Skip to main content
What the Health เม้าท์ (สุขภาพ) กับหมอ โดยโรงพยาบาลสมิติเวช

What the Health เม้าท์ (สุขภาพ) กับหมอ โดยโรงพยาบาลสมิติเวช

By Samitivej Hospital

Samitivej Podcast ย่อ ย่อย ยั่วสุขภาพให้เติมเต็มชีวิต กับสองสาวพิธีกรและคุณหมอจากโรงพยาบาลสมิติเวช
จัดเต็มเคล็ดลับ และทริคสุขภาพ ที่คุณไม่เคยฟังที่ไหน ฟังมันๆ มาฟังกันได้ที่ What the Health! ทุกพุธที่ 2 และ 4 ของเดือน
Available on
Google Podcasts Logo
Overcast Logo
Pocket Casts Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

EP26 รู้หรือไม่? การหลอกตัวเองมากเกินไปอาจเป็นโรคอย่างหนึ่ง

What the Health เม้าท์ (สุขภาพ) กับหมอ โดยโรงพยาบาลสมิติเวชJan 26, 2022

00:00
21:01
EP49 ตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันโรคพันธุกรรมสำหรับลูกน้อย

EP49 ตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันโรคพันธุกรรมสำหรับลูกน้อย

เราจะมาไขข้อข้องใจกับการตรวจยีนสำหรับการมีลูกว่าควรตรวจอะไรบ้าง ควรตรวจในช่วงไหนของการตั้งครรภ์

และเราจะมีการวางแผนรับมืออย่างไรโดย รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล

แพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารก โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

May 12, 202302:47
EP48 ผู้สูงวัย กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สูตรเฉพาะ จำเป็นหรือไม่?

EP48 ผู้สูงวัย กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สูตรเฉพาะ จำเป็นหรือไม่?

EP. นี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไมผู้สูงอายุต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่สูตรเฉพาะ หรือที่เรียกว่า High Dose มันดีกว่าแบบปกติอย่างไร กับคุณหมอท๊อป พญ.ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล อายุรแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ประจำศูนย์ชีวายั่งยืน คุณหมอกล่าวว่า แบบ High Dose มีการเพิ่มของสารประกอบของเชื้อมากกว่าวัคซีนแบบ 4 สายพันธุ์ทั่วไปถึง 4 เท่า มีประโยชน์คือกระตุ้นให้การสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นนั่นเอง ถ้าผู้สูงอายุติดไข้หวัดใหญ่จะส่งผลต่อปอด ระบบหายใจและเส้นเลือดได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดสมองตีบ 8 เท่าและลิ่มเลือดหัวใจตีบ 10 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ High Dose จะช่วยลดอัตราการนอน รพ. ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการนอนติดเตียง


เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Mar 31, 202311:28
EP47 สูงวัย กับ โรคภัยซ่อนเร้น

EP47 สูงวัย กับ โรคภัยซ่อนเร้น

EP นี้ คุณหมอ ท้อป พญ.ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ประจำศูนย์ชีวายั่งยืน
จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยซ่อนเร้น ของผู้สูงอายุที่ต้องระวัง มีสัญญานเตือนอะไรบ้างที่ควรรู้ เราจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของท่านได้อย่างไร โรคภัยใดที่ควรต้องระวังเป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้นของคนในครอบครัวที่เรารัก
#เราไม่อยากให้ใครป่วย

Mar 15, 202321:50
EP46 หมดกังวล ลมชักรักษาได้

EP46 หมดกังวล ลมชักรักษาได้

EP นี้ คุณหมอ มิกกี้ พญ.วิรัลพัชร อัครชลานนท์ กุมารแพทย์โรคสมองและระบบประสาท รพ.เด็กสมิติเวช จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก โรคลมชักคืออะไร? การชักมีกี่ประเภท และโรคลมชักสามารถรักษาให้หายขาดได้จริงหรือ?
แล้วถ้าเกิดลูกหลานของเราเป็นโรคลมชัก เราจะต้องทำอย่างไรในสถานการณ์นั้น มีวิธีการสังเกตหรือป้องกันอย่างไร มาติดตามกันใน EP นี้
#เราไม่อยากให้ใครป่วย

Feb 16, 202326:42
EP45 Sixpack สร้างได้?

EP45 Sixpack สร้างได้?

ใครอยากมี Six Pack แต่ไม่มาสักที ทั้ง sit up ควบคุมอาหาร กินโปรตีนเยอะก็แล้ว …. มาฟังกันเลย วันนี้มีทางลัดมาบอก …. เราสามารถสร้าง Six Pack ได้ด้วยมือแพทย์ ด้วยเทคนิคการผ่าตัดดูดไขมันนั่นเอง ได้ทั้งหญิงและชายเลย คุณหมอจะมีการพูดคุยในสิ่งที่เราอยากจะได้ตรงตามความต้องการ แนะนำการเตรียมตัวต่างๆ อาทิ ควรมีน้ำหนักคงที่อย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี แล้วมาตรวจร่างกาย ตรวจสภาพผิว ยิ่งผิวกระชับ ยิ่งทำให้ดูดี สวย ทำเสร็จมาพักฟื้นเพียง 2 อาทิตย์เท่านั้น และความรู้อีกเพี๊ยบ คลิกฟังได้เลยค่ะ

Jan 11, 202321:52
EP44 คอลลาเจน- รู้ก่อนกิน

EP44 คอลลาเจน- รู้ก่อนกิน

ขาว เด้ง ไม่ปวดข้อ.... อะไรคือข้อเท็จจริงจากการกินคอลลาเจนเสริม EP นี้ พญ. มล. ธัญญ์นภัส เทวกุล คอนเฟิร์มว่าคอลลาเจนดีกับผิวจริงในแง่เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้กับผิว แต่ไม่ได้ช่วยให้ผิวขาวดังเช่นที่เห็นในโฆษณาในหลายสื่อ คอลลาเจนในร่างกายมีอยู่หลายชนิด คอลลาเจน Type I พบได้ทั้งในผิวและกระดูก ส่วน Type II พบในกระดูกอ่อนและข้อต่อ ดังนั้นจะเลือกซื้อเลือกรับประทานคอลลาเจนชนิดไหนต้องเลือกให้ถูกกับการบำรุงที่คุณต้องการ คอลลาเจนที่ถูกดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลงด้วยการไฮโดรไลซ์ ได้เป็นคอลลาเจนไดหรือไตรเปปไทด์จะมีขนาดเล็กและถูกดูดซึมได้ดี ขนาดรับประทานคือ 2,500 – 10,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีให้เลือกหลายรูปแบบ ส่วนคอลลาเจนที่มีงานวิจัยว่าให้ประโยชน์ต่อข้อ คือ undenatured type II collagen (UC-II) ซึ่งมีขนาดรับประทานน้อยกว่าคอลลาเจนโดยทั่วไป และมีประสิทธิภาพดี ผู้ที่ไม่ควรรับประทานคอลลาเจนคือ ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต กรดไหลย้อน ผู้ที่แพ้อาหารบางชนิด เช่น ปลา ไก่ อาหารทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของคอลลาเจน ดังนั้นก่อนซื้อจึงควรอ่านฉลากเพื่อตรวจดูส่วนผสมให้แน่ใจก่อนว่าปราศจากสิ่งที่คุณแพ้ และประกอบด้วยส่วนผสมตามที่คุณต้องการ...

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Dec 14, 202231:54
EP 43 อยากจะนอนแต่นอนไม่หลับ

EP 43 อยากจะนอนแต่นอนไม่หลับ

ใครมีปัญหานอนไม่หลับแล้วไปชงอะไรอุ่นๆ ดื่ม โดยหวังว่าจะช่วยกล่อมให้นอนหลับได้ดีขึ้นต้องเปลี่ยนวิธี! เพราะ นพ.ดร. วิทูร จุลรัตนาภรณ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เฉลยให้ฟังว่าจะนอนได้ดีอุณหภูมิร่างกายต้องไม่สูงเกินไป อุณหภูมิในห้องเย็นพอเหมาะ ระหว่างวันควรอยู่ในที่สว่าง ส่วนก่อนนอนควรอยู่ในที่มืดเพื่อให้ร่างกายหลั่งเมลานินตามธรรมชาติและเตรียมเข้าสู่โหมดพักผ่อน ง่วงนอน และนอนหลับได้ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนใกล้เวลานอน หรือออกกำลังกายภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอนเพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ วางมือถือ พักการคิดเรื่องงาน หันมาทำสมาธิและยืดเหยียดร่างกายเบาๆ จะช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ปัญหาการนอนไม่หลับพบได้ในคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อใดที่การนอนไม่หลับเริ่มสร้างปัญหาระหว่างวัน ทำให้หงุดหงิดง่าย การตัดสินใจแย่ลง มีปัญหาในการเรียนรู้ หรือมีอาการนอนไม่หลับเกินหนึ่งสัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ก่อนจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อสุขภาพ

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Nov 23, 202229:25
EP42 ย้อนวัยให้น้องสาว

EP42 ย้อนวัยให้น้องสาว

น้องสาวของเราแต่ละคนมีรูปร่างและผิวพรรณที่แตกต่างกัน ไม่ต่างจากหน้าตาที่เห็นภายนอก เพียงแต่น้องสาวถือเป็นบริเวณลับเฉพาะที่เซนซิทีฟเป็นพิเศษ ไม่ว่าคุณจะอยากให้น้องสาวคิวท์ขึ้นอีกนิดโดยไม่ได้มีปัญหาทางกายภาพ หรือน้องมีรูปร่างที่ทำให้นั่งก็เจ็บ ใส่เสื้อผ้าก็เสียดสี ปัสสาวะเล็ด หรือไม่เอื้อต่อกิจกรรมบนเตียง บอกเลยว่าคุณหมอช่วยได้ ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์และการผ่าตัดที่มอบความคิวท์ให้น้อง ตกแต่งแก้ปัญหา และย้อนวัยให้น้องสาวได้ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอก คุณหมอมีเทคนิคอย่างไร ขั้นตอนการทำจะเจ็บไหม แก้ไขอะไรได้บ้าง ไปฟังกันเลย

Nov 09, 202228:16
EP41 ประจำเดือนแบบไหน “ผิดปกติ” เช็กให้ชัวร์

EP41 ประจำเดือนแบบไหน “ผิดปกติ” เช็กให้ชัวร์

ประจำเดือนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้หญิงทุกคนตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยสาว สาวน้อยแรกมีประจำเดือนใน 1-2 ปีแรกอาจจะยังมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ แต่เมื่อการตกไข่เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว ประจำเดือนที่มีลักษณะปกติคือ มีประจำเดือนครั้งละไม่เกิน 7 วัน อาจมีอาการปวดท้องประจำเดือนในวันแรก รอบเดือนสม่ำเสมอ รอบละ 28-35 วัน สีของประจำเดือนในวันแรกและก่อนหมดในแต่ละรอบอาจมีสีคล้ำออกน้ำตาล ขณะที่ระหว่างที่มีประจำเดือนส่วนใหญ่จะมีสีแดงสด เนื่องจากประจำเดือนคือเยื่อบุโพรงมดลูกที่มีเส้นเลือดฝอย เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนจึงมีสีแดงเหมือนเลือดนั่นเอง ความเครียด ความกังวล การออกกำลังกาย การอดนอน มีผลต่อการตกไข่และรอบเดือนได้ หากเมื่อไรที่รอบเดือนของคุณผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนประจำเดือน ความถี่-ห่างของรอบเดือน อาการปวดท้องที่มากับรอบเดือนรุนแรงมากขึ้น ควรพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา เพราะรอบเดือนที่ผิดปกติเกิดจากโรคได้หลายโรค เช่น รังไข่ทำงานผิดปกติ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เนื้องอก และช็อคโกแลตซิสต์เป็นต้น

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Oct 26, 202218:45
EP40 ผมร่วงหลังโควิด

EP40 ผมร่วงหลังโควิด

EP นี้คุณหมอแม็กซ์ นพ. วิรัช ตวงจารุวินัย แพทย์ผิวหนัง รพ. สมิติเวช สุขุมวิท มายืนยันชัดๆ ว่าเป็นโควิดทำให้ผมร่วงได้จริง แต่โควิดไม่ใช่โรคเดียวที่มีผลทำให้ผมร่วง เพราะโรคและสภาวะอื่นๆ ที่กระทบต่อสุขภาพร่างกายและใจ เช่น ไทรอยด์ ไข้เลือดออก หลังคลอด เจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล ผ่าตัด หรือแม้กระทั่งความเครียดก็มีผลทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ภาวะผมร่วงเป็นไม้ผลัดใบนี้เรียกว่า Telogen effluvium เกิดจากเส้นผมพากันเข้าสู่ระยะ Telogen ซึ่งเป็นระยะพร้อมร่วงมากกว่าปกติ แต่ใครกำลังเป็นอยู่ไม่ต้องกังวล เพราะหากไม่มีความเจ็บป่วยมาซ้ำอีก ผมสามารถงอกขึ้นใหม่ได้โดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และที่สำคัญหลังจากเจ็บป่วยแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพให้ดี รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ นอนให้ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ผมร่วงมากและไม่แน่ใจว่าใช่เกิดจากโควิดหรือไม่ แพทย์จะช่วยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษา ซึ่งก็มีทั้งใช้การใช้ยาทาภายนอก ยารับประทาน ใช้เลเซอร์ และฉายแสง LED สุดท้ายคุณหมอฝากไว้ว่าหากผมร่วงหลังจากป่วย ห้ามเครียด ค่อยๆ ฟื้นฟูร่างกาย และใจเย็นๆ เพราะผมบ้ายบายไปแป๊ปเดียว เดี๋ยว (3 เดือน) ก็กลับมา

#ผมร่วง #ผมร่วงจากโควิด

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Oct 12, 202225:36
EP39 ยาคุมกำเนิดแบบไหนดี?

EP39 ยาคุมกำเนิดแบบไหนดี?

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานนอกจากจะมีหลายยี่ห้อแล้ว ถ้าพิจารณาจากชนิดและปริมาณฮอร์โมนจะพบว่าแบ่งเป็นหลายแบบ ทำให้การใช้ยาคุมกำเนิดต้องเลือกให้ถูกต้องเหมาะกับวัยและร่างกายของผู้ใช้ รับประทานให้ตรงเวลา สม่ำเสมอทุกวัน ถ้าเป็นแผง 21 เม็ด รับประทานต่อเนื่องกันจนหมดแล้วเว้น 7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่ ส่วนแบบ 28 เม็ด ประกอบไปด้วยตัวยา 21 เม็ด และเม็ดแป้ง 7 เม็ด ให้เริ่มจากเม็ดยาก่อนจนหมดแล้วจึงรับประทานเม็ดแป้งต่อจนครบ ซึ่งยาคุมแบบ 28 เม็ดเมื่อรับประทานหมดแผงแล้ว ให้เริ่มแผงใหม่วันต่อไปทันที ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดคืออาการปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน บวมน้ำ ท้องอืด ซึ่งอาจไม่ได้พบในทุกคน และขึ้นกับปริมาณฮอร์โมนในยา การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะกับอายุและร่างกายของแต่ละคนจะช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากยาคุมกำเนิดแล้วยังมีวิธีคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การฝังแคปซูลคุมกำเนิด และการใส่ห่วงซึ่งมีทั้งห่วงประเภทฮอร์โมนและห่วงทองแดง การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ป้องกันได้ด้วยการคุมกำเนิด ส่วนจะใช้วิธีไหน หากไม่แน่ใจ เชิญปรึกษาสูตินารีแพทย์ได้เลย

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Sep 21, 202230:03
EP38 หาวบ่อยเสี่ยงป่วย

EP38 หาวบ่อยเสี่ยงป่วย

การหาวมักมีที่มาจากการอดนอน นอนน้อย นอนไม่ได้คุณภาพ เหนื่อย เครียด อ่อนเพลีย ซึ่งการหาวเป็นกลไกอัตโนมัติที่บังคับไม่ได้ เกิดจากการหายใจเอาอากาศเข้าปอดทั้งทางปากและจมูกพร้อมๆ กัน การหาวเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่หากหาวบ่อย หาวไม่หยุด มากกว่า 1 ครั้งต่อ 1 นาที อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค เช่น โรคลมหลับ ซึ่งเป็นการหลับแบบฉับพลันที่ต้องพบแพทย์โดยเร่งด่วน เพราะโรคนี้อาจทำให้คุณปิดสวิตซ์หลับกลางอากาศขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ และหากเกิดขณะกำลังขับรถ ข้ามถนน หรือใช้เครื่องจักรอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนั้นการหาวเป็นประจำยังอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช่น โรคประจำตัว ยาที่รับประทาน ความเครียด การหยุดหายใจขณะหลับ ต้องหาสาเหตุให้แน่ชัด และทำการรักษาที่ต้นเหตุ เพราะการนอนไม่หลับหรือนอนไม่มีคุณภาพในระยะยาวจะส่งผลเรื้อรังให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา ทั้งโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ความดัน แล้วยังทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ ใครนอนไม่หลับ หาวหวอดๆ ทั้งวัน ปรับวิธีการปฏิบัติตัวก็แล้ว ลองแก้ปัญหาด้วยตัวเองแต่ก็ไม่สำเร็จ สมิติเวชมี Sleep Clinic ที่มีแพทย์พร้อมวินิจฉัย ตรวจร่างกาย และแก้ปัญหาการนอน ให้คุณนอนหลับสบายขึ้น ตื่นมาสดใส พร้อมใช้ชีวิตแต่ละวันอย่างเต็มที่

Sep 07, 202225:29
EP37 เส้นเลือดขอด จบปัญหาถ้ารักษาไว

EP37 เส้นเลือดขอด จบปัญหาถ้ารักษาไว

เส้นเลือดขอดเป็นปัญหาของหลอดเลือดที่มักพบที่ขา มีสาเหตุจากการอยู่ในท่าเดียวไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือใส่ส้นสูงนานๆ โดยมีปัจจัยด้ายพันธุกรรม อายุ น้ำหนักตัว ฮอร์โมนมาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจะพบว่าผู้หญิงมักมีปัญหาเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เส้นเลือดขอดเกิดจากประตูปิดเปิดในหลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดในหลอดเลือดดำไม่สามารถไหลกลับไปที่หัวใจได้อย่างสมบูรณ์ เกิดการคั่งของเลือดที่ขา จึงมีอาการขาหนัก เมื่อยขา ขาบวม เส้นเลือดโป่ง เห็นรอยเส้นเลือดเป็นสีเข้มอย่างชัดเจน และบางครั้งเส้นเลือดที่โป่งนั้นอาจเสียดสีจนทำให้เลือดออกได้ และที่ร้ายที่สุดคือหากเส้นเลือดอักเสบ อุดตัน เกิดลิ่มเลือดอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ การใช้ยาทาภายนอกทาบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดช่วยได้เพียงบรรเทาอาการคันหรือเจ็บที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุ ดังนั้นการรักษาเส้นเลือดขอดที่ถูกต้องคือการมาพบแพทย์ ให้แพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการรักษาด้วยเลเซอร์ การฉีดยา หรือการผ่าตัดเล็ก ภายหลังการรักษาสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจใส่ถุงน่องรัดขาเพื่อช่วยเพิ่มแรงดันเลือดให้ไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น ดังนั้นใครที่เป็นเส้นเลือดขอดอย่ามัวหายาทาเพราะมันไม่ช่วยอะไร มาพบแพทย์สิคะปัญหาจะได้จบไวๆ

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Aug 24, 202218:42
EP 36 เพลียใจแพ้ภัยเหงื่อตัวเอง

EP 36 เพลียใจแพ้ภัยเหงื่อตัวเอง

อาการแพ้เหงื่อตัวเอง เหงื่อออกทีไรก็คันไปหมด ไม่ถือว่าเป็นโรค แต่แสดงว่าผิวอาจมีการอักเสบ เกราะป้องกันผิวไม่แข็งแรง เมื่อเหงื่อออกจึงทำให้เกิดเกิดการระคายเคืองขึ้นได้ ทั้งนี้ใครมีอาการดังกล่าวควรพบให้แพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดเป็นเพราะเหงื่อ หรือเป็นโรคที่มีมีอาการคล้ายกัน เช่น ผดร้อนในเด็กและโรคเกลื้อน การดูแลตัวเองในช่วงที่เหงื่อออกแล้วมีอาการคัน อาจใช้ผ้าเย็นเช็ด ประคบเย็น หรือทาคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการ และทันทีที่มีโอกาสควรรีบอาบน้ำล้างตัวด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่อาบน้ำนาน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่เป็นแบบปราศจากสบู่ ซึ่งมีพีเอชเหมาะกับผิว และไม่ทำให้ผิวแห้ง หลังอาบน้ำเสร็จให้ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ภายใน 3 นาที ซึ่งเป็นเวลาทองที่โลชั่น ครีม หรือน้ำมันที่ใช้จะซึมลงสู่ผิวได้ดีที่สุด สำหรับผิวที่มีอาการ ระคายเคืองง่าย ควรดูแลผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ และฟื้นฟูเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง ส่วนในช่วงที่มีอาการอักเสบของผิวอาจจำเป็นต้องใช้ยาทาสเตียรอยด์ซึ่งการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Jul 29, 202219:50
EP35 นอนเยอะแต่เหมือนไม่ได้นอน

EP35 นอนเยอะแต่เหมือนไม่ได้นอน

นอนยังไงก็ไม่อิ่มสักที เป็นปัญหาใหญ่ของบางคน การนอนที่ดีควรจะนอนตรงตามเวลานาฬิกาชีวิต นั่นคือเข้านอนประมาณ 4 ทุ่ม และนอนให้ครบ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะ growth hormone ที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย คงความอ่อนเยาว์และแข็งแรงจะหลั่งในช่วง 4 ทุ่มถึงตี 2 หากคุณพลาดไม่ได้หลับอยู่ในช่วงนั้น growth hormone ก็จะไม่หลั่ง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย สมองไม่แล่น ฮอร์โมนปั่นป่วน ซึ่งในระยะยาวทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าใช้เวลาไปกับการนอนมาก แต่นอนไม่อิ่มสักที ควรทบทวนการนอนของตัวเองว่ามีคุณภาพ และสอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตหรือไม่ ลองปรับไลฟ์สไตล์ด้วยการเข้านอนเป็นเวลา ลดอาหารพวกแป้งที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนหลั่งแล้วทำให้รู้สึกง่วง ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มโดปามีนไปเร่งความกระปรี้กระเปร่า และปรับสมดุลฮอร์โมน

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Jul 13, 202217:24
EP 34 Long COVID

EP 34 Long COVID

หลายคนเข้าใจผิดว่าโควิดเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอด แต่ที่จริงภูมิที่ได้จากการติดเชื้อจะมีอยู่เพียง 1-3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นการจะลดการ์ดแล้วปล่อยให้ติด เพราะเห็นว่าโอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก ด้วยเหตุผลที่เริ่มเป็นที่รู้กันแล้วว่าหลังจากหายจากอาการติดเชื้อ ก็ยังเสี่ยงต่อการเป็น Long COVID ได้ด้วย อาการที่พบบ่อยของ Long COVID คืออาการไอ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยง่าย บางคนมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อน เกิดโรคหลอดเลือด ปวดข้อ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ผมร่วง มีผื่นคัน เรียกได้ว่า Long COVID มีผลกระทบได้ทั่วร่างกายโดยที่แต่ละคนมีอาการแตกต่างกันไป หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หายจากโควิดแล้ว แต่ยังมีอาการบางอย่างค้างอยู่ หรือมีอาการบางอย่างเกิดขึ้นใหม่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นหลังจากที่ติดโควิด 4-12 สัปดาห์ คุณอาจจะเป็นคนนึงที่เป็น Long COVID ซึ่งจะมั่นใจว่าใช่หรือไม่ใช่ ต้องนัดแพทย์เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินอาการให้แน่ใจ และทำการรักษาให้เหมาะกับอาการที่เป็น Long COVID เป็นได้ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย ถึงจะไม่ได้เกิดกับทุกคนติดโควิด แต่ถ้าเป็นแล้วไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาหายเป็นปกติโดยเร็ว

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Jun 15, 202222:54
EP 33 SebDerm โรคผิวหนังของคนนอนน้อย

EP 33 SebDerm โรคผิวหนังของคนนอนน้อย

SebDerm จัดเป็นโรคผิวหนังที่กวนใจคนวัยทำงาน มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีความเครียดหรือพักผ่อนน้อย SebDerm ไม่มีความสัมพันธ์กับอากาศเป็นได้ทุกฤดูกาล อาการแสดงถ้าเป็นที่หน้า บริเวณที่มักมีผื่นคือ ข้างจมูก เหนือคิ้ว คาง หรือบางคนลามลงมาจนถึงหน้าอก รอยผื่นมีสีแดงเป็นขุย คัน และลอกเป็นแผ่นสีเหลืองมัน ๆ ส่วนถ้าเป็นที่หนังศีรษะและไรผม หากเป็นน้อย ๆ จะดูเหมือนเป็นรังแค แต่เมื่อเป็นมากจะลอกเป็นแผ่นเช่นเดียวกับที่ใบหน้า ที่จริงแล้วการเกิด SebDerm ไม่ได้จำกัดการเกิดอยู่ที่เฉพาะคนวัยทำงานเท่านั้น แต่เป็นได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ โรคนี้ถึงจะไม่ทำให้เกิดอันตรายรุนแรงแก่ร่างกาย แต่ชวนรำคาญ ทำให้เสียบุคลิก และถ้าเป็นบนหนังศีรษะจะเป็นต้นเหตุของผมร่วงได้ ช่วงที่มีผื่นการรักษาคือการทายาที่แพทย์สั่งใช้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของผิว ส่วนวิธีป้องกันต้องดูแลสุขภาพโดยองค์รวมด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามไม่เครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ


May 25, 202214:29
EP 32 Up trend 2022 สวยด้วยศัลยกรรม

EP 32 Up trend 2022 สวยด้วยศัลยกรรม

ยุคนี้การทำศัลยกรรมไม่ใช่เรื่องแปลก อยากสวยหรืออยากหล่อ หมอช่วยได้ นพ. วีรวัฒน์ ติรนันท์มงคล ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ แนะนำว่าใครอยากทำศัลยกรรมต้องหาข้อมูลให้ดี หาต้นแบบของความสวยให้พร้อม เมื่อมั่นใจแล้วควรนัดไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเป็นไปได้ที่จะทำให้เหมือนต้นแบบ ทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพกายและจิตใจก่อนทำด้วย

เทรนด์ศัลยกรรมที่กำลังมาแรงไม่ว่าจะในหญิงหรือชาย ไม่พ้นการแต่งเสริมเติมปรับรูปหน้า ตา จมูก ปาก หู คางให้ดูสวยงามขึ้น การศัลยกรรมหน้าอก เสริมก้น เอวเอส ร่องสิบเอ็ด หรือศัลยกรรมลดวัยน้องสาวก็กำลังมาแรงในหมู่สาวๆ ส่วนหนุ่มๆ สมัยนี้เขาฮิตศัลยกรรมเสริมซิกซ์แพ็คกันจ้า 

ใครคิดอยากไปอัพหน้าอัพร่างที่เกาหลี ต้องพิจารณาให้ดีๆ เพราะบอกเลยว่าเทคโนโลยีด้านนี้ของไทยนั้นทันสมัยไม่แพ้ต่างประเทศ แพทย์ศัลยกรรมตกแต่งชาวไทยก็มีฝีมือและความเชี่ยวชาญไม่น้อยไปว่าหมอเกาหลีที่ฮิตๆ กัน และที่สำคัญหากเกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่ในไทยย่อมสะดวกกว่า 

หน้าตาของเรา ร่างกายของเรา อย่าเอาไปเสี่ยง ถ้าจะขึ้นเตียงทำสวยทำหล่อทั้งทีต้องหาข้อมูลให้เป๊ะ เลือกทำกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ในสถานที่ที่มีมาตรฐานสะอาดและปลอดภัย

May 03, 202225:09
EP 31 อารมณ์ร้ายหรือปัญหาฮอร์โมน

EP 31 อารมณ์ร้ายหรือปัญหาฮอร์โมน

พญ. พัฒศรี เชื้อพูล แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพร่วมไขข้อข้องใจกับปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดจากฮอร์โมน เพราะในวัยที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะร่างกายเท่านั้นที่เปลี่ยนไป แต่จิตใจก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากอารมณ์เหวี่ยงวีน หงุดหงิด ขี้น้อยใจแล้วความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงส่งผลอย่างไรได้อีก อาการที่ว่าเริ่มต้นเมื่ออายุเท่าไหร่ ผู้ชายมีอาการจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนหรือไม่ และไลฟ์สไตล์แบบไหนส่งผลร้ายต่อฮอร์โมน ยังไม่วัยทองก็ฟังได้... รู้ก่อนย่อมรับมือได้ดีกว่า

#อารมณ์วัยทอง #วัยทอง #ฮอร์โมน

Apr 14, 202225:03
EP30 บอกลากระฝ้า-ป้องกันก่อนรักษา
Mar 23, 202220:40
EP 29 ดาวน์ซินโดรมรู้ก่อนเกิดตรวจยังไง

EP 29 ดาวน์ซินโดรมรู้ก่อนเกิดตรวจยังไง

ทารกเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมเพราะแม่อายุมากจริงหรือไม่? เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้ด้วยการตรวจพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนลูกจะปฏิสนธิและในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ โดยมีข้อแม้ว่าต้องได้รับการตรวจในอายุครรภ์ที่เหมาะสม การฝากครรภ์ตั้งแต่แรกรู้ว่าตั้งท้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีวิธีไหนบ้าง ลูกต้องเสี่ยงไหม แม่เจ็บตัวหรือเปล่า วิธีที่เรียกว่า NIPT เป็นอย่างไรร่วมหาคำตอบจาก รศ.ดร. นพ. บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูตินารีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลภาวะครรภ์เสี่ยงสูงและภาวะครรภ์เป็นพิษ
#ตรวจดาวน์ซินโดรม


Mar 09, 202225:43
EP 28 How to ขจัดกลิ่นตัวแรง

EP 28 How to ขจัดกลิ่นตัวแรง

กลิ่นตัวเป็นปัญหาสุขภาพกายที่ส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองและสุขภาพจิตได้ กลิ่นตัวไม่ได้เกิดจากเหงื่อ แต่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำปฏิกิริยากับเหงื่อ หรือเกิดจาก “ต่อมเหม็น” บริเวณรักแร้ หน้าอก และอวัยวะเพศที่พัฒนาขึ้นในช่วงวัยรุ่น นอกจากนั้นกลิ่นตัวยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศไม่ดี แผลอักเสบของผิวหนัง โรคภายในที่ส่งผลให้ลมหายใจมีกลิ่น รวมทั้งอาหารที่มีกลิ่นแรง หากคุณพบว่าตัวเองมีกลิ่นตัวที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการอาบน้ำหรือใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย ขาดความมั่นใจจนไม่อยากจะให้ใครเข้าใกล้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินและแก้ปัญหาที่สาเหตุ เพราะนอกจากการดูแลสุขอนามัยด้วยตัวเองแล้ว ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เลเซอร์ และการฉีด botox มาใช้ในการขจัดกลิ่นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Feb 24, 202223:40
EP 27 LGBTQ แค่แตกต่าง?

EP 27 LGBTQ แค่แตกต่าง?

เมื่อ LGBTQ ไม่ใช่โรคแต่เป็นความชอบและลักษณะส่วนบุคคลที่มีความหลากหลายไม่แตกต่างกับรูปร่างหรือสีผิว What the Health เม้าท์สุขภาพกับหมอชวน นต. พญ. ณัฐยา รัชตะวรรณ สูตินารีแพทย์ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ มาคุยถึงนิยามของ LGBTQ ความสำคัญของความเข้าใจและกำลังใจจากคนรอบข้าง รวมถึงการเปิดโอกาสทางสังคมเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกเพศในสถาบันซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กแต่สำคัญที่สุดในสังคมที่เรียกว่า “ครอบครัว”

Feb 09, 202229:23
EP26 รู้หรือไม่? การหลอกตัวเองมากเกินไปอาจเป็นโรคอย่างหนึ่ง

EP26 รู้หรือไม่? การหลอกตัวเองมากเกินไปอาจเป็นโรคอย่างหนึ่ง

ในยุคที่เราขยัน “มโน” มีทริปทิพย์ สามีทิพย์ บ้านทิพย์ และอีกสารพัดตามใจปรารถนา จนไม่แน่ใจว่าการมโนเช่นนี้เป็นการหลอกตัวเองหรือไม่ หรือแบบไหนที่เกินพอดี EP นี้ หมอดิว นพ. ธนานันต์ นุ่มแสง จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ชวนคุยถึงดีกรีความแตกต่างระหว่างการมโน การโกหก และการหลอกตัวเอง แบบไหนทำได้ไม่ต้องกังวล แบบไหนเข้าข่ายกลุ่มอาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติหรือเกิดจากปมอดีตในใจ พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขที่เป็นจริงได้เพียงแค่ยอมเปิดใจเข้ามาคุยกับจิตแพทย์

Jan 26, 202221:01
EP 25 ว้าวุ่นใจวัยฮอร์โมน (คุยอย่างไรกับวัยรุ่น)

EP 25 ว้าวุ่นใจวัยฮอร์โมน (คุยอย่างไรกับวัยรุ่น)

เมื่อลูกเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ การสื่อสารต้องเปลี่ยนรูปแบบให้โดนใจลูก ด้วยการพูดเฉพาะใจความสำคัญที่พ่อแม่ต้องการบอก ไม่เยิ่นเย้อยืดยาว ไม่ตำหนิติเตียน ตัดสิน ใช้อารมณ์ หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูก
เรื่องไหนควรถาม - เรื่องไหนไม่ควร - เรื่องเพศสอนยังไง พูดได้แค่ไหน EP นี้
พญ. ศิราดา จิตติวรรณ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แนะนำวิธีสอนวัยทีนให้ลูกฟัง และคงความสัมพันธ์ปัง ๆ ในครอบครัว

Jan 12, 202231:03
EP 24 เปิดวาร์ปสายปาร์ตี้ สไตล์ Healthy ฉบับ 2022

EP 24 เปิดวาร์ปสายปาร์ตี้ สไตล์ Healthy ฉบับ 2022

ใกล้สิ้นปีเต็มที คุณพร้อมหรือยังกับปาร์ตี้คริสต์มาส-ปีใหม่ จะ drink drank drunk ให้ปังแบบ healthy ต้องสนุกอย่างมีสติ เลิกเข้าใจผิดว่าควรอดอาหารก่อนร่วมงาน เพราะอาหารจะช่วยรองท้องให้ไม่เมาง่าย ไม่หิวโหยจนหลุดเผลอรับประทานเกินลิมิตยามแอลกอฮอล์เข้าปาก วิตามินและเกลือแร่บางชนิด เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม สังกะสี มีรายงานว่าช่วยลดผลแย่ ๆ จากแอลกอฮอล์ต่อร่างกาย การดื่มคาเฟอีน ไม่ว่าจะกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังก่อนไปปาร์ตี้อาจทำให้ดีดจนลืมมึน แล้วเผลอดื่มเกินร่างกายจะรับไหว ใครดื่มจนร่วง ตื่นมาแฮงค์ในวันรุ่งขึ้น ให้นอนพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มน้ำหวาน น้ำผักผลไม้ที่มีน้ำตาล เพื่อชดเชยผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของแอลกอฮอล์

Dec 22, 202128:29
EP 23 ปลุกไฟรักให้ทัน Countdown

EP 23 ปลุกไฟรักให้ทัน Countdown

ไฟรักจะยั่งยืนหรือพังครืนอยู่ที่ความเข้าใจ เรื่องบนเตียงเป็นเรื่องของคนสองคน
ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดก็สะกิดนำบอกความต้องการของคุณให้คู่ของคุณรับรู้ได้ ปรับลีลากันไป เปลี่ยนบรรยากาศกันบ้าง เพราะเมื่ออยู่เป็นคู่ยังไงเซ็กส์ก็เป็นเรื่องสำคัญ หมั่นเติมรสรักให้กันทั้งบนเตียงและดูแลกันในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเมื่อใดใจพร้อมแต่กายไม่พร้อม อย่าลืมว่ายังมีแพทย์ที่พร้อมให้รับฟังและแก้ปัญหาให้ไฟบนเตียงของคุณกลับมาลุกโชนได้อีกครั้ง

Dec 08, 202122:34
EP 22 ปากเหม็น อย่าทนดมให้ขมคอ

EP 22 ปากเหม็น อย่าทนดมให้ขมคอ

ใส่หน้ากากอนามัยกันทุกวันแบบนี้ ถอดออกมาลมหายใจยังหอมสดชื่นกันหรือเปล่า กลิ่นปากไม่ใช่เพียงต้นเหตุของบุคลิกภาพที่ไม่น่าปลื้ม แต่ยังบ่งถึงความเจ็บป่วยของร่างกายและปัญหาในช่องปากได้อีกด้วย การทดสอบกลิ่นปากทำได้อย่างแม่นยำด้วยตัวเองด้วยการป้องปากแล้วพ่นลมหายใจออกมาแรงๆ การใช้น้ำยาบ้วนปาก จริงอยู่ที่สเปรย์ หรือลูกอมดับกลิ่นสามารถช่วยลดกลิ่นปากได้บ้าง แต่หากมีปัญหาในช่องปากหรือสุขภาพภายในจริง ปัญหาเหล่านั้นควรได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ ดังนั้นผู้มีสุขภาพดีทั่วไปควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อปากหอม ฟันแข็งแรง

Nov 24, 202122:50
EP 21 ปวดหัวแบบไหน... ใช่ไมเกรน

EP 21 ปวดหัวแบบไหน... ใช่ไมเกรน

ไมเกรนเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เสียงดังเกินไป แสงจ้าเกินไป หรืออาหารบางชนิดมากระตุ้นให้เกิดความปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง
อาการปวดหัว ไม่จำเป็นต้องเป็นไมเกรนทุกครั้ง มีการปวดที่เรียกว่า tension headache เกิดได้ถึง 80%-90% ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่โดนแดดแรง เครียด นอนดึก เล่นโทรศัพท์เยอะ เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการหดตัวกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก ทำให้สารในสมองผิดปกติ จริงๆ คนเราเกิด tension headache มากกว่าไมเกรนเสียอีกนะ
การสังเกตอาการไมเกรน เกิดจากปวดข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ร้าวไปที่กระบอกตา คลื่นใส้อาเจียน จนต้องหยุดทำกิจกรรม ปวดนานมากกว่า 4 ชั่วโมง หรือนานกว่า 2-3 วันเลยทีเดียว
คนไทยจะเกิดจากผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจริงหรือเปล่า ? แล้วคนที่เป็น office Syndrome จะปวดไมเกรนได้บ่อยกว่าจริงหรือไม่ ? คุณหมอยังแนะนำวิธีการรักษาตัว และการป้องกันจากโรคนี้ ไปฟังกันเลยค่ะ

Nov 10, 202120:28
EP 20 โรคกินไม่หยุด

EP 20 โรคกินไม่หยุด

โรคกินไม่หยุดเกิดขึ้นได้ ลองสังเกตได้จะมีอาการ หยุดกินไม่ได้ กินตอนไม่หิว กินรู้สึกแย่หรือผิด กินแล้วไม่ Happy ทั้งหมดนี้จะเกิดในระยะเวลา 2 ชม. อาการจะต้องเกิดทุกอาทิตย์ ติดต่อเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้มาพบคุณหมอได้เลย
ถ้าระหว่างกินแล้วสำราญ แล้วรู้สึกผิดที่หลัง ยังไม่ถือเป็นโรคนะคะ
โรคนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง ? อาจจะยีน พันธุกรรม มีความยึดติด หรือสารบางตัวในสมองเปลี่ยนไป ความเครียดเป็นแค่ตัวกระตุ้น คนที่เป็นแล้วส่วนใหญ่จะนำไปสู่โรคอ้วน ไม่ได้เอาออกเช่น ล้วงคอ หรือกินยาถ่าย

Oct 27, 202121:03
EP 19 พลิกวิธีคิดเมื่อชีวิตหมดไฟ

EP 19 พลิกวิธีคิดเมื่อชีวิตหมดไฟ

คนที่เป็น Burn out ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีความตั้งใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้ แต่ถ้าเราได้ทำอะไรที่แตกต่างจากเดิม เช่น ถ้าได้หยุดงาน หรืออยู่บ้านก็จะมีความสุข ถ้าเป็นระยะยาวจะนำพาไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ภาวะโรคซึมเศร้าจะมีความรู้สึกหดหู่ (Depress) สิ่งที่สนใจลดลง (Loss of Interest) แต่จะเป็นติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
คุณหมอแนะนำว่าสถานการณ์โควิดนี้ ทำให้เรากลายเป็นโรค Burn out ได้ เราสามารถปรับตัวเอง เปลี่ยนความคาดหวัง ไปพักผ่อน ปรับความคิดตัวเองได้ ยอมรับในความแตกต่าง ปรึกษากับผู้ที่ให้คำปรึกษาได้ ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น
คุณหมอมีคำแนะนำดีๆ อีกเยอะเลยค่ะ เพื่อเป็นพลังใจให้กับทุกๆคนในช่วงนี้

Oct 13, 202123:34
EP 18 อาหารช่วง Covid-19 ครบจบในที่เดียว

EP 18 อาหารช่วง Covid-19 ครบจบในที่เดียว

ความเชื่อที่ว่า กินเจ จะได้ไม่ติดโควิด นั้นแท้จริงแล้วไม่เป็นความจริงค่ะ ยังไม่มีงานวิจัย ขอให้กินครบหมู่ และกินอย่างสมดุล
โปรตีน 1 อุ้งมือ แป้ง 1 อุ้งมือ ไขมัน 1 หัวแม่โป้ง ผัก 1 กำ ผลไม้ 3-5 Serving เช่น แอปเปิ้ลวันละ 3 ลูก
คุณหมอยังแนะนำวิตามิน C วันละ 1000 มิลลิกรัม หรือทานจากอาหาร เช่น ผลไม่ตระกูลเบอรี่ ผักชี พริกหยวก ผักขม
วิตามิน D เพื่อเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว เช่น ปลาซาดีน ปลาทูน่า
ปลาแซลมอล กุ้ง นม ไข่ เต้าหู้
Zinc ช่วยให้หายจากหวัด เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ถั่ว นอกจากนี้คุณหมอยังตอบ คำถาม อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กาแฟต้านโควิดได้ไหม วุ้นสำรองบำรุงปอดจริงเหรอ แล้วอาหารพวกโยเกิร์ตช่วยป้องกันโควิดได้ไหม และอื่นๆ อีกมากมาย

Sep 22, 202125:42
EP 17 7 สิ่งต้องรู้ก่อนกักตัว Home Isolation

EP 17 7 สิ่งต้องรู้ก่อนกักตัว Home Isolation

หลังจากเราตรวจ ATK และไป confirm ด้วย RT-PCR แล้ว เราต้องกักตัว คุณหมอแนะนำก่อนอื่นต้องมีสติ พร้อม 7 สิ่งที่ต้องเตรียม คือ
1. สถานที่กักตัว แยกสัดส่วนชัดเจน
2. ยาประจำตัว ฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไอ ลดน้ำมูก
3. อุปกรณ์ตรวจร่างกาย ปรอทวัดไข้ ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว
4. อุปรณ์ในการดำรงชีวิตให้คลายเครียด
5. วิธีกำจัดขยะติดเชื้อ
6. เตรียมสุขภาพจิต
7. เตรียมร่างกาย
แล้วถ้าอาการแย่ลงต้องทำอย่างไร พร้อมกับถ้าในบ้านมีสัตว์เลี้ยง ต้องทำอย่างไร ไปพบคำตอบได้เลยค่า

Sep 08, 202119:19
EP 16 วัคซีนใจ How to ลดเครียดช่วงโควิด

EP 16 วัคซีนใจ How to ลดเครียดช่วงโควิด

ความเครียดไม่ใช่โรค มันเป็นปฏิกิริยาของทางจิตใจ เมื่อมีเรื่องมากระทบต่อจิตใจ เป็น Normal Reaction ที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถกำจัดมันได้จะกลายเป็นปัญหาด้านจิตใจในระยะยาว จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้
เราสามารถจัดการกับมันได้ โดยใช้ฟิวเตอร์ที่มีอยู่ในร่างกาย คือ สติ เป็นตัวที่ทำให้อารมณ์ต่างๆของเราลดลง ทำความเข้าใจ หรือเลือกที่จะเสพสื่อต่างๆ
สำหรับในช่วงโควิดแบบนี้ คุณหมอก็แนะนำให้ทำความเข้าใจในโรค คนที่ติดโควิดและคนรอบข้างรังเกียจ จริงๆ แล้วเค้าอาจจะกลัว ต้องศึกษาทำความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย
การมาพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องหน้าอายอีกต่อไป คุณหมอฝากบอกว่า บางคนอาจจะมีโรคทางจิตแพทย์ซ่อนอยู่ เรามาทำการ Re -Check มีบางเคสไม่รู้ตัวมาก่อนว่ามีปัญหาสุขภาพจิตซ่อนอยู่ก็เป็นได้ ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณหมอมีคำแนะนำ ที่ดีๆ อีกเยอะมากๆ ไปฟังกันเลยค่ะ


Aug 25, 202124:15
EP 15 การให้นมแม่ช่วงโควิด

EP 15 การให้นมแม่ช่วงโควิด

EP นี้ ขอต้อนรับวันแม่ในช่วงโควิดแบบนี้ ในเรื่องการให้นมแม่ช่วงโควิด
คุณแม่ไม่ต้องเครียดนะคะ คุณแม่ที่เป็นหรือไม่เป็นโควิด สามารถให้นมลูกได้
เพราะเชื้อโควิดไม่ผ่านทางน้ำนม แต่ให้เพิ่มความระมัดระวัง เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ใส่เฟสชิลด์ก่อนให้นม เช็ดทำความสะอาดเต้านม ล้างมือให้สะอาด
ส่วนเรื่องการรับวัคซีนโควิด แม่ท้อง 12 สัปดาห์ขึ้นไปก็ฉีดได้ และแม่ที่คลอดลูกแล้วก็ฉีดได้ ลูกจะได้รับภูมิไปด้วย
แต่กรณีแม่ต้องรักษาโดยการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือฟ้าทะลายโจร ยังไม่สามารถให้นมบุตรได้ต้องกินยาให้ครบคอร์ส และเว้นอีก 48 ชั่วโมง ถึงจะให้นมได้
สุดท้ายนี้มามอบกำลังใจให้แม่ๆ ทุกคนนะคะ โควิด-19 เราต้องผ่านไปให้ได้

Aug 11, 202115:03
EP 14 อนุมูลอิสระ ภัยเงียบช่วงโควิด

EP 14 อนุมูลอิสระ ภัยเงียบช่วงโควิด

อนุมูลอิสระไม่มีประโยชน์ !!!!!!! เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หัวใจ
เบาหวาน สมองเสื่อม มะเร็ง และความแก่ เกิดจากปัจจัยภายใน คือ ความเครียด เชื้อโรค ความเจ็บป่วย ภายนอก เช่น อาหาร แสงแดด
โดยเฉพาะช่วงโควิด เราต้องกำจัดมันออกไป …..
เพราะฉะนั้นเราต้องการสารต้านอนุมูลอิสระมายับยั้ง หาได้จากการกินอาหารที่เหมาะสม สลับกันไป ผักสีเขียว เหลือง ม่วง แดงขาว ผลไม้ โปรตีน แป้งเชิงซ้อน พวกข้าวกล้อง และหลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด ปิ้งย่าง แปรรูป
แล้วช่วยชะลอความแก่อย่างไร โดยการลดความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายของเรานั่นเอง
เราสามารถรู้ได้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายปริมาณเท่าไหร่จากการตรวจเลือด

Jul 28, 202120:38
EP 13 คุณรักผมไหม

EP 13 คุณรักผมไหม

‘ผมร่วง ผมบาง’ เป็นปัญหาที่ไม่จำกัดเพศและวัย ไม่ใช่ปัญหาของคนสูงอายุเท่านั้นเพราะผมบางตามพันธุกรรมพบได้ตั้งแต่อายุยี่สิบต้นๆ ขณะที่การมีลูกแต่ละคนสามารถทำให้คุณแม่มีปริมาณผมบนศีรษะลดลงได้ถึง 5% ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผมร่วงมีหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น โรคบางโรค ความเครียด ยาบางตัว การขาดสารอาหารต่างๆ หนังศีรษะอักเสบจากการสัมผัสกับสารเคมี หากคุณมีผมร่วงมากผิดปกติ การซื้อผลิตภัณฑ์ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมและกระตุ้นการสร้างผมใหม่ที่มีขายในท้องตลาดมาใช้ อาจไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น นั่นเป็นเพราะผลิตภัณฑ์อาจโฆษณาประสิทธิภาพเกินจริงหรือเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุด การรักษาผมร่วงมีหลายวิธี ตั้งแต่การรักษาด้วยยา เลเซอร์ และการปลูกผม ไม่อยากลองผิดลองถูกเอง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ‘ผม’ จะได้รักและอยู่กับคุณไปนานๆ

Jul 14, 202125:19
EP 12 ฟื้นฟูปอดเราต้องรอดหลังโควิด

EP 12 ฟื้นฟูปอดเราต้องรอดหลังโควิด

คุณอาจจะเคยได้ยินว่าถ้าใครเป็นโรคโควิด-19 แล้วปอดจะไม่สามารถกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม หรือโรคนี้เป็นครั้งเดียวแล้วจะไม่เป็นอีกตลอดชีวิต แต่ที่ “เขาว่า” กันนั้นมันจริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า? นพ. พิศิษฐ์ ด่านไทยนำ อายุรแพทย์ด้านโรคระบบทางเดินหายใจละภาวะวิกฤติมีคำตอบมาให้ พร้อมเคล็ดลับบริหารปอดให้แข็งแรงที่คนสุขภาพดีก็ทำได้ คนเพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 ก็ควรทำ โควิด-19 ก่อนเป็นก็ต้องป้องกัน เป็นแล้วก็ต้องรักษา ส่วนหายแล้วก็ต้องฟื้นฟู!

Jun 23, 202119:06
EP 11 รู้พร้อมก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

EP 11 รู้พร้อมก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติเริ่มต้นขึ้นแล้ว ประชาชนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนเพื่อลดโอกาสในการติด-ป่วยหนัก-ลดจำนวนวันในการอยู่
โรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิต แต่มีใครบ้าง เป็นโรคอะไรที่ยังไม่สามารถฉีดได้ ก่อนฉีดจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือไม่ ความแตกต่างของวัคซีนสองยี่ห้อ
ที่มีในเมืองไทยในปัจจุบัน อาการไม่พึงประสงค์ที่ควรเฝ้าระวัง ข้อควร-ไม่ควรปฏิบัติหลังฉีดวัคซีน และฉีดแล้วนานเท่าใดจะมีภูมิ ถ้านี่คือคำถามที่คุณมีในใจ หาคำตอบได้จาก พญ. สมรรจน์ ลิ้มมหาคุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อใน episode นี้

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Jun 09, 202118:58
EP 10 แก้ตรงจุด ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบดำ

EP 10 แก้ตรงจุด ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบดำ

รักแร้-ขาหนีบดำเป็นปัญหาหนักอกน่ากลุ้มของหนุ่มสาวหลายคน แต่รอยดำที่เกิดขึ้น อาจมีได้หลายสาเหตุ เช่น รักแร้ดำจากการแพ้อลูมิเนียมคลอไรด์ ซึ่งสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อลดกลิ่นตัว สีผิวเข้มจากกรรมพันธุ์ การรับประทานยาบางชนิด หรือเป็นโรคบางโรค เช่น โรคอ้วนและเบาหวานที่มีการดื้ออินซูลินร่วมด้วย การรักษารักแร้-ขาหนีบดำมีหลายวิธี ตั้งแต่การกำจัดสาเหตุของรอยดำ การใช้ยาทา ใช้กรดผลไม้ลอกผิว microdermabrasion และใช้เลเซอร์

May 26, 202118:45
EP 9 กินเสริม เติมวิตามินในยุคโควิด

EP 9 กินเสริม เติมวิตามินในยุคโควิด

กระแสเรื่องวิตามินกับโควิดกำลังเป็นที่ถกเถียงกันในโลก Social วิตามินตัวนี้กันโควิดได้ กินแล้วรักษาโควิดได้ EP นี้คุณหมอหนุ่ม นพ. ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท ไขข้อข้องใจกันชัดๆ
• วิตามินและสมุนไพรที่เขาว่ากันว่ากินเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ
• วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินดี วิตามินซี โอเมก้า 3 รวมถึงโพรไบโอติกและพรีไบโอติก มีส่วนช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง จริงหรือเปล่า
• ฟ้าทะลายโจรมีสาระสำคัญที่มีการศึกษาว่าสามารถลดอาการไข้ อาการปวดเมื่อย และลดการอักเสบของร่างกายได้ แต่ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ ใช่หรือไม่
• แล้วสร้างภูมิ ควรจะกินอย่างไร กินปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกับร่างกาย
• ใครอยากทราบวิธีดูแลตัวเองก่อนฉีดวัคซีนโควิด พลาดไม่ได้กับเคล็ดลับที่คุณหมอหนุ่มแชร์ให้ฟัง

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

May 12, 202128:29
EP 8 ผิวสวย หน้าใส ไร้ App

EP 8 ผิวสวย หน้าใส ไร้ App

อยากผิวสวย หน้าใส โดยไม่ต้องใช้ app เป็นจริงได้ด้วยการดูแลผิวอย่างถูกต้อง เริ่มจากการทาครีมกันแดดในปริมาณที่เพียงพอ ครีมกันแดดควรมีค่าทั้ง SPF ที่แสดงถึงการป้องกันได้ทั้งรังสียูวีบีที่เป็นสาเหตุของผิวคล้ำ/ผิวไหม้ และมีค่า PA ที่แสดงถึงการป้องกันรังสียูวีเอที่ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย ถึงแม้กระและฝ้าจะเกิดจากเม็ดสีผิวเหมือนกันแต่ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่มักขึ้นที่โหนกแก้มหรือทีโซน ขณะที่กระจะเป็นจุดเล็กๆ ในจุดที่สัมผัสกับแสงแดด การเกิดฝ้ามีได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมน ความร้อน และยาที่ใช้ ส่วนวิธีการรักษาฝ้าหลายวิธีที่สำคัญการรักษาฝ้าให้ได้ผลต้องรีบรักษาตั้งแต่เป็นใหม่ๆ และใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งใช้ยาทา ยารับประทาน เลเซอร์ ตามคำแนะนำของแพทย์

Apr 28, 202122:39
EP 7 โควิด-19 ระลอกใหม่ อยู่อย่างไรให้รอด

EP 7 โควิด-19 ระลอกใหม่ อยู่อย่างไรให้รอด

โควิดระลอกนี้มีความรุนแรงมากกว่าสองครั้งที่ผ่านมา กำลังโจมตีประเทศของเราอยู่ รัฐก็กำลังเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ใครที่ลังเลว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิดดีหรือไม่ จะทำให้แพ้หรือเปล่า พญ.สมรรจน์ ลิ้มมหาคุณ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคติดเชื้อ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท แนะนำว่าหากถึงคิวที่จะได้ฉีด ทุกคนควรรับวัคซีนโดยไม่ต้องลังเล เนื่องจากช่วยลดโอกาสในติดเชื้อได้ และถึงจะติดเชื้อวัคซีนก็ช่วยลดความรุนแรงของโรคให้เบาลง ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นทางรอดที่ไม่ใช่ทางเลือก เพราะประชากรโลกต้องได้รับวัคซีน 70% ขึ้นไปการระบาดจึงจะหยุดลงได้ วัคซีนที่ได้ 2 เข็มควรเป็นวัคซีนแบบเดียวกัน และควรฉีดห่างจากการฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 สัปดาห์

ผู้ที่มีความเสี่ยงในวง 1, 2 หรือ 3 จากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หากคุณเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงในวง 1 ซึ่งได้สัมผัสติดต่อกับผู้ป่วยโดยตรง ให้รอ 5 วันก่อนไปทำการตรวจเชื้อ และกักตัวให้ครบ 14 วันไม่ว่าการตรวจครั้งแรกจะพบเชื้อหรือไม่ หลังจากนั้นให้สังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการที่เข้าข่าย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ให้รีบตรวจซ้ำอีกครั้ง ขณะที่ผู้สัมผัสวง 2 และ 3 ยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ แต่ให้สังเกตอาการของตัวเองและป้องกันด้วยการใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆ กัน ซึ่งยังคงต้องปฏิบัติไปจนกว่าการระบาดของโรคจะหมดไป

เม้าท์สุขภาพกับหมอคุยกับหมอสมิติเวชsamitivejpodcast

Apr 14, 202119:55
EP 6 Safe ก่อน Surf Skate

EP 6 Safe ก่อน Surf Skate

กระแสการออกกำลังกายด้วย surf skate กำลังมาแรง เราจึงชวนคุณหมอเฉพาะทางมาคุยกันว่าเล่น surf skate อย่างไรให้เก๋ เท่ และปลอดภัย เริ่มด้วยอุปกรณ์ต้องพร้อมทั้งตัว surf skate ที่เหมาะกับรูปร่างและน้ำหนักของผู้เล่น อุปกรณ์ด้านเซฟตี้ก็ต้องมี จัดไปทั้งหมวกกันน็อค สนับเข่า สนับศอก รวมทั้งรองเท้าที่ควรเป็นรองเท้าผ้าใบพื้นแบนที่ยึดเกาะได้ดี มีการวอร์มอัพก่อนและคูลดาวน์หลังเล่น จะให้ดีควรมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีเล่นให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะบอกเลยว่าเห็นเล่นกันสนุกๆ แบบนี้เผาผลาญแคลอรี่ได้เยอะมาก นอกจากนั้นยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขณะเล่น ถ้าเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยให้พักและประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีอาการบวม อวัยวะผิดรูปไปจากเดิม หรือลงน้ำหนักไม่ได้ อย่าพยายามรักษาด้วยตัวเอง แต่ควรไปพบแพทย์ในทันท

Mar 24, 202118:36
EP 5 อยากสุขภาพดี ต้องนอนให้เป็น

EP 5 อยากสุขภาพดี ต้องนอนให้เป็น

การนอนที่ดีไม่ใช่นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนบางกลุ่มนอนไม่กี่ชั่วโมงก็เพียงพอ ขณะที่บางคนต้องการชั่วโมงพักผ่อนบนเตียงถึงหนึ่งในสามของเวลาแต่ละวัน นอกจากนั้นมนุษย์เรายังแบ่งเป็น early bird กับ night owl ซึ่งคุณหมอคอนเฟิร์มว่าไม่ได้เกิดจากนิสัย แต่เป็นเรื่องของร่างกาย

สาเหตุของการนอนกรน หยุดหายใจหรือสำลักขณะหลับคืออะไร จำเป็นต้องทำ sleep test ไหม ความเสี่ยงและแนวทางในการแก้ไขมีอะไรบ้าง 

สุดท้ายใครสายอุปกรณ์ต้องรู้ก่อนซื้อ ไม่ว่าจะ sleep tracker หรือเครื่อง CPAP เวิร์คจริงหรือเสียเงินเปล่าฟังคำตอบได้ใน EP นี้

Mar 10, 202126:55
EP4 Workout ให้เวิร์คจริงแบบไหนโดน

EP4 Workout ให้เวิร์คจริงแบบไหนโดน

เมื่อร่างกายต้องการสารอาหาร แต่วิถีการบริโภคของคนเราในปัจจุบันนอกจากสารอาหารแล้วเรามักจะได้โปรตีน ไขมัน น้ำตาล และแป้งเกินจากความต้องการของร่างกาย จนไปสะสมเป็นไขมันทั้งในและนอกเส้นเลือด นอกจากจะเลือกรับประทานให้เหมาะสมแล้ว มาฟังกันว่าเคล็ดลับในการออกกำลังกายแบบไหนที่เวิร์คจริง ในการป้องกันร่างกายจากโรคไม่ติดต่อยอดฮิตอย่างเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และช่วยรักษาหุ่นได้แบบโดนๆ จากการเม้าท์มอยร่วมกับ ดร. เบญจพล เบญจพลากร ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาและการออกกำลังกาย

Feb 24, 202126:31
EP3 หุ่นปังแม้ยัง WFH

EP3 หุ่นปังแม้ยัง WFH

อย่าให้กางเกงยางยืดเป็นอุปสรรคของการคงหุ่นสวยในช่วงโควิด ช่วงที่อยู่บ้านเยอะ นั่งแยะ และขยับร่างน้อยกว่าปกติ 

คุณหมอฝน พญ. จิตแข เทพชาตรี แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและแพทย์ผิวหนัง เม้าท์มันๆ ว่าลดแบบไหนดี แบบไหนง่ายมาก แบบไหนลำบาก จะ IF (intermittent fasting), Ketogenic, LCHF (low carb high fat), Vegan, Plant-based diet หรือยาฉีดลดน้ำหนัก EP นี้ ฟังได้ครบๆ ทุกวิธี แล้วจบที่หุ่นสวย

#เม้าท์สุขภาพกับหมอ # คุยกับหมอสมิติเวช #samitivejpodcast

Feb 10, 202126:58
EP 2 รักเก่าแต่เร่าร้อน

EP 2 รักเก่าแต่เร่าร้อน

รักที่ซาบซ่าน รักที่ถึงฝั่งฝันย่อมเป็นเป้าหมายในกิจกรรมรักของทุกคู่ แต่หากวันหนึ่งลมเพลมพัด ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียดโหมกระหน่ำ สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่โควิดสุดเฮี้ยว ทำให้อะไรๆ ที่เคยเสียวกลับเสื่อมลง มาฟังแพทย์เฉพาะทางแนะนำว่าอะไรที่จะทำให้กลับมาปั๋งกลับมาปังได้ อย่ารอให้ถึงวันเหี่ยว อย่าทนถ้าไม่เสียว แวะฟังตรงนี้เดี๋ยวเดียวแล้วเราจะพาคุณกลับสู่สังเวียน

Jan 28, 202125:26
EP1 วิตามินกินปัง vs กินพัง

EP1 วิตามินกินปัง vs กินพัง

ในยุคที่ไวรัสตัวน้อยล้อมเราไว้ทุกทิศ การกินวิตามิน เกลือแร่ หรือสารสกัดจากธรรมชาติช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริงหรือ บรรดาอาหารเสริมที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะขายออนไลน์หรือขายตามร้าน ตัวไหนกินแล้วปัง ตัวไหนกินแล้วพัง อยากกินให้เป๊ะ กินให้เหมาะกับตัวเองที่สุด ส่วนอยากรู้กันให้จังๆ ต้องเจาะเลือดพิสูจน์ว่าสารในร่างกายตัวไหนขาด ตัวไหนเกิน เพราะร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน

Jan 13, 202124:38
EP 41 ลูกไม่ก้าวร้าว เริ่มได้ที่พ่อแม่

EP 41 ลูกไม่ก้าวร้าว เริ่มได้ที่พ่อแม่

เหมาะกับครอบครัวที่มีลูกวัย: 2-7 ปี 

คุณพ่อโอ๊ต วรวุฒิ นิยมทรัพย์ และคุณแม่จีน่า อันนา ชวนคุย ชวนถามเรื่องพฤติกรรมของลูกเล็กๆ วัยก่อนเข้าโรงเรียน ทำอย่างไรลูกจึงจะให้ความร่วมมือในการทำกิจวัตรประจำวัน การสอนให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์และหัดควบคุมอารมณ์ของตัวเอง พร้อมคำแนะนำจากกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ในการใช้เทคนิคเลี้ยงลูกเชิงบวก

Dec 23, 202023:27