Skip to main content
/iz/: information is all around

/iz/: information is all around

By /iz/ information is all around

พอดคาสต์ที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการจัดการข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีและสังคมดิจิทัล การอ่าน วรรณกรรม วัฒนธรรม และความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ กับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา

ผลิตโดยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาเพลงประกอบ jingle: Wirklich Wichtig (CB 27) โดย Checkie Brown อัลบั้ม hey
Available on
Google Podcasts Logo
Overcast Logo
Pocket Casts Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

EP.6 บทบาทของนักสารสนเทศในการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น

/iz/: information is all aroundMar 28, 2020

00:00
28:44
Ep. 14 มองอคติใน Machine Learning ผ่านมุมมอง Data Visualization

Ep. 14 มองอคติใน Machine Learning ผ่านมุมมอง Data Visualization

การเรียนรู้ของเครื่องหรือ Machine Learning ได้ถูกนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจทั้งในชีวิตประจำวันและนโยบายในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคบริการประชาชน การเงินการธนาคาร สุขภาพอนามัย รวมไปถึงการตัดสินคดีความ อย่างไรก็ตามกลไกการทำงานของ Machine Learning บางประการเป็นสิ่งอธิบายได้ยาก เนื่องจากมีความซับซ้อน ในตอนนี้ อาจารย์ ดร.ภูริพันธ์ รุจิขจร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแสดงข้อมูลเป็นภาพ (Data Visualization) จากภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอคติที่มักเกิดขึ้นในกลไกต่าง ๆ ของการนำการเรียนรู้ด้วยเครื่องมาใช้ ทั้งในมุมมองทางด้านข้อมูลและเทคนิค รวมไปถึงหลักการโดยทั่วไปที่จะช่วยทำให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าใจกลไกการทำงานเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความโปร่งใส (transparency) รวมไปถึงข้อถกเถียงและการพัฒนาวิธีการทำความเข้าใจการเรียนรู้ด้วยเครื่องจากการแสดงเป็นภาพ

May 08, 202024:49
EP.13 Metadata and Social Justice

EP.13 Metadata and Social Justice

Metadata can be broadly defined as a representative or a surrogate data/information to describe an entity of interest (e.g., person, organization, animal, objects, and concepts). Not only library and information professionals, everyone are often manage and manipulate metadata constantly in different contexts and capacities.  In many contexts, including library and information science, standardization of description practices and knowledge representation (e.g., controlled vocabulary), particularly based on the euro-american perspective, is one of the most common and active practices in metadata organization. In this first English episode, Dr.Hollie White from the School of Media, Creative Arts and Social Inquiry, Curtin University in Perth, Australia shares her interests in studying the influence of metadata creation and organization on social justice and how her studies applies to Thai cataloging practices. Recommendations for library and information professionals to improve fairness and promote social justice are also discussed.

Apr 09, 202022:03
EP.12 วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม

EP.12 วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม

ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากมายและต่างก็มีความเชื่อและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนไป แต่รากความเชื่อและขนบธรรมเนียมปฏิบัติกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงมีอยู่ ทำอย่างไรจึงรวบรวมและรักษาความเชื่อและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายนี้ไว้เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างความแตกต่างทางวัฒนธรรม และส่งต่อไปยังคนอีกรุ่นได้ คุณศิราพร แป๊ะเส็ง นักวิชาการด้านชาติพันธุ์ และคุณสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี นักวิชาการด้านการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม จากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มาร่วมพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์การจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรมรวมถึงความท้าทายเกิดขึ้นเมื่อสารสนเทศทางวัฒนธรรมเช่นนี้มักอยู่ในลักษณะของคำบอกเล่า นิทาน เพลงพื้นถิ่น และประเด็นที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องจัดการและเผยแพร่สารสนเทศทางวัฒนธรรมนี้  

Apr 08, 202039:21
EP.11 การแพร่ระบาดของข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ

EP.11 การแพร่ระบาดของข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ

การแพร่ระบาด (pandemic) ของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อปรากฎการณ์การแพร่ระบาดของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดการท่วมท้นของข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ในตอนนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา จินตโกวิท ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายในปัจจุบัน รวมไปถึงปัจจัยที่ทำให้ข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

Apr 03, 202026:37
EP.10 ทำไมต้องอ้างอิงแบบ APA

EP.10 ทำไมต้องอ้างอิงแบบ APA

การอ้างอิงทางวิชาการมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุมชนวิชาการ อย่างไรก็ตามเรามักจะเห็นว่าสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มักเลือกใช้การอ้างอิงแบบ APA (American Psychology Association) เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนและการเขียนผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช เศวตรัตนเสถียรจะมาช่วยไขข้อข้องใจว่าทำไมสถาบันการศึกษาหลายแห่งจึงมักเลือกใช้ APA เป็นแบบแผน รวมถึงข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ APA ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 7 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคม 2562

Apr 02, 202024:48
EP.9 วาทศิลป์ของผู้นำท้องถิ่นในอินเดียในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19

EP.9 วาทศิลป์ของผู้นำท้องถิ่นในอินเดียในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19

ประเทศที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับสองของโลกอย่างประเทศอินเดียได้รับความสนใจไม่น้อยในช่วงสถานการณ์วิกฤตทางสาธารณสุขระดับโลกเช่นนี้ อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมาก การสื่อสารในช่วงวิกฤต COVID-19 จึงเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย อาจารย์กิตติพงษ์ บุญเกิด อาจารย์สาขาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย เล่าถึงสภาพสังคมวัฒนธรรมในเมืองชีลอง รัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย รวมถึงการสื่อสารภาครัฐ และวาทศิลป์ของผู้นำในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ที่มีการหยิกยกเรื่องราวใกล้ตัวมาเพื่อสอดแทรกประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสาร รวมไปถึงการใช้ภาษาและทำนองการสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความเข้าใจ ความสามัคคี รวมไปถึงการปฏิบัติตามของประชาชนในพื้นที่

Apr 01, 202025:24
EP.8 ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลกับการเรียนการสอนและการทำงานออนไลน์

EP.8 ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลกับการเรียนการสอนและการทำงานออนไลน์

ภาวะการณ์ในปัจจุบันทำให้การเรียนการสอนและการทำงานถูกย้ายไปอยู่บนสภาพแวดล้อมออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามมีการตั้งถึงความพร้อมในการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว แนวคิดการศึกษาทางด้านความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (digital divide) สามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการพิจารณาเพื่อวางแผนและรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลนั้นครอบคลุมกว้างกว่าปัจจัยพื้นฐานอย่างเรื่องการมีเครื่องมือและการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นถึงแม้ในบางองค์กรหรือสังคมจะมีความพร้อมในเรื่องปัจจัยพื้นฐานข้างต้น แต่ยังมีมิติทางสังคม ทักษะ เนื้อหา และระบบที่ยังพิจารณาว่าจะต้องเข้าไปช่วยเหลืออย่างไร

Mar 31, 202023:25
EP.7 วัฒนธรรมกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID19 ในประเทศสเปน

EP.7 วัฒนธรรมกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID19 ในประเทศสเปน

สเปนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวนมาก นอกเหนือปัจจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมก็มีบทบาทสำคัญต่อการแพร่ระบาดของโรคด้วย ในตอนนี้ คุณนรุตม์ เจ้าสกุล และคุณอนิมมาล เล็กสวัสดิ์ สองนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาต่อด้านวรรณกรรมและการแปลที่ประเทศสเปน จะมาเล่าถึงสถานการณ์ ประสบการณ์ส่วนตัว รวมไปถึงมุมมองทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรค ในขณะเดียวกันรวมไปถึงปฏิกิริยาทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดที่น่าสนใจ

Mar 30, 202028:33
EP.6 บทบาทของนักสารสนเทศในการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น

EP.6 บทบาทของนักสารสนเทศในการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น

การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (intangible cultural heritage) เป็นอีกบทบาทหนึ่งของนักสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนึกถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงการแสดง ศิลปหัตกรรมหรือภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านต่าง ๆ แต่หนึ่งในมรดกที่มีความเสี่ยงที่จะสูญหายไปเรื่อย ๆ คือ ภาษาท้องถิ่น ประเทศไทยมีภาษาท้องถิ่นมากกว่า 60-70 ภาษา ภาษาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาพูด ไม่มีระบบเขียน หลายภาษาเริ่มมีคนใช้น้อยลง ๆ เรื่อย ๆ การจดบันทึกภาษาและการอนุรักษ์หลักฐานทางภาษาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยสงวนรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้

ในตอนนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ จากภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงบทบาทและโอกาสของนักสารสนเทศในการทำงานร่วมกับนักภาษาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นของไทย รวมไปถึงแนวโน้มในการทำงานร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ในการจัดเก็บและประมวลผลภาษาท้องถิ่น

Mar 28, 202028:44
EP.5 จดหมายเหตุในภาวะวิกฤตของไทย

EP.5 จดหมายเหตุในภาวะวิกฤตของไทย

ในตอนที่ 5 นี้อาจารย์ ดร.นยา สุจฉายา จะมาเล่าถึงจดหมายเหตุที่สำคัญของไทยที่บันทึกเหตุการณ์ในช่วงวิกฤตของประเทศ โดยพิจารณาประเด็นในด้านเนื้อหาและความแตกต่างของหลักฐาน ตลอดจนความสำคัญของการจดบันทึกที่นำมาสู่ความท้าทายและโอกาสในการบันทึกจดหมายเหตุของเหตุการณ์วิกฤตในปัจจุบัน

Mar 27, 202021:17
EP.4 การปรับตัวของห้องสมุดในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19

EP.4 การปรับตัวของห้องสมุดในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19

การที่ห้องสมุดหลายแห่งต้องปิดให้บริการพื้นที่และทรัพยากรสารสนเทศ ทำให้แนวคิด Library as a place หรือ Library as a collection ถูกท้าทาย ในขณะเดียวกันก็อาจกลายเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ห้องสมุดต้องปรับตัวและทำให้บริการห้องสมุดในรูปแบบใหม่ ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสามารถพัฒนาตนเองได้อีกด้วย ในตอนนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล จะมาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการปรับตัวของห้องสมุดในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 รวมไปถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อการให้บริการของห้องสมุดในระยะยาว

Mar 27, 202017:60
EP.3 ภาวะความเป็นผู้นำในช่วงภาวะวิกฤต

EP.3 ภาวะความเป็นผู้นำในช่วงภาวะวิกฤต

การเผชิญกับภาวะวิกฤตเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้นำ ในตอนนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ จะมาแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับภาวะความเป็นผู้นำทั้งเชิงคุณลักษณะของผู้นำไปจนถึงเครื่องมือหรือกลไกต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำองค์กรหรือสังคมทั้งในช่วงเวลาปกติและช่วงที่มีภาวะวิกฤต

Mar 26, 202022:19
EP.2 การสอนการรู้สารสนเทศออนไลน์ในช่วง COVID-19

EP.2 การสอนการรู้สารสนเทศออนไลน์ในช่วง COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กระทบไปถึงให้บริการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศหลายแห่งต้องปิดให้บริการ ในขณะที่หลายแห่งได้ปรับรูปแบบของบริการหลายอย่างให้อยู่ในรูปออนไลน์ ในตอนนี้อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทางในการสอนการรู้สารสนเทศออนไลน์สำหรับบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ ไม่เพียงเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดเท่านั้น แต่ยังร่วมไปถึงแนวทางหลังจากนี้อีกด้วย

Mar 26, 202018:40
EP.1 Open Access และ Open Data ในช่วง COVID-19

EP.1 Open Access และ Open Data ในช่วง COVID-19

การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ รวมถึงสถาบันบริการสารสนเทศอย่างห้องสมุดและหอจดหมายเหตุหลายแห่งปลดล๊อกเนื้อหาให้สาธารณะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรี นอกจากนี้การแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองของการเคลื่อนไหวทางด้าน Open Access และ Open Data ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

ตอนแรกของพอดคาสต์นี้ประเดิมด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างอาจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์เกี่ยวปรากฎการณ์ดังกล่าว และแนวโน้มของ Open Access และ Open Data ในยุคหลัง COVID-19

Mar 25, 202015:32