พบกันวันพฤหัสนี้ในตอนที่ 2 กับอีก 10 ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนค่ะ

Oct 14, 202201:51:56
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP15)

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย EP15)

พี่ได้บทความรีวิวเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่เฉพาะสำหรับความอ้วนของสหรัฐอเมริกาล่าสุดเดือน ส.ค. 2565 มา 1 ฉบับ ที่อธิบายความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วนทั้งหมด 30 ข้อ แต่ละข้อสอดแทรกงานวิจัยรองรับ เนื้อหาทั้งหมดเกือบ 30 หน้า จึงต้องแบ่งเป็น 3 ตอนค่ะ   

พี่เชื่อว่าข้อมูลจะเป็นรากฐานความรู้ที่ถูกต้องให้กับน้องๆทุกคนเป็น ในการทำความเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัย ไม่ใช่จากเรื่องเล่า หรือจากความดูสมเหตุผลแต่ปราศจากงานวิจัยรองรับ

Sep 30, 202201:32:04
โหลดแคลอรีช่วงเช้า ช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าโหลดแคลอรีช่วงเย็นหรือไม่ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #14)

โหลดแคลอรีช่วงเช้า ช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าโหลดแคลอรีช่วงเย็นหรือไม่ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #14)

🏅 หลังจาก Jeffrey C. Hall, Michael Robash และ Michael W. Young ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2560 จากการค้นพบกลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมนาฬิกาชีวภาพประจำเซลล์ ศาสตร์ชีววิทยาตามนาฬิกาชีวภาพ (Chronobiology) เริ่มได้รับความสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องการกิน นอน ออกกำลังกาย    

📃 มีสุภาษิตที่กล่าวว่า กินมื้อเช้าอย่างพระราชา มื้อกลางวันอย่างเจ้าชาย และมื้อเย็นอย่างยาจก จะช่วยส่งเสริมสุขภาพ และช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจาก เป็นการกินที่สอดคล้องกับจังหวะนาฬิกาชีวภาพร่างกาย    

⏰ ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2565 พี่ปุ๋มเริ่มต้นสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “When” to eat ด้วยการทำวิดีโอสรุปงานวิจัยที่มีลักษณะเป็น randomized controlled trials ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2565 เป็นการจำกัดแคลอรีร่วมกับการจำกัดช่วงเวลากิน เปรียบเทียบกับ การจำกัดแคลอรีแต่ไม่จำกัดช่วงเวลาในการกิน หรือ จำกัดแคลอรีร่วมกับจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ช่วงเช้า เปรียบเทียบกับ จำกัดแคลอรีร่วมกับจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ช่วงเย็น ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัยเหล่านี้คือ ถ้าว่าด้วยเรื่องการลดน้ำหนัก แคลอรีสำคัญกว่าช่วงเวลาการกิน และยังไม่สามารถระบุกลไกที่ชัดเจนของการจำกัดช่วงเวลาการกินได้ว่าส่งผลต่อการลดน้ำหนักได้อย่างไร   

👩🏻‍💻 สำหรับการสรุปงานวิจัยในครั้งที่ 14 นี้ เราจะมาสำรวจงานวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ในเดือนต.ค.2565 ในวารสารการแพทย์ชั้นนำ เรื่องการโหลดแคลอรีหนักในช่วงเช้า เทียบกับการโหลดแคลอรีหนักช่วงเย็น ว่าส่งผลต่อ Energy Expenditure และน้ำหนัก แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร พร้อมกับมาทบทวนการวิจัยชิ้นสำคัญในอดีตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหาข้อสรุป ณ ปัจจุบันกันค่ะ

Sep 30, 202201:24:27
จำกัดแคลอรี่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิกในขณะ fasted เบิร์นไขมัน ลดน้ำหนักได้ดีกว่าจริงหรือไม่ (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #13)

จำกัดแคลอรี่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิกในขณะ fasted เบิร์นไขมัน ลดน้ำหนักได้ดีกว่าจริงหรือไม่ (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #13)

📃 มีข้อมูลจากงานวิจัยแบบ meta-analysis ที่แสดงว่าการออกกำลังกายร่วมกับการจำกัดแคลอรี่ ช่วยสนับสนุนการลดน้ำหนักระยะยาวได้ดีกว่าการจำกัดแคลอรี่หรือออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว 

⏰ แต่การจำกัดแคลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกในขณะที่หยุดกินอาหารมาตลอดทั้งคืน จะช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนักได้ดีกว่า การจำกัดแคลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายหลังจากกินอาหารหรือไม่

Sep 19, 202201:23:35
New Hallmarks of Ageing: a 2022 Copenhagen ageing meeting summary

New Hallmarks of Ageing: a 2022 Copenhagen ageing meeting summary

👨‍🔬 หลังจาก Lopez-Otin และคณะได้นำเสนอ The Hallmarks of Aging 9 ประการ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ Cell เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2556 จนถึงปัจจุบันได้รับการอ้างอิงไปราว 10281 ครั้งนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สุขภาพที่สนใจในเรื่องกระบวนการแก่ชรา ได้มีกรอบความคิดในการวางสมมุติฐาน และสร้างความก้าวหน้าในงานวิจัยสาขาชีววิทยาแห่งความแก่ชราเป็นอย่างมาก   📌 หมายเหตุ: พี่ปุ๋มได้ทำไลฟ์สรุปงานวิจัย 9 Hallmarks of Aging โดย Lopez-Otin และคณะไปเมื่อเดือน ต.ค. 2564 กลับไปย้อนชมกันได้ค่ะ พี่วางลิงค์ไว้ให้ตรงนี้นะคะ https://fb.watch/fg2LGSf0QP/  

📑 ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีงานวิจัยเชิงลึกที่สำรวจกระบวนแก่ชรามากขึ้น ก็มาถึงจุดที่มีการวิพากย์กันว่า The Hallmarks of Aging 9 ประการที่นำเสนอโดย Lopez-Otin และคณะในปี 2556 อาจจะไม่เพียงพอที่จะวางกรอบถึงสาเหตุของกระบวนการแก่ชราได้ครบถ้วนอีกต่อไป   

🧑‍💻👩🏻‍💻 ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัด “A Research Symposium: New Hallmarks of Ageing” ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2565 ที่ Copenhagen, Denmark เพื่อรวบรวมการค้นพบใหม่ๆจากงานวิจัยในเรื่องกระบวนการแก่ชรา และทบทวนถึงการวางกรอบ Hallmarks of Ageing ใหม่   

📑 บทสรุปของการประชุม ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Aging เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 “The New Hallmarks of Ageing: A 2022 Copenhagen Ageing Meeting Summary”   

👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มจึงคิดว่าน่าสนใจที่พี่จะสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่ามี Hallmarks of Aging อะไรบ้างที่เพิ่มขึ้นจาก 9 Hallmarks of Aging เดิมในปี 2556

Sep 06, 202201:18:31
อาหารที่มีผลต่อระดับ LDL Cholesterol (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #11)

อาหารที่มีผลต่อระดับ LDL Cholesterol (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #11)

👩🏻‍💻 จากวิดีโอซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 เรื่องแนวทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพหลอดเลือดหัวใจของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) ประจำปี 2564 (2021 Dietary Guidance to Improve Cardiovascular Health: A Scientific Statement From the American Heart Association) ที่พี่ปุ๋มได้ทำไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ซึ่งระบุชัดเจนเรื่องลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มีหลักฐานจากงานวิจัยที่แน่นหนามากว่า ระดับ LDL-Cholesterol เป็นสาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Atherosclerosis Coronary Artery Disease-ASCVD) 

 📑 การป้องกันไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน เป็นแนวทางที่สมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญ มีงานวิจัยล่าสุดที่ระบุว่าสามารถพบปื้นไขมัน (Fatty Streak) ได้ในเด็กอายุ 1-10 ขวบ ซึ่งเป็นตัวทำนายอุบัติการณ์เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะทึ่เป็นผู้ใหญ่ 

 🥓 อาหารและการใช้ชีวิต (Diet and Lifestyle) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ในวิดีโอซีรีส์ครั้งที่ 11 พี่ปุ๋มจะสรุปว่ามีอาหารประเภทใดบ้างที่มีผลต่อระดับ LDL-Cholesterol โดยอ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุด ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบ systematic reviews and meta- analyses of randomized controlled trials ในปี 2564

Aug 16, 202201:34:57
กลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #9)

กลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ซีรี่ย์สรุปงานวิจัย #9)

👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มติดตาม Prof. Gerald I Shulman มาได้ประมาณ 2 ปีหลังจากอ่านหนังสือ Life Without Diabetes: The Definitive Guide to Understanding And Reversing Type 2 Diabetes เขียนโดย Prof. Roy Taylor เล่มนี้พี่แนะนำเลยค่ะ สำหรับผู้ที่อยากทำความเข้าใจโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง อ่านไม่ยากค่ะ  🔬 สิ่งที่เป็นความ amazing ของงานวิจัยที่ Prof. Gerald I. Shulman ศึกษานั้น เกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินระดับเซลล์ ที่เขาเพียรศึกษามามากกว่า 20 ปี เขาเป็นผู้พัฒนาเทคนิค Nuclear Magnetic Resonance Spectroscopy เพื่อวัด metabolites ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการชีวะเคมีเมื่อมีการสันดาปกลูโคสภายในกล้ามเนื้อ เป็นที่มาของความเข้าใจเชิงลึกถึงระดับเซลล์ของกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจดั้งเดิมที่เคยตั้งสมมุติฐานกันมา  

🏅เขาได้รับเหรียญรางวัล Banting medal for scientific achievement จาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American diabetic association) เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2561 เหรียญรางวัลนี้มอบให้แด่ผู้ที่มีส่วนเป็นอย่างยิ่งต่อความเข้าใจ การรักษา หรือการป้องกันโรคเบาหวาน  📑 เมื่อพูดถึงภาวะดื้อต่ออินซูลินมีงานวิจัยจำนวนมากที่ตั้งสมมุติฐานสาเหตุของภาวะนี้ว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน (Multifactorial factors) ไม่ว่าจะเกิดจากภาวะอักเสบจากการได้รับพลังงานล้นเกินเป็นเวลานาน การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของไขมัน หรือการเปลี่ยนแปลงของประชากรจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ความเครียด เป็นต้น  

👨‍⚕️ Banting Lecture ของเขาเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2561 พี่ปุ๋มจัดให้เป็นเล็คเชอร์ที่ดีที่สุดที่พี่ได้มีโอกาสดูในปีนี้ (ดูไปแล้ว 3 รอบ 😍) ซึ่งสมมุติฐานที่ Gerald I Shulman ตั้งไว้ และทำงานวิจัย พัฒนาเทคนิคแบบ cutting edge เพื่อพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมระดับเซลล์อย่างชัดเจนถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะดื้อต่ออินซูลินนั้น น่าตื่นเต้นมาก ส่งผลให้การวางแผนการป้องกัน การรักษาโรคเบาหวาน การพัฒนายาและการรักษาอื่นตรงเป้ามากขึ้น

Jul 30, 202201:20:45
คำแนะนำโภชนาการสำหรับการมีสุขภาพหัวใจที่ดี จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (ตอนที่ 1)

คำแนะนำโภชนาการสำหรับการมีสุขภาพหัวใจที่ดี จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (ตอนที่ 1)

พบกับ Series vdo สรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 

เรื่อง “2021 Dietary Guidance to Improve Cardiovascular Health: A Scientific Statement From the American Heart Association”   

🖥 ในท่ามกลางกระแสข้อมูลในอินเตอร์เน็ตจากสารพัดแหล่ง คำแนะนำเรื่องโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของระบบหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพที่สำคัญมากและเป็นเรื่องสร้างความสับสนให้กับผู้คนมากที่สุดเรื่องหนึ่ง  

📖 พี่ปุ๋มพูดเสมอว่า เมื่อเป็นเรื่องสุขภาพ จงเชื่อในข้อมูลจากงานวิจัยที่มีคุณภาพที่ทำในมนุษย์และมีจำนวนมากพอ เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง  

👩🏻‍💻 ซีรีส์วิดีโอสรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 พี่ปุ๋มจะนำเอา แนวทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพหลอดเลือดหัวใจของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) ประจำปี 2564 มาสรุปพร้อมงานวิจัยสนับสนุนให้น้องๆฟัง เพื่อคลายความสับสนเรื่องสำคัญคือ 

1. คำแนะนำเรื่องการบริโภค macronutrients (คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน) 

2. ระหว่างไขมันอิ่มตัว vs ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันประเภทใดที่ดีต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจ 

3. คอเลสเตอรอลจากอาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดหรือไม่ 

4. โปรตีนจากแหล่งใดที่ AHA แนะนำ  


📖 ข้อมูลงานวิจัยนอกจากที่ปรากฎในแหล่งอ้างอิงอยู่ใน Dietary guideline ฉบับนี้ทั้ง 194 ฉบับแล้ว พี่จะใช้ข้อมูลงานวิจัยที่สำคัญจาก Clinical Lipidologist (ไม่ทราบจะใช้ชื่อภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างไรค่ะ) ที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ 2 คน และจาก textbook เล่มสำคัญอีก 1 เล่ม เพื่อให้ข้อมูลงานวิจัยที่ update และน่าเชื่อถือกับน้องๆ

Jul 12, 202201:22:11
สรุปหนังสือสุขภาพ Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating เขียนโดย Prof. Walter C. Willett

สรุปหนังสือสุขภาพ Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating เขียนโดย Prof. Walter C. Willett

สรุปหนังสือสุขภาพดีมาก “Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating” ฉบับ Updated and Expansion เขียนโดย Prof. Walter C. Willett MD., DrPH และ Patrick J. Skerrett

📖 ในแต่ละปีมีหนังสือในกลุ่ม Health, Fitness and Dieting ออกมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ การเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และการลดน้ำหนัก ก็มีแพร่กระจายทั่ว Social media จาก Health Gurus ทั้งหลาย ซึ่งต่างให้ข้อมูลสุขภาพเรื่องเดียวกัน ต่างกันอย่างสิ้นเชิง สร้างความสับสนให้กับผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง

❓คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังสือกลุ่ม Health, Fitness and Dieting เล่มไหนให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สนับสนุนด้วยงานวิจัยที่มีคุณภาพ และนอกจากนั้น ก็ยังสรุปงานวิจัยที่นำมาสนับสนุนข้อมูลในหนังสือได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลในหนังสือเมื่อนำมาปฏิบัติ ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง

📌 จากคุณสมบัติของหนังสือสุขภาพข้างต้น พบได้ในหนังสือเล่มนี้ค่ะ “Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating” ซึ่งเขียนโดย Prof. Walter C. Willett 

👩🏻‍💻 ในไลฟ์ พี่จะให้เหตุผลว่าทำไมหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นหนังสือสุขภาพที่มีคุณภาพของเนื้อหามาก และน้องๆทุกคนจะได้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพแต่ละบท (ทั้งหมด 12 บท) ที่เกี่ยวข้องกับการกินให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมีหลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพสนับสนุนทุกบท นอกจากนั้นยังมีของแถมเป็นเมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 77 เมนู 

😔 ช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. นี้ พี่เหนื่อยและเครียดกับงานมาก ร่างกายมัน Shut down ด้วยการหิวการนอนตลอดเวลา ต้องกลับมาฟื้นฟูร่างกายขนานใหญ่ โชคดีที่คุณภาพการนอนของพี่ยังดีมาก แต่พี่ก็หยุดการเดินทุกวันอย่างน้อย 7,000 ก้าวไปเลย และก็ไม่มีเวลาและสมาธิเขียนโพสต์ในเพจอย่างที่อยากทำ หวังว่าน้องๆจะเข้าใจและรอกันได้นะคะ 

Jun 16, 202201:28:59
กลยุทธ์ในการรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน

กลยุทธ์ในการรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน

กลยุทธ์ในการรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน

(จากงานวิจัยแบบ systematic review ล่าสุด)

“Perspectives into the experience of successful, substantial long-term weight loss maintenance: a systematic review”


👫 การลดน้ำหนักสำหรับบางคนก็ถือเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานกลับยากยิ่งกว่า ค่าเฉลี่ยของคนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่เต็มวัยผ่านการลดน้ำหนักมามากกว่าสามครั้งตลอดชีวิต


📖 งานวิจัยของ Langeveld & de Vries ในปี 2013 แสดงว่าการลดน้ำหนักระยะสั้นสามารถประสบความสำเร็จโดยใช้วิธีการที่หลากหลายรูปแบบ แต่มากกว่า 80% ของผู้ที่ลดน้ำหนักได้สำเร็จ ประสบกับปัญหาน้ำหนักกลับคืนมาหลังจากนั้นหนึ่งปี 85% หลังจากนั้นสองปี และมากกว่า 95% หลังจากนั้นสามปี และที่น่าตกใจคือคนที่น้ำหนักเพิ่มกลับคืนมานั้น ส่วนใหญ่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคยอ้วนก่อนลดน้ำหนักเสียอีก


👫 คนที่สามารถรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานกว่าสองปี มีแนวโน้มที่จะรักษาน้ำหนักนั้นไว้ได้ต่อไปในอีก 5-10 ปี 


👩🏻‍💻 จึงน่าสนใจที่พี่ปุ๋มจะนำงานวิจัยฉบับนี้มาคุยกัน งานวิจัยชื่อ “Perspectives into the experience of successful, substantial long-term weight loss maintenance: a systematic review” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Qualitative Studies on Health and Well-being เมื่อเดือนมกราคม 2564 ซึ่งครอบคลุมกลยุทธ์ทั้งหมด 10 ด้านด้วยกัน ที่จะช่วยให้เรารักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน


📌 น่าสนใจใช่ไหมคะ งานวิจัยความยาว 22 หน้าพี่อ่านจบเรียบร้อย รอตั้งสติทำสไลด์เพราะอาทิตย์หน้ามีงานสอนติดกัน 4 วันรวด พี่ต้องตั้งสติและแบ่งเวลาดีมากๆ 😭

May 26, 202201:14:03
สรุปหนังสือ Burn- New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Lose Weight, and Stay Healthy ตอนจบ

สรุปหนังสือ Burn- New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Lose Weight, and Stay Healthy ตอนจบ

Burn New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Stay Healthy and Lose Weight (ตอนจบ)


1. The real hunger games: Diet, Metabolism, and Human Evolution

2. Run for Life

3. The Past, Present and Uncertain Future of Homo Energeticus

May 17, 202201:56:57
สรุปหนังสือ Burn- New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Lose Weight, and Stay Healthy ตอนที่ 1

สรุปหนังสือ Burn- New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Lose Weight, and Stay Healthy ตอนที่ 1

สรุปหนังสือดีในปี 2564 “Burn: New Research Blows the Lid Off: How We Really BURN Calories, Stay Healthy, and Lose Weight”  

ถ้าจะให้พี่ปุ๋มจัดอันดับ Top 5 หนังสือดีที่เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ความอ้วนในรอบ 4 ปี ที่มีโอกาสได้อ่าน นอกจาก The Hungry Brain ของ Dr.Stephan Guyenet แล้ว Burn เล่มนี้โดย Dr.Herman Pontzer ติด Top 5 อีกเล่มหนึ่งเลยค่ะ โดยเฉพาะด้านความอ้วนในมุมมองของนักบรรพชีวินอย่าง Dr.Herman Pontzer ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการวัด Energy Expenditure ของสัตว์ตระกูลไพรเมท รวมทั้งมนุษย์  พี่ปุ๋มเคยทำ Zoom Lecture สรุปหนังสือเล่มนี้ไป 2 ตอน เมื่อปีที่แล้วให้กับน้องๆกลุ่มหนึ่งที่แสดงความสนใจแน่วแน่ลงทะเบียนเข้ามาฟังกัน แต่ละตอนเกือบ 2 ช.ม.  

หลังจากผ่านไปเกือบ 1 ปี งานวิจัย 2 ฉบับที่ Dr.Herman Pontzer พูดถึงในหนังสือ ว่าจะเปลี่ยนความเข้าใจเรื่อง Energy Expenditure ในมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ได้ตีพิมพ์ในช่วงปลายปี 2564 พี่จึงคิดว่าน่าจะทำไลฟ์สรุปหนังสือดีงามเล่มนี้ให้น้องๆได้ฟังกันทางไลฟ์ พร้อมนำงานวิจัยใหม่ทั้ง 2 ฉบับนี้มาสรุปกันด้วย

May 17, 202201:39:49
สรุปงานวิจัยครั้งที่ 6/2 “Calorie Restriction With or Without Time-Restricted Eating in Weight Loss”

สรุปงานวิจัยครั้งที่ 6/2 “Calorie Restriction With or Without Time-Restricted Eating in Weight Loss”

สรุปงานวิจัยครั้งที่ 6/2 “Calorie Restriction With or Without Time-Restricted Eating in Weight Loss” ตอนจบค่ะ

May 04, 202227:36
สรุปงานวิจัย ครั้งที่ 5- Human Calorie Restriction Trial Identifies Key Factor for Extending Health Span

สรุปงานวิจัย ครั้งที่ 5- Human Calorie Restriction Trial Identifies Key Factor for Extending Health Span

📌 มีการศึกษาเรื่องการจำกัดแคลอรี่ (Caloric Restriction) ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชี่ส์ เช่น ยีสต์ หนอน แมลงวัน ลิง เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจำกัดแคลอรี่สามารถปรับปรุงสุขภาพและยืดอายุขัยได้ในสัตว์ทดลองเหล่านี้ แต่ประสิทธิผลนี้จะยังคงพบในมนุษย์หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน   

📖 เราจะมาดูข้อมูลงานวิจัยสำคัญเรื่องการจำกัดแคลอรี่ในมนุษย์ 2 ฉบับ ซึ่งฉบับที่ 2 เพิ่งตีพิมพ์สดๆร้อนๆเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งพบข้อมูลที่น่าตื่นเต้นว่า มีอวัยวะสำคัญชนิดหนึ่ง และโมเลกุลที่เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อมีการจำกัดแคลอรี่ ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบเมตาบอลิสมและระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ส่งผลต่อ healthy lifespan อย่างสิ้นข้อสงสัย   

📌 อวัยวะและโมเลกุลสำคัญนั้นคืออะไร ต้องจำกัดแคลอรี่ขนาดไหนจึงจะเห็นผล คำตอบอยู่ในคลิปค่ะ

Apr 25, 202258:29
ชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนจบ Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model

ชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนจบ Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model

ชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนที่ 1 Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model

Apr 25, 202201:30:47
ชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนที่ 1 Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model

ชีวเคมี ครั้งที่ 2 ตอนที่ 1 Energy Balance Model vs Carbohydrate Insulin Model

สรุปงานวิจัย “The energy balance model of obesity: beyond calories in, calories out” Kevin D Hall, I Sadaf Farooqi, Jeffery M Friedman, Samuel Klein, Ruth J F Loos, David J Mangelsdorf, Stephen O'Rahilly, Eric Ravussin, Leanne M Redman, Donna H Ryan, John R Speakman, Deirdre K Tobias ตีพิมพ์ใน : The American Journal of Clinical Nutrition วันที่ตีพิมพ์ : 4 กุมภาพันธ์ 2565  

👩🏻‍💻ในไลฟ์ที่ 45,46 พี่ปุ๋มพูดตั้งแต่ต้นว่า เราไม่มีทางจะเข้าใจ Energy Metabolism สัมพันธ์กับ ชีวเคมี cellular metabolism, thermodynamics ได้เลย ถ้าเราไม่เชื่อ Energy Balance Model of Obesity ซึ่งพี่ก็มีงานวิจัยฉบับนี้นอนรออยู่เรียบร้อย แต่มันต้องแยกทำเป็นอีกไลฟ์หนึ่งเลย เพราะมันสำคัญมาก  ตอนที่พี่ได้งานวิจัยนี้ฉบับเต็มมานี่ ต้องก้มกราบกันเลยทีเดียว เพราะล่าสุดมากๆ คือกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง และบรรดาผู้ที่ทำการรีวิว paper ฉบับนี้คือ “เทพ” งานวิจัยในเรื่อง Energy Metabolism of Obesity ทั้งนั้น ลองดูรายชื่อนะคะ  

1. Kevin D Hall เป็นนักวิจัยด้าน Energy Metabolism ที่พี่ปุ๋มพูดถึงบ่อย และนำงานวิจัยดีในเรื่อง Energy Metabolism ของเขาหลายฉบับมาสรุปให้น้องๆฟังกัน โดยเฉพาะการเปรียบเทียบ diet แบบ Low Carb High fat vs High Carb Low fat ในการลดน้ำหนักว่าไม่แตกต่างกัน 

2. Sir Stephen O’Rahilly University of Cambridge ถ้าพูดถึงนักวิจัยที่ทำงานวิจัยเรื่องฝาแฝด Twin studies กับพันธุกรรมความอ้วนแล้ว พี่ว่าท่านนี้ยืน 1 ใน 5 ของผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ระดับโลกเลย พี่ฟังเลคเชอร์ของเขาทุกเรื่องที่หาพบ 

3. Jeffrey M Friedman ศาสตราจารย์นักวิจัยผู้ค้นพบฮอร์โมน leptin อยู่ที่ The Rockefeller University ถ้าได้อ่านหนังสือ The Hungry Brain แล้ว น้องๆจะรู้จัก “เทพ” ท่านนี้ว่าเขาทำงานวิจัยหนักขนาดไหนกว่าจะค้นพบ leptin 

4. I Sadaf Farooqi เป็นศาสตราจารย์นักวิจัยด้านพันธุกรรมกับ Obesity ที่เก่งมากอีกคน เป็นลูกศิษย์เอกของ Sir Stephen O’Rahilly 

5. Eric Ravussin เป็นศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยา และผู้อำนวยการโรคอ้วนและโภชนาการอยู่ที่ Pennington Biomedical Research Center เป็นคนที่ทำงานวิจัยเรื่อง Energy Expenditure, body composition, ศึกษาเรื่อง skeletal muscle and adipose tissue cross talk เป็นคนที่พี่ download งานวิจัยของเขามาเก็บเท่าที่พี่จะหาได้เลย 

6. John R Speakman เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Chinese Academy of Science เป็นคนที่ทำงานวิจัยเรื่อง cause and consequences ปัจจัยที่มีผลต่อ Energy balance เป็นคนที่ทำและเขียน textbook เรื่อง Doubly Labelled Water ในการวัด Energy Expenditure ใน free livings  

📌 และเมื่อเทพทั้ง 6 มาอธิบาย The Energy Balance Model of Obesity พวกเราต้องฟังกันเลยค่ะ  

👩🏻‍💻 เมื่อ 4 ปีที่แล้วที่พี่เริ่มทำเพจ พี่ก็หลงทางความรู้นะคะ เชื่อว่า คาร์บและฮอร์โมนอินซูลินทำให้อ้วน เพราะพี่เสพข้อมูลข้างเดียว ไม่เคยรู้จักเทพงานวิจัยทั้ง 6 คนนี้เลย พี่ชอบรูปข้างล่างนี้ ตอนที่พี่เสพสื่อฝั่งเดียว พี่ก็เห็นว่านับยังไงก็ได้ 3 มันไม่มีทางเป็นเลขอื่นไปได้ แล้วพี่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นเขาถึงนับได้ 4 กัน  

👩🏻‍💻 พี่มี 2 ทางเลือกค่ะ คือ ยืนกรานความเชื่อว่านับได้ 3 หรือ ลองเดินข้ามไปยังอีกด้านแล้วดูซิว่าทำไมคนเหล่านี้เขาถึงนับได้ 4 ขอบคุณนักวิจัยเหล่านี้ ที่ทำให้พี่ได้รับข้อมูลอีกด้านที่ valid และสอดคล้องกับสรีรวิทยา Cellular Biology ชีวเคมี กฎเทอร์โมไดนามิกส์ มากกว่าเลข 3 ที่พี่เคยเชื่อ และพี่ก็ยินดีที่จะรับความรู้ที่ถูกต้องกว่าเข้ามาแทนที่ค่ะ

Apr 10, 202201:45:20
ชีวเคมี 101 ครั้งที่ 1 ตอนจบ

ชีวเคมี 101 ครั้งที่ 1 ตอนจบ

เรามาคุยกันต่อว่า 

1. ใน Energy metabolism นั้น คาร์โบไฮเดรตสำคัญระดับเซลล์อย่างไร อย่างที่ไขมันทำไม่ได้ 

2. อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้เราอ้วน 

#FatOutHealthspans

Apr 10, 202201:27:34
ซีรีส์ชีวเคมี ตอนที่ 1 Fat burn = Fat loss?? คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร? อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้อ้วน??

ซีรีส์ชีวเคมี ตอนที่ 1 Fat burn = Fat loss?? คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร? อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้อ้วน??

มาทำความเข้าใจ 3 เรื่องสำคัญ

1. Fat burn = Actual Fat loss??

2. คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร แบบที่ไขมันทำไม่ได้

3. อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้อ้วน??


👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มบอกน้องๆตั้งแต่ปลายปี 2564 ว่า จะทำซีรีส์ชีวเคมี 101 เพราะความเข้าใจวิชาชีวเคมีจะทำให้เราพิจารณาเลือกรับข้อมูลที่ได้จากสื่อสารพัดรูปแบบในเรื่อง Energy Metabolism อย่างสอดคล้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์


👩🏻‍💻 พี่เองเป็นคนหนึ่งที่เคยเชื่อข้อมูลจากกูรูต่างประเทศที่โด่งดัง ดูน่าเชื่อถือ ออกหนังสือขายดีถล่มทลายในการเขียนเพจช่วง 2 ปีแรก แต่หลังจากที่ได้มีโอกาสศึกษางานวิจัย ได้รู้จักนักวิจัยเรื่อง Energy Metabolism ตัวจริง เสียงจริงจำนวนมากในช่วง 2 ปีหลัง พี่ก็พบข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น และก็อยากที่นำข้อมูลที่ถูกต้องมาเล่าให้น้องๆฟัง ข้อเสียของนักวิจัยระดับเทพพวกนี้คือ เขาไม่ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ตัวเองในโลกโซเชี่ยลมีเดีย ไม่เขียนหนังสือสุขภาพให้คนทั่วไปอ่าน (ช่วงหลังเริ่มมีออกมามากขึ้นแล้วค่ะ) เราเลยเสพข้อมูลข้างเดียวมาตลอด


🎥 การจะทำซีรีส์นี้ พี่ต้องใช้เวลาอ่านเยอะมาก ซึ่งในช่วงงานประจำล้นมือนี่ ทำให้พี่ใช้เวลามากกว่าที่คิดเยอะ อ่านเสร็จต้องเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ให้เป็นระบบ เข้าใจไปทีละขั้น จนเห็นภาพรวมทั้งหมด จากนั้นก็ต้องมานั่งคิดว่าจะเล่าอย่างไรให้ง่ายพอที่น้องๆจะเข้าใจ แล้วก็ลงมือทำสไลด์ 😭


📌 ไม่จำเป็นต้องเชื่อข้อมูลที่พี่นำมาบอกกล่าวทุกอย่าง เมื่อได้ฟังก็ลองเก็บมันเข้าไปพิจารณาไว้อีก 1 ทางเลือก ศึกษาไปเรื่อยๆ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมตรงไหน inbox มาหาพี่ได้เสมอ ถ้าพี่มีข้อมูล พี่ยินดีส่งให้ หรือชี้ช่องทางความรู้ให้ไปศึกษาต่อค่ะ


#FatOutHealthspans

#Biochemistry101

Apr 01, 202201:19:33
สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution ตอนจบ

สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution ตอนจบ

ไลฟ์ #44 สรุปหนังสือดี Intermittent Fasting Revolution (ตอนจบ) 

มาพบกับตอนจบของการสรุปหนังสือดีเล่มนี้กันค่ะ ยังเหลืออีก 2 บทหลักคือ


บทที่ 6: Diet Composition and Brain Health

- หลักการสำคัญ 3 ข้อ สำหรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

- ไดเอ็ทประเภทใดที่มีการศึกษาผ่านงานวิจัยแบบ RCT กว้างขวางที่สุดว่าส่งผลต่อความมีสุขภาพดี

- มีอะไรดีในผัก ผลไม้ ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย วิตามิน เกลือแร่ ?


บทที่ 9: Bon Voyage

- Intermittent Fasting ที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

- 4 วิธีที่ hack Intermittent Fastingได้ มีอะไรบ้าง

- อนาคตสมองของมนุษย์ยุคบริโภคล้นเกิน ไม่มีกิจกรรมทางกาย ไม่มีกิจกรรมท้าทายสมอง จะเป็นอย่างไร

--------------------------------


บทตามเวลา

00:00   พูดคุยทักทายก่อนไลฟ์

08:50  Introduction

17:01  Hormesis คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

20:32  IF คือ Hormetic Metabolic Process

23:10  ความสำคัญของ Metabolic Switching

27:36  บทที่ 3 IF for Disease Prevention and Treatment

29:51  บทที่ 4 IF สนับสนุนสมองกับร่างกายอย่างไร

34:25  IF + Exercise เป็นสิ่งที่แนะนำ

38:38  Neurobic Exercise / Keep Your Brain Alive

41:03  บทที่ 6 Diets Composition and Brain Health

48:25  Mediterranean Diet Pyramid

59:51  บทสุดท้าย

01:02:51  วิธีการทำ IF ในแบบต่างๆที่แนะนำ

01:06:30  Intermittent Fasting Hack

01:08:09  คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการเริ่ม IF

01:12:15  ตัวอย่างเมนูอาหาร 500 - 700 แคลอรี่




สอบถามรายละเอียดสิทธิพิเศษเพิ่มเติม และสั่งซื้อ Bone Broth ได้ที่

LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ

FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey


--------------------------------

ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ


YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU...

FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey

Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou...

Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast...

Website : https://healthspans.co/

                 https://fatoutkey.com/


#FatOutHealthspans

#IntermittentFastingRevolution

#Fasting

Feb 22, 202201:22:11
สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution ตอนที่ 1

สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution ตอนที่ 1

ไลฟ์ #43: สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution: The Science of Optimizing Health and Enhancing Performance เขียนโดย Prof.Mark P. Mattson


⏰ Intermittent Fasting เป็นหัวข้อสุขภาพที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีบทความสุขภาพที่เขียนถึงประโยชน์ของเรื่องนี้นับไม่ถ้วน และถ้าพิมพ์คำค้น Intermittent Fasting, Autophagy, Time Restricted Feeding ลงไปใน pubmed ก็จะพบงานวิจัยมากกว่า 700 ฉบับ


🤵ในบรรดานักวิจัยที่ศึกษาผลลัพธ์ของ Fasting มีผลต่อสมองและสุขภาพโดยรวมทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์มาตลอด 30 ปี ก็ต้องเป็นท่านนี้ Prof.Mark P. Mattson ศาสตราจารย์ทางด้านประสาทวิทยา ที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ และเคยดำรงตำแหน่ง Chief of Neuroscience Research Laboratory at the National Institute on Aging


🤵 Prof. Mattson เป็นหนึ่งในนักประสาทวิทยาที่งานวิจัยของเขาตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่นมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 180,000 ครั้ง


🔬 งานวิจัยที่โดดเด่นมากของ Prof. Mattson คืองานวิจัยที่พัฒนาความเข้าใจเรื่องความชราของสมอง และการระบุความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความชรา ได้แก่ อัลไซเมอร์ พาร์กินสันส์ เป็นต้น


📃 งานวิจัยที่เขามุ่งเน้นและควรค่าแก่การยกย่องก็คือเรื่อง สมองตอบสนองอย่างไร ต่อความเครียดระดับต่ำๆที่เกิดจากการออกกำลังกาย และการหยุดกินอาหารเป็นช่วงเวลา (Fasting) เขาเป็นนักวิจัยที่ NIH ยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Fasting กับผลทางสรีรวิทยาที่มีต่อสมองและร่างกาย


📔 และเมื่อผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Fasting ตัวจริงเสียงจริง เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Fasting เอง ย่อมเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ update สุด


บทตามเวลา

00:00 Introduction

03:18  แนะนำผู้เขียน

05:23  ข้อแนะนำ 3 ข้อถ้าต้องการมีสุขภาพกายใจที่ดี

13:49  เนื้อหาในหนังสือ 9 บท มีอะไรบ้าง

19:03  บทที่ 1 Food Scarcity Sculpted : The Human Brain and Body

29:43 มุมมองทางประวัติศาสตร์ของการหยุดกินอาหารต่อสุขภาพและสมองที่ดี

34:53  บทที่ 2 Intermittent Fasting Slow Aging

39:28. Hormesis : What it is and why it matters

46:06  IF ชลอวัยได้อย่างไร 

58:21  ทำไมเราถึงต้องทำ Short Term, Regular, Frequent Fasting


--------------------------------


สอบถามรายละเอียดสิทธิพิเศษเพิ่มเติม และสั่งซื้อ Bone Broth ได้ที่

LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ

FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey


--------------------------------

ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ


YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU...

FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey

Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou...

Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast...

Website : https://healthspans.co/

                 https://fatoutkey.com/

Feb 22, 202201:05:42
Bone Broth มหัศจรรย์คอลลาเจนธรรมชาติที่ทุกคนต้องรับประทาน / ซีรีย์ Bone Broth & Collagen EP1

Bone Broth มหัศจรรย์คอลลาเจนธรรมชาติที่ทุกคนต้องรับประทาน / ซีรีย์ Bone Broth & Collagen EP1

📢 พบกับ วิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ “อาจารย์” ของพี่ปุ๋ม เรื่อง Bone Broth ของเหลวมหัศจรรย์สีทอง (มีของขวัญพิเศษสุด ช่วงท้ายบทสัมภาษณ์ด้วย รอฟังกันจนจบนะคะ)


👩🏻‍💻 ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการเปิดเพจ Fat Out-Healthspans พี่ปุ๋มมีบุคคลสำคัญท่านนี้ ที่พี่ยกย่องให้เป็น “อาจารย์” ของพี่มาตลอด 10 ปีที่เรากลับมาเจอกัน (จริงๆเรารู้จักกันมา 30 กว่าปีแล้วค่ะ) อาจารย์ท่านนี่ก็คือ พี่หนิง ภ.ญ.นันทวดี พิทยาพิบูลพงศ์ พี่หนิงเป็นผู้เขียนหนังสือลดน้ำหนักอย่างมีความสุขที่พิมพ์ซ้ำมาแล้ว 6 รอบชื่อ ผอมเลือกได้ และ อีกเล่มชื่อ บอกลาขาใหญ่ 


🥰 ทุกครั้งที่พี่ปุ๋มต้องการความกระจ่างเกี่ยวกับสุขภาพหรือโภชนาการเรื่องใดก็ตาม พี่หนิงก็จะเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ของพี่ และทำให้พี่ต่อภาพคำถามที่สงสัยได้กระจ่างชัด และเมื่อนำไปปฏิบัติตามที่พี่หนิงแนะนำ ก็มักจะได้ผลลัพธ์ในการปรับปรุงสุขภาพเสมอ


🎥 พี่จึงคิดทำช่วงวิดีโอพิเศษ เชิญพี่หนิงมาพูดคุยเรื่องสุขภาพหลากหลาย โดยในตอนแรก เชิญพี่หนิงมาคุยเรื่อง Bone Broth ซึ่งพี่ไม่เคยเล่าให้พี่หนิงฟังเลยว่าพี่ทำ I-Fast Bone Broth ออกมา พอพี่หนิงทราบก็ตื่นเต้น แล้วบอกกับพี่ว่า “ปุ๋มรู้ไหมว่า Bone Broth นี่มันดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายเลยนะ ไม่ใช่แค่ผิวสวย ผมสวย เล็บสวย อย่างที่เราเข้าใจกัน” แทนที่จะฟังคนเดียว พี่เลยชวนพี่หนิงมานั่งคุยให้น้องๆฟังกันด้วยเลย จะเป็นประโยชน์โดยรวมมากกว่า


📌 มาชมกันนะคะ นอกจากนั้นในตอนท้ายการพูดคุย พี่ปุ๋มมีของขวัญพิเศษสุดให้กับน้องๆทุกท่านด้วยค่ะ อยู่ฟังกันจนจบนะคะ 


หัวข้อตามเวลา

00:00  Introduction

01:51  แนะนำแขกรับเชิญ พี่หนิง ภญ.นันทวดี พิทยาพิบูลพงศ์

07:24  ผลงานหนังสือของพี่หนิง

09:02  ที่มาที่พี่หนิงสนใจ Bone Broth หรือน้ำต้มกระดูก

12:47  แคลเซียมไม่ได้ช่วยลดกระดูกพรุน ถ้าไม่มีคอลลาเจนเป็นตัวช่วยพยุง

14:17  ทำไม Bone Broth หรือ น้ำซุปกระดูก ถึงเป็น Functional Food ช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ดี

18:29  ทำคอลลาเจนใน Bone Broth ไม่ได้แค่ช่วยเรื่องผิว ผม เล็บ เท่านั้น

19:35  ความสำคัญและสัดส่วนองค์ประกอบของคอลลาเจนในร่างกาย

21:26  คอลลาเจนกับโรคลำไส้รั่ว หรือ Leaky Gut

28:18  Bone Broth เหมาะกับใครบ้าง

34:34  ข่าวดี...สิทธิพิเศษสำหรับคนที่ชมคลิปนี้


--------------------------------


สอบถามรายละเอียดสิทธิพิเศษเพิ่มเติม และสั่งซื้อ Bone Broth ได้ที่

LineOA : https://lin.ee/4S8N8iZ

FB Page : https://www.facebook.com/shopbyfatoutkey


--------------------------------

ช่องทางการติดตามอุดหนุนผลงานพี่ปุ๋มเพื่อเป็นกำลังใจ


YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpPU...

FB Page : https://www.facebook.com/fatoutkey

Podcast Spotify : https://open.spotify.com/show/0RtYfou...

Apple Podcast : https://podcasts.apple.com/th/podcast...

Website : https://healthspans.co/

                 https://fatoutkey.com/

Feb 22, 202238:58