Skip to main content
SNC Library Podcast

SNC Library Podcast

By Sanamchandra Palace Library

รายการวิทยุออนไลน์ที่จะ ร้อยเรียง สาระ 1000 เรื่องราว สรรหามาเล่า โดย หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

SNC Library Podcast, an online radio, proud to present a variety of stories by Sanamchandra Palace Library. Silpakorn University, Thailand
Available on
Google Podcasts Logo
Overcast Logo
Pocket Casts Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

เรือแววมยุรา กับงานโบราณคดีใต้น้ำ

SNC Library PodcastFeb 25, 2023

00:00
19:06
เรือแววมยุรา กับงานโบราณคดีใต้น้ำ

เรือแววมยุรา กับงานโบราณคดีใต้น้ำ

ภารกิจ unseen ของเรือลำหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกขานอย่างลำลองอันไพเราะว่า แววมยุรา และมีชื่อเป็นทางการว่า เรือโบราณคดีใต้น้ำ อันมีภารกิจสำคัญคือ ประจำการเพื่อสำรวจและ
ขุดตรวจแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ และโดยที่มนุษย์เรานั้นมักเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมอันหลากหลายผ่านโบราณวัตถุ ซึ่งมีมากมายบนผืนแผ่นดินของโลกใบนี้ แต่หากเราจะได้พิจารณาในสัดส่วนของผืนน้ำที่มีอยู่มากกว่าผืนดินเกือบ 2 เท่าตัวแล้วนั้น ก็จะพบว่าวัตถุสิ่งของ สิ่งก่อสร้าง ในอดีต มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่จมอยู่ใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการค้นหาของเก่าที่ทรงคุณค่าบนบกหรือในดิน มาทำความรู้จักงานปิดทองใต้ผืนน้ำ ที่อาจมีความรับรู้เพียงในสังคมวงจำกัด ดุจเดียวกับงานปิดทองหลังพระกันค่ะ

ขอบคุณข้อมูล

- เรื่อง โบราณคดีใต้น้ำ : รู้จักภารกิจการสำรวจประวัติศาสตร์ใต้ผืนน้ำผ่าน ‘เรือแววมยุรา’
โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ 4 เมษายน 2562
จาก
https://becommon.co/culture/explore-underwater-archaeology/

- เรื่อง โบราณคดีใต้น้ำ : ‘แหล่งเรือจมโบราณ’ มรดกทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่า
โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ 23 พฤษภาคม 2562
จาก https://becommon.co/culture/underwater-archaeology-ancient-ship/

Feb 25, 202319:06
น้องดอม หมูป่าฯ เสียชีวิตที่โรงเรียนฟุตบอล: SNC Library Podcast S4 Eps.141

น้องดอม หมูป่าฯ เสียชีวิตที่โรงเรียนฟุตบอล: SNC Library Podcast S4 Eps.141

ถ้ำหลวง หรือ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึกมาก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย มีความยาวถึง 10.3 กิโลเมตร ซึ่งก่อนหน้านั้นถ้ำแห่งนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก กระทั่งเกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญที่ย้อนเวลากลับไปราว 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถนายน 2561 ที่มีเยาวชนทีมฟุตบอลแม่สาย ชื่อว่า "หมูป่าอะคาเดมี" ไปติดอยู่ในถ้ำ เพราะเกิดฝนตกอย่างหนักทำให้น้ำท่วมปิดปากถ้ำขณะที่พวกเขาอยู่ภายใน จนเกิดปฏิบัติการช่วยชีวิตที่ซับซ้อนและอันตรายที่สุดครั้งหนึ่งที่โลกต้องจดจำ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและนานาชาติ ต่างระดมสรรพกำลังในทุก ๆ วิถีทาง โดยมีชีวิตของเยาวชนทั้ง 13 คนเป็นเดิมพัน บนเงื่อนไขของการมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในการกู้ภัยนั้น และในที่สุดทั้ง 13 ชีวิต ก็รอดออกมาจากถ้ำราวปาฏิหาริย์ แต่แล้วปี 2566 อันนับย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ของเหตุการณ์ ขณะที่น้องดอม หรือ นายดวงเพชร พรหมเทพ หนึ่งในสมาชิกของทีมหมูป่าวันนั้น กำลังก้าวตามความฝันที่เป็นจริง ด้วยการได้รับมอบทุนการศึกษาและได้เข้าเรียนที่โรงเรียนฟุตบอลบรูก เฮาส์ คอลเลจ ฟุตบอล อะคาเดมี (Brooke House College Football Academy) ที่เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ มัจจุราชก็ได้มาพรากเขาไปจากพ่อแม่อย่างไม่มีวันกลับ เมื่อเพื่อนของเขาพบว่าเขาหมดสติในหอพักและถูกนำส่งโรงพยาบาล โดยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนับแต่แรกเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ กระทั่งแพทย์ตัดสินใจถอดเครื่องช่วยหายใจในวันแห่งความรักอันสุดแสนจะใจสลายสำหรับพ่อและแม่ และไม่ว่าสิ่งนี้จะถูกกำหนดมาแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอให้ดวงวิญญาณของน้องเดินทางไปสู่ยังภพภูมิที่ดี

ขอบคุณข้อมูล
- ซิโก้ เผย รพ. แจ้งอาการดอม "หายใจอ่อนไม่ตอบสนอง" หลังหมดสติที่โรงเรียนในอังกฤษและรักษาตัว 2 วัน ก่อนเสียชีวิต
โดย ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล และเอกรินทร์ บำรุงภักดิ์, ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เผยแพร่เมื่อ:  15 กุมภาพันธ์ 2023
ทาง https://www.bbc.com/thai/articles/cxe30gmrldko

- ถ้ำหลวง : สัมภาษณ์พิเศษ เวอร์นอน อันสเวิร์ธ 1 ปีหลังภารกิจกู้ภัยที่โลกต้องจดจำ
โดย แมตธิว ไพรซ์ และ เซเรน โจนส์ ในรายการพ็อดคาสท์ BBC Beyond Today
เผยแพร่เมื่อ:  23 มิถุนายน 2019
ทาง https://www.bbc.com/thai/thailand-48724552

Feb 17, 202335:51
ทับแก้ว Bookfair ครั้งที่ 15: SNC Library Podcast S4 Eps.140

ทับแก้ว Bookfair ครั้งที่ 15: SNC Library Podcast S4 Eps.140

หากจะกล่าวถึงงานหนังสือในส่วนภูมิภาค เชื่อว่างานทับแก้วบุ๊คแฟร์ มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ งานหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จะเป็นหนึ่งในใจของประชาชนในพื้นที่นครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง การจัดงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์” มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 ในปีนี้จะจัดขึ้น วันที่ 6-12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-20.30 น. การจัดงาน ทับแก้วบุ๊คแฟร์ นั้น ริเริ่มขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2550 ด้วยความทุ่มเท ลองผิด ลองถูก ภายใต้ “ธงเดียวกัน” คือ ทำยังไงก็ได้ ให้งาน ดี โดยเราจะก้าวเดินและเติบโตไปด้วยกัน

การจัดงานนับแต่ขวบปีเริ่มต้น จนเข้าสู่วัยรุ่นทีนเอจในปีนี้ ซึ่งหากไม่ว่างเว้นไป 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เราจะมีอายุถึง 17 ปี ย่างใกล้เข้าวัยบรรลุนิติภาวะเต็มที แต่แม้จะต้องถอยวัยลงไป เราก็ยังคงมุ่งมั่นในการนำเสนอสิ่งดี ๆ เพื่อเป็นบริการวิชาการแก่ชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต ดังวิสัยทัศน์และนโยบายของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เชิญรับฟังเบื้องลึก เบื้องหลัง ความเป็นมาของการจัดงานทับแก้วบุ๊คแฟร์” มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ และรายละเอียดของกิจกรรมภายในงานตลอด 7 วัน ในปี 2566 นี้

.
ขอบคุณเพลงนำรายการ "Romance - Kiratinant Sodprasert”
บรรเลงและเผยแพร่โดย Kiratinant Sodprasert
เผยแพร่ทาง
https://youtu.be/B2Etr_Ia3aI

Feb 04, 202322:48
ก๋วยเตี๋ยว เมนูยอดฮิตยุครัฐนิยม: SNC Library Podcast S4 Eps. 139

ก๋วยเตี๋ยว เมนูยอดฮิตยุครัฐนิยม: SNC Library Podcast S4 Eps. 139

“ก๋วยเตี๋ยว” หรือ “ก๊วยเตี๋ยว” เป็นคำภาษาจีนแต้จิ๋วที่คนไทยมักออกเสียงเรียกเช่นนั้น หากชาวแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า  “ก้วยเที่ยว”  ซึ่งหมายถึง อาหารประเภทเส้นที่ทำมาจากแป้งนึ่ง ความเป็นมาของก๋วยเตี๋ยว สันนิษฐานว่าอาจจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในช่วงเวลานั้นไทยเป็นศูนย์กลางหรือทางผ่านทางการค้า มีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักตั้งถิ่นฐาน ทำการค้าเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนผสมผสานวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งก๋วยเตี๋ยวอาหารของชาวจีนที่ชาวสยามเริ่มรู้จักก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก
กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ด้วยความที่ท่านชื่นชอบในรสชาติของก๋วยเตี๋ยว จึงสถาปนาก๋วยเตี๋ยวให้เป็นอาหารที่คนไทยควรกิน เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำง่าย กินง่าย ทั้งยังเป็นกุศโลบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวยากหมากแพงก๋วยเตี๋ยวจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีการระดมโฆษณาให้คนหันมากิน จนถึงกับมีการแต่งเพลงรณรงค์ให้ประชาชนกินก๋วยเตี๋ยว อาหารเส้นของชาวจีนชนิดนี้จึงแทรกซึมไปทุกหย่อมหญ้าของเมืองไทยนับแต่บัดนั้นมาจนทุกวันนี้

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
ชวนาท อินทวงศ์. (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563). ก๋วยเตี๋ยวไทยสมัยก่อน. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, 10 (55), หน้า 6-7.
ฉบับออนไลน์ เข้าถึงทาง
https://www.fapot.or.th/assets/upload/newsmail/1582002163_2030638739@2x.pdf

ขอบคุณเพลงนำรายการ
"เพลงก๋วยเตี๋ยว ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม”
เผยแพร่โดย Wartime Asia เมื่อ 21 ม.ค. 2021
เผยแพร่ทาง https://youtu.be/lwni9L13-I8

Jan 28, 202319:58
ข้างชามข้าวมีอะไร: SNC Library Podcast S4 Eps. 138

ข้างชามข้าวมีอะไร: SNC Library Podcast S4 Eps. 138

จากแรงมาเป็นรวง และกว่าที่ข้าว 1 รวงจะแปลงมาสู่คนกินนั้น มีทั้งเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีที่แฝงอยู่ และในวัฒนธรรมการรับประทานข้าวของพี่น้องไทยเชื้อสายจีนนั้น ก็มีหลากเรื่องราวแฝงอยู่ข้างชามข้าวไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำที่เรามักได้ยินชาวจีนไถ่ถามทักทายกันจนเป็นคำเคยชิน "เจี่ยะ ปึ่ง บ่วย" แปลเป็นไทยได้ว่า "กินข้าวหรือยัง" แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกห่วงใยผ่านสายสัมพันธ์บนเมล็ดข้าวในชาม คำว่า "จ่อสัว" หรือ "เจ้าสัว" ซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติว่าคำ ๆ นี้ เพี้ยนจาก "เจ้าขรัว" อันเป็นคำโบราณของไทยหรือไม่ เพราะยังไม่มีหลักฐานพบว่ามีคำนี้ใช้ในประเทศจีน แต่หากจะกล่าวถึงเจ้าสัวชาวจีนแล้ว เจ้าสัวค้าข้าวก็มักเป็นคำเรียกที่เราคุ้นเคย ของพ่อค้าชาวจีนผู้มีฐานะจากการค้าขายข้าว หรือ หากจะกล่าวถึงคำ "ซานเหวยฝานฉวน" ซึ่งแปลว่าสำเภาจีนนั้น ภาพของชาวจีนโพ้นทะเล ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบโล้สำเภาฝ่าคลื่นลมมายังสยามประเทศ ก็นับเป็นฉากชีวิตที่เราคุ้นชิน และสำเภาจีนนั้นในอดีตก็นับเป็นพาหนะสำคัญด้านการค้า ที่เจ้าสัวหลายตระกูลในเมืองไทยต่างเติบโตแรกเริ่มจากธุรกิจค้าข้าว และคำแห่งยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนบทบาทจากสถานที่พักเก็บสินค้า จุดแปรรูปและส่งต่อสินค้าไปยังแหล่งค้าขาย กลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและบันเทิงในยุคปัจจุบันอย่าง "ล้ง" หรือ โกดังสินค้า ที่ในอดีตริมฝั่งเจ้าพระยาแห่งเมืองบางกอก ทั้งสองฝากแม่น้ำล้วนเรียงรายไปด้วยล้งตลอดแนวลำน้ำ ที่มีผู้คนหลากชีวิตต่างฐานะมาอยู่รวมกัน ตั้งแต่จับกังผู้ใช้แรงงานแบกข้าวสารขึ้นลงเรือสินค้าลำแล้วลำเล่า ไปจนถึงเถ้าแก่โรงสี เจ้าสัวค้าข้าว สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ได้อยู่โดยตรงในชามข้าว ก็ล้วนแล้วแต่แฝงเรื่องราวเกี่ยวพันกับ "ข้าว" ซึ่งแม้จีนกับไทยจะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนกัน แต่ในความเหมือนนั้นก็ยังมีความต่าง และสิ่งหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือ อุปกรณ์ในการรับประทานข้าว ที่เมื่อพ้นผ่านยุคสมัยเปิบข้าวด้วยมือ คนไทยก็หันมาใช้ช้อนตามอย่างชาวตะวันตก ขณะที่ชาวจีนมีอาวุธคู่ชามข้าว คือ ตะเกียบ อันทรงพลังในความเป็นคู่แห่งหยินและหยาง อีกทั้งยังแฝงไว้ด้วยเรื่องราวอันน่าสนใจภายใต้ไม้ยาวทั้งสองนี้ ชวนมาติดตามกันค่ะ

ขอบคุณข้อมูล
- คำจีนในชามข้าว
โดย www.salana.co.th เผยแพร่เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562
ทาง
https://www.salana.co.th/blog3-detail.php?id=18

- ท้าวทอง เสียมหลอ. (2535, สิงหาคม). ความเป็นมาของตะเกียบ. ศิลปวัฒนธรรม, 13(10), 102-103.

ขอบคุณเพลงนำรายการ
เพลง ตรุษจีน
เผยแพร่โดย คุณพระช่วย เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2019
ทาง https://youtu.be/ApSLnexM4L0

Jan 18, 202330:06
10 การ์ตูน จินตนาการแห่งโลกวัยเยาว์: SNC Library Podcast S4 Eps. 137

10 การ์ตูน จินตนาการแห่งโลกวัยเยาว์: SNC Library Podcast S4 Eps. 137

สวัสดีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ในวัยเยาว์เชื่อว่าไม่มีใครปฏิเสธว่าการ์ตูนเป็นเสมือนโลกของเด็กน้อยทุกคน ครอบครัวไม่น้อยต่างเปิดทีวีรับอรุณในวันหยุดให้ลูกน้อยได้เฝ้าดู ผ่านหน้าจอตู้สี่เหลี่ยมในอดีต จวบจนมาถึงยุคจอแบนผืนผ้ากว้างยาวต่างกันไปตามเศรษฐกิจของครัวเรือน กระทั่งถึงอุปกรณ์พกพาขนาดและรูปแบบต่าง ๆ กันไป การดูการ์ตูนนั้นสามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสมองให้กับเด็กน้อยได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องเลือกการ์ตูนให้เหมาะสมกับช่วงวัย มีเนื้อเรื่องที่เป็นประโยชน์เหมาะสม ทั้งในแง่ของการเสนอเนื้อหาตลอดจนถ้อยคำที่เหมาะสมกับเด็ก รวมไปถึงรูปภาพการ์ตูนที่สวยงาม คมชัด ลายเส้นสวยชวนดู เพื่อเสริมพัฒนาการทางสมอง ตลอดจนช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต เกิดการเรียนรู้ เกิดความอิ่มเอมด้วยสุนทรียะในเชิงศิลปะที่สร้างสรร
มาติดตามกันค่ะ ว่าการ์ตูนสำหรับเด็ก 10 เรื่อง ที่เผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นช้องทางคลาสสิคคือทีวี อย่างเจ้าแมวสีฟ้าตัวกลมหัวกลม ที่มาพร้อมกระเป๋าวิเศษ โดราเอมอน ที่เคยเผยแพร่ทางทีวีช่อง 9 และการ์ตูนยุคออนไลน์ที่เผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะทาง YouTube เรื่อง Peppa Pig เรื่อง Thomas and Friends เรื่อง Pocoyo ทาง Boomerang ช่องออนไลน์ขวัญใจเด็กน้อย เรื่อง หนอน Larva เรื่อง My Little Pony ทางช่อง Netflix ช่องออนไลน์ที่กำลังมาแรง เรื่อง Strawberry Shortcake Berry Bitty Adventures ช่อง Family ออนไลน์ของครอบครัว เรื่อง The Adventures of Chuck & Friends หรือช่อง doonee.com เรื่อง Yo Gabba Gabba และ พี่สมาร์ท โลมาเจ้าปัญญา ผ่านทาง www.penta.center/th/channelplay/12951-P-SMART มีทีเด็ดน่าสนใจและชวนติดตามอย่างไร

ขอบคุณข้อมูลต้นทาง
10 การ์ตูนสำหรับเด็ก มีประโยชน์ พัฒนาสมอง
โดย เว็ปไซต์หัวปูด เผยแพร่เมื่อ 4 มีนาคม2021
ทาง
https://www.huapood.com/ความรัก/ครอบครัว/ลูก/10-การ์ตูนสำหรับเด็ก-มีประโยชน์-พัฒนาสมอง/

ขอบคุณเรื่องนำทาง
10 การ์ตูนสำหรับเด็ก มีประโยชน์ พัฒนาสมอง
โดย เว็ปไซต์ kidzooona
ทาง https://aeonfantasy.co.th/10-การ์ตูนสำหรับเด็ก-มีประโยชน์-พัฒนาสมอง/

ขอบคุณเพลงนำรายการ
ความเยาว์ (Youth) - The Darkest Romance (Official MV)
เผยแพร่โดย Gene Lab เมื่อ 27 ธันวาคม 2019
ทาง https://youtu.be/Sf5mV6KYSss

Jan 14, 202336:38
คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมัน เข้ามารับราชการในราชสำนักสยามถึง 2 แผ่นดิน และแม้เขาจะอยู่ในเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 7 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2449 – 2556 ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขาก็ได้ฝากผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ให้กับแผ่นดินสยามหลายแห่ง อาทิ ร่วมงานก่อสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) พิษณุโลก พิจิตร และอุตรดิตถ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้มีความโดดเด่นเป็นพิเศษตรงรูปแบบที่ผิดแปลกไปจากอาคารอื่น ๆ ในประเทศไทยสมัยนั้น เช่น สถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) สร้างในรูปแบบของศิลปะเอ็กซ์เพรสซันนิสต์ที่เน้นการใช้อิฐ ขณะที่สถานีรถไฟพิษณุโลก ที่มีลักษณะคล้ายบ้านไม้ทางตอนใต้ของเยอรมนี ที่เรียกว่า Fachwerkhaus ซึ่งเป็นบ้านที่มีลักษณะเด่นคือ ใช้ไม้ขนาดใหญ่เป็นโครงค้ำยันส่วนของผนังบ้าน นอกจากการสร้างอาคารสถานีรถไฟต่าง ๆ แล้ว ยังมีผลงานการสร้างอาคารอื่น ๆ โดยเฉพาะวังที่สำคัญและสวยงาม อาทิ พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) ซึ่งเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูฝนของรัชกาลที่ 5 วังวรดิศ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วังของพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ปัจจุบัน คือ ที่ทำการการไฟฟ้านครหลวง สามเสน และพระตำหนักสมเด็จฯ ในบริเวณวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นพระตำหนักของพระนางสุขุมาลมารศรี เป็นต้น ผลงานซึ่งคาร์ล เดอห์ริง ฝากไว้ในแผ่นดินสยาม ไม่เฉพาะเพียงผลงานด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น เขายังเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดี ที่อุทิศตนให้กับงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลป์ของสยามอีกด้วย ประจักษ์พยานสำคัญ ในด้านนี้คือหนังสือ เรื่อง “ศิลปะและหัตถศิลป์ในสยาม” ซึ่งคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2565 พร้อมจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิคส์ไฟล์ หนังสือเล่มนี้มีบริบททางประวัติศาสตร์ มีความสำคัญ และน่าสนใจ เชิญท่านที่สนใจติดตามการเผยแพร่ต่อไปค่ะ

Jan 07, 202332:37
COUNTDOWN 2023: SNC Library Podcast S3 Eps. 135

COUNTDOWN 2023: SNC Library Podcast S3 Eps. 135

วันที่ 31 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ช่วงเวลาของคืนข้ามปีนั้นนับเป็นเวลาที่หลาย ๆ คนรอคอย เพื่อจะได้ร่วมเฉลิมฉลองบรรยากาศการนับถอยหลัง 5 4 3 2 1 และก้าวเข้าสู่วันใหม่ ของปีใหม่ และบรรยากาศของการ COUNTDOWN ก็นับเป็นกิจกรรมที่ผู้คนต่างให้ความสนใจเข้าร่วม วันนี้พี่พร้อมนำพิกัดงาน COUNTDOWN ส่งท้ายปีเสือ 2565 ต้อนรับปีกระต่าย 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 แห่ง คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ไอคอนสยาม สามย่านมิตรทาวน์ Emporium Emquartier เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ Mega (บางนา) และ Siam Paragon มาฝาก และขออวยพรให้ท่านผู้ฟังทุกท่านมีความสุขกับบรรยากาศส่งท้ายปี ตลอดจนมีความสุข ประสพความสำเร็จที่ปรารถนาในสิ่งดีงามทุกประการค่ะ 
...

ขอบคุณข้อมูล
- “สรุปไฟคริสมาสต์ 2023 มีที่ไหนบ้างดูพิกัดส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่นี่”
โดย ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อ 20 พ.ย. 2565
จาก
https://www.thansettakij.com/business/547762

- “เคาท์ดาวน์ปีใหม่ 2023 รวมพิกัดสถานที่ในกทม. ต้องไม่พลาดไปเช็คอิน”
โดย TNN online เมื่อ 31 ธันวาคม 2565
จาก https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/133326/

ขอบคุณเพลง
“รวมเพลงชีวิตดี ปีใหม่”  โดย GMM GRAMMY OFFICIAL
จาก https://www.youtube.com/watch?v=adTdhzKpfqo&ab_channel=GMMGRAMMYOFFICIAL

Dec 31, 202240:28
Christmas: SNC Library Podcast S3 Eps. 134

Christmas: SNC Library Podcast S3 Eps. 134

เชิญท่านผู้ฟังดื่มด่ำกับเสียงเพลงแห่งความสุขพร้อมประวัติความเป็นมาของวันคริสต์มาส วันเวลาของเทศกาลปลายปีที่หลาย ๆ คนตั้งตารอคอยความตื่นตาของการจัดต้นคริสต์มาสสุดอลัง การประดับไฟที่สวยงาม ตลอดจนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่อบอวลไปด้วยช่วงเวลาของความสุข ทำไมชาวคริสต์มีกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม คริสต์มาสอีฟ (Christmas Eve) คืออะไร วันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งถือเป็นวันคริสต์มาส คืออะไร วันสำคัญทั้ง 2 แตกต่างกันอย่างไร ชาวคริสต์ทำอะไรกันบ้างในเทศกาลนี้ เค้าเฉลิมฉลองเทศกาลในฤดูหนาวนี้กันอย่างไรเชิญติดตามค่ะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
จาก บอร์ดสารสนเทศ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครปฐม

ขอบคุณเพลงประกอบ
โดย Christmas Songs and Carols - Love to Sing
จาก
https://www.youtube.com/@christmassongsandcarols

Dec 24, 202234:26
English from songs 2: SNC Library Podcast S3 Eps.133

English from songs 2: SNC Library Podcast S3 Eps.133

ฟังบทเพลงไพเราะ พร้อมเรียนรู้ภาษาอังกฤษตอนที่ 2 สำหรับท่านที่ชื่นชอบการฟังเพลง และชื่นชมผลงานของจิตรกรเอกคนหนึ่งของโลก Vincent Van Gogh มาติดตาม
เบื้องหลังบทเพลง Vincent โดย Don McLean ผ่านชีวิตอันเดียวดายของศิลปินท่านนี้ หรือหากท่านใดกำลังมองความหมายของคำว่า...มิตรแท้...มาค้นหาความหมายดี ๆ ของความเป็นเพื่อนจากบทเพลง Bridge Over Troubled water โดย Paul Simon & ‎Art Garfunkel กันค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2518). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.
พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2519). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.

ขอบคุณเพลงประกอบ
Don McLean - Vincent ( Starry, Starry Night) With Lyrics
เผยแพร่โดย wysty67  ทาง
https://youtu.be/oxHnRfhDmrk

Simon & Garfunkel - Bridge Over Troubled Water (Audio)
เผยแพร่โดย Simon & Garfunkel  ทาง https://youtu.be/4G-YQA_bsOU

ขอบคุณภาพประกอบ จากเพลงประกอบ Vincent

Dec 17, 202236:58
English from songs: SNC Library Podcast S3 Eps. 132

English from songs: SNC Library Podcast S3 Eps. 132

ภาษาอังกฤษนับเป็นภาษาสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วโลก การเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี การเรียนอังกฤษจากเพลงก็เป็นวิธีหนึ่งที่เชื่อว่าหลาย ๆ คน ที่ชื่นชอบการฟังเพลง จะมีความสุขพร้อมไปกับการพัฒนาทักษะทางภาษา ซึ่งจะได้ทั้งในส่วนของการฟัง การร้อง และความหมาย ทั้งนี้ การฟังอย่างเข้าใจนั้นย่อมเพิ่มอรรถรสในการฟังเป็นอย่างยิ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก
พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2518). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.

ขอบคุณภาพประกอบจาก
พนม วรรณศิริ และคนอื่นๆ. (2519). English from songs เรียนอังกฤษจากเพลง เล่ม 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จักรานุกูลการพิมพ์.

ขอบคุณเพลงประกอบ
El Condor Pasa - Paul Simon & Garfunkel
เผยแพร่โดย arqags79 ทาง
https://youtu.be/QqJvqMeaDtU
Daisy Bell (1892)
เผยแพร่โดย Sheet Music Singer ทาง https://youtu.be/_kd-xg2VZnk

Dec 10, 202238:27
องค์พระ…ทำไมมีรู : SNC Library Podcast S3 Eps. 131

องค์พระ…ทำไมมีรู : SNC Library Podcast S3 Eps. 131

เคยสังเกตหรือไม่ว่า บริเวณส่วนรอบ ๆ องค์ระฆังของพระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม มีรูกลม ๆ ที่ถูกเจาะไว้โดยรอบ แล้วสงสัยกันหรือไม่ว่าเจ้ารูกลมเหล่านั้นมีไว้เพื่อการใด

มาตามหาที่มาของรูกลมปริศนานี้กัน หลายปีมาแล้วคุณตาสุข ทองดี อดีตผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์ (พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ด้านบนบริเวณลานชั้นลดทางทิศตะวันออก) คุณตาเล่าให้ฟังว่าสมัยยังหนุ่มตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณตาเคยปีนเอาทางมะพร้าวไปคลุมองค์พระเพื่อพรางตาจากเครื่องบินรบไม่ให้องค์พระโดนทิ้งระเบิด การพูดคุยกับคุณตาในวันนั้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่า...องค์พระเจดีย์มีขนาดใหญ่และสูงมากจะปีนขึ้นไปได้อย่างไร?

ต่อมาเมื่อได้ค้นหาเอกสารเกี่ยวกับการบูรณะพระปฐมเจดีย์ พบว่ามีหนังสือราชการจากพระธรรมสิริชัย เจ้าอาวาสขณะนั้นมีไปถึงบุคคลต่าง ๆ เพื่อเชิญมาร่วมประชุมหารือการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 โดยเนื้อหากล่าวถึงรายละเอียดของการชำรุดในส่วนต่าง ๆ และกล่าวถึงเรื่องการเจาะรูองค์พระโดยรอบเพื่อทำนั่งร้านโดยช่างชาวไทย 

นอกจากนี้พบคำให้สัมภาษณ์ของนายประเวศ  ลิมปรังษี ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะสำรวจของกรมศิลปากร เมื่อครั้ง พ.ศ. 2509 กล่าวถึงเรื่องการเจาะรูว่า แรงงานนักโทษเป็นผู้เจาะเพื่อใส่ซุงสำหรับปีนแขวนทางมะพร้าวคลุมพระเจดีย์พรางตาเครื่องบินทิ้งระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับคำบอกเล่าของคุณตาสุข

มีเรื่องราวอะไรภายใต้รูกลม ๆ มาติดตามกันค่ะ

Dec 03, 202219:38
พระตำหนักสวนนันทอุทยาน ที่นครปฐม: SNC Library Podcast S3 Eps. 130

พระตำหนักสวนนันทอุทยาน ที่นครปฐม: SNC Library Podcast S3 Eps. 130

พระราชวังสนามจันทร์ มิใช่ที่ประทับเพียงแห่งเดียวที่เมืองนครปฐม แม้จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น ก็ยังมีพระตำหนักสำคัญที่ทรงโปรดเกล้าฯ ใช้ประทับแรม
อีกแห่งหนึ่งในช่วงปลายรัชสมัย คือ พระตำหนักสวนนันทอุทยาน เรื่องราวของพระตำหนักแห่งนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง เหตุใดจึงทรงโปรดที่จะใช้ประทับแรม นานนับเดือนในช่วงปลายรัชกาล ณ ที่แห่งนี้ เชิญติดตามรับฟังค่ะ

Nov 26, 202201:03:49
มีอะไรใน APEC 2022: SNC Library Podcast S3 Eps. 129

มีอะไรใน APEC 2022: SNC Library Podcast S3 Eps. 129

การประชุม APEC 2022 หรือชื่อเต็มๆ ว่า Asia-Pacific Economic Cooperation มีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก เป็นเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญระดับโลก มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ความร่วมมือด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ มีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น และปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ช่วงเวลาสำคัญของการประชุมที่ไทยเป็นเจ้าภาพตลอดปี 2022 นี้ ไฮไลท์ของงานที่คาดว่าอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป เห็นจะเป็นการประชุมรัฐมนตรีเอเปก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งมีการจัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรสในช่วงค่ำ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดกิจกรรม “Vijit CHAO PHRAYA” ปรากฎการณ์แห่งแสงสีสุดยิ่งใหญ่สร้างสีสันริมแม่น้ำเจ้าพระยายามต้อนรับ อีกทั้งงานเลี้ยงรับรองอันพิถัพิถันมีผู้ดูแลจัดอาหาร ระดับร้านอาหาร Michelin Star 2 ดาวในไทย ที่ทุกเมนูได้คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสูงมาจากทั่วประเทศ 100% ตั้งแต่เชียงใหม่ถึงเบตง ด้วยแนวคิดการออกแบบอาหารค่ำ “Sustainable Thai Gastronomy Gala Dinner” ที่รังสรรเมนูอาหารทุกจานตามแนวคิดหลักของการประชุม Open Connect Balance และสิ่งสำคัญอีกประการ คือ การกำหนดตราสัญลักษณ์ APEC ซึ่งแต่ละปีจะเปลี่ยนไปตามอัตลักษณ์และบริบทของเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพ โดยตราสัญลักษณ์ APEC 2022 ครั้งนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 598 ผลงาน มีเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับเลือก คือ ตราสัญลักษณ์ "ชะลอม" ของนายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตคณะสถาปัตย์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยเส้นตอกไม้ไผ่ที่สานกันเป็นชะลอม 21 ช่อง สื่อถึง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิก สีเส้นตอก 3 สี คือ สีน้ำเงิน สื่อถึง OPEN การเปิดกว้าง สีชมพู สื่อถึง CONNECT การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสีเขียว สื่อถึง BALANCE ความสมดุลระหว่างกัน

ขอบคุณข้อมูล
การเตรียมการจัดประชุมสัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
โดย: APEC 2022 เผยแพร่เมื่อ: 8 พ.ย. 2565
https://www.apec2022.go.th/th/aelw-th/

ชะลอม โลโก้ APEC 2022 Thailand เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล
โดย: APEC 2022 เผยแพร่เมื่อ: 14 ม.ค. 2565
https://www.apec2022.go.th/th/logo-chalom-apec-2022-thailand-th/

มารู้จัก BCG คืออะไร มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอย่างไร พร้อมเปิดแผนทำงาน“พาณิชย์”ปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่เมื่อ: 29 พ.ย. 2564
https://mgronline.com/business/detail/9640000118137

ขอบคุณเพลงประกอบ ผู้ใหญ่มา และชาวบ้านขออาสามาเล่าให้ฟังเรื่องเอเปค
โดย ASEAN THAI
https://youtu.be/j3YhkjUJZOs

Nov 19, 202225:35
ที่ว่าองค์พระฯ รัดด้วยโซ่ คืออย่างไร : SNC Library Podcast S3 Eps. 128

ที่ว่าองค์พระฯ รัดด้วยโซ่ คืออย่างไร : SNC Library Podcast S3 Eps. 128

พระปฐมเจดีย์ หรือ องค์พระ ที่ชาวนครปฐมเรียกขานนั้น รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2395 โดยให้ช่างทหารในต่อตัวอย่างถวายเป็นรูปพระเจดีย์กลมไม่มีฐานทักษิณ แต่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบพระเจดีย์เป็นทรงระฆังโดยสร้างครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ภายในดังที่เห็นในปัจจุบัน เหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบพระเจดีย์เนื่องด้วยการปฏิสังขรณ์ครั้งแรกพังทลายลง ดังมีความจาก เรื่องพระปฐมเจดีย์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) กล่าวถึงพระเจดีย์ที่ก่อขึ้นไปได้สูง 17 วา 2 ศอก (35 เมตร) เมื่อถึงปีวอกโทศก เดือน 8 ขึ้น 13 ค่ำ “...เพลากลางคืน ได้ยินเสียงร้องไห้เซ็งแซ่ในที่องค์พระ จนชาวบ้านตกใจ ครั้นรุ่งขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ ฝนตกหนักทั้งกลางวันกลางคืน อิฐที่ก่อนั้นหนักตัวก็เลื่อนทรุดลงมา รอบตัวเพราะฐานทักษิณไม่มี ข้างบนหนัก ข้างล่างบางเพียง 3 ศอก 4 ศอก ทรงกันไว้ไม่อยู่ ต้องรื้อออกเสียทำใหม่...”

รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และกรมขุนราชสีหวิกรม คิดตัวอย่างแบบรูปพระเจดีย์ใหม่ ให้ฐานใหญ่ขึ้นเพื่อรับน้ำหนักข้างบนได้ ทั้งได้เสริมเพิ่มความแข็งแรง ดังความกล่าวว่า “...องค์พระปฐมเจดีย์นั้นก่อขึ้นแล้ว ที่ชั้นทักษิณที่ 1 ปักเสานางเรียงรอบองค์ แล้วมีเสาปักเป็นขาทรายค้ำเสานางเรียงด้วยชั้นทักษิณที่ 2 มีแต่ขาทรายค้ำ ไม่มีเสานางเรียง ที่ตรงบัวถลาลงไป มีเสานางเรียงปักไม้ซุงทั้งต้นถึงพื้น อีกรอบหนึ่ง รัดด้วยซุงทั้งต้นแล้วเอาสายโซ่ใหญ่รัดที่หน้ากระดานท้องไม้บัวถลาแห่งหนึ่ง รัดหลังบัวถลาแห่งหนึ่ง รัดตั้งแต่ท้องไม้ลูกแก้ว ถึงบัวคลุมถูกปากระฆังอีก 5 ชั้น ที่กลางองค์ระฆังมีเสานางเรียงรัดสายโซ่อีกสามรอบ ที่คอถลามีเสานางเรียง ตีนเสาเชิงเรียงนั้นใส่ปลอกไม้ซากชั้นหนึ่ง แล้วรัดสายโซ่อีก 5 รอบ ปลายเสานั้นเอาไม้ซาก 10 นิ้วสี่เหลี่ยม สับปากกันเป็นปลอกปลายเสาอีกชั้นหนึ่ง ลูกแก้วปล้องไฉนหลังฝาละมีรัดสายโซ่ที่ท้องไม้อีก 8 รอบ แล้วก่ออิฐถือปูนหุ้ม”

เชิญทุกท่านติดตามความมหัศจรรย์ของช่างโบราณที่มีความสามารถยิ่ง ในการก่อเสริมโครงสร้างเพิ่มความแข็งแรงให้กับพระเจดีย์ขนาดใหญ่โตมโหฬารองค์นี้ ดังกล่าวในหนังสือเรื่อง น้ำ: บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย ของ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ว่า “โซ่รัดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อครั้งบูรณะพระปฐมเจดีย์ ในปีพ.ศ. 2512 วิศวกรพบลูกโซ่ขนาดใหญ่รัดองค์พระเจดีย์ไว้เป็นชั้น ๆ ในระดับที่ตรงกันกับแรงดันออกสูงสุดซึ่งคำนวณด้วยวิธีสมัยใหม่”
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เล่าทีละเรื่องเมืองนครปฐม: #1 องค์พระรัดรอบด้วยโซ่ คือ อย่างไร   


บรรณานุกรม
ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2516). เรื่องพระปฐมเจดีย์. นครปฐม: สำนักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์.
นฤมล บุญญานิตย์. (2548). การบูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ : กรณีศึกษาจากเอกสารจดหมายเหตุ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัดพระปฐมเจดีย์. (2518). ที่ระลึกงานเทศกาลนมัสการพระปฐมเจดีย์. นครปฐม: วัดพระปฐมเจดีย์.
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2539). น้ำ : บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2512). เรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยว. นครปฐม: สำนักงานจัดหาประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์.

Nov 11, 202226:32
2 พฤศจิกายน วันครบรอบ 107 ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์: SNC Library Podcast S3 Eps.127

2 พฤศจิกายน วันครบรอบ 107 ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์: SNC Library Podcast S3 Eps.127

วันที่ 2 พฤศจิกายน ของทุกปี นับเป็นธรรมเนียมของชาวจังหวัดนครปฐมที่จะร่วมนมัสการในโอกาสฉลองวันคล้ายวันเกิดพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ อันมีที่มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2451 และทรงพบพระพุทธรูปโบราณขนาดใหญ่ที่เมืองศรีสัชนาลัย โดยลักษณะองค์พระนั้นต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมากคงเหลือแต่พระเศียร พระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาท พระองค์ทรงสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญลงมากรุงเทพฯ จัดการพระราชพิธีสถาปนาให้บริบูรณ์เต็มพระองค์ขึ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ที่วัดพระเชตุพน เมื่อการหล่อแล้วเสร็จพระพุทธรูปยืนมีขนาดสูงตั้งแต่พระบาทถึงพระเกศ 12 ศอก 4 นิ้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศเหนือของพระปฐมเจดีย์ ซึ่งปรับแปลงจากวิหารพระประสูติของเดิมครั้งรัชกาลที่ 4 เป็นวิหารโถงเปิดโล่ง 3 ด้าน คือ ด้านหน้าและ 2 ด้านข้าง พระพุทธรูปออกจากกรุงเทพฯ มายังนครปฐมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2457 ดำเนินการตกแต่งประกอบตั้งองค์แล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ตรงกับวัน แรม 10 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ การถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ จากหลักฐานจากเอกสารจดหมายเหตุ กระทรวงศึกษาธิการ รัชกาลที่ 6 (สำเนา) ที่ 1/905 ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2456 ถึง เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ เรื่องส่งนามพระร่วงซึ่งพระราชทานว่า พระร่วงธรรมสามีอินทราทิตย์กิติอุดม สถิตปฐมเจติยสถาน วชิระราชสมภารปูชนีย์บพิตร์ และพบเอกสารกรมศิลปากร ที่ 4/889 ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2456 จากเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ อธิบดีกรมศิลปากร กราบบังคมทูล รัชกาลที่ 6 เรื่อง การแก้ไขวิหารพระประสูติเป็นวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยออกพระนามพระพุทธรูปดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้ ในเวลาต่อมามีการประกาศถวายพระนามใหม่ โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการถวายพระนามพระพุทธปฏิมาที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์พระปฐมเจดีย์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 40 หน้า 2177-2179 วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ว่า  พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนิยบพิตร์ และคงใช้พระนามนี้มาจนปัจจุบัน

ข้อมูลจาก

  • ประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการถวายพระนามพระพุทธปฏิมาที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์พระปฐมเจดีย์.  (2466, 14 ตุลาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 40.  หน้า 2177 – 2179.
  • หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.  เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ รัชกาลที่ ๖.  ร.๖ ศ. ๙.๑/๘๐(พ) เรื่อง ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์และวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม.

 ภาพประกอบ นฤมล บุญญานิตย์

Nov 05, 202219:04
งานนมัสการพระปฐมเจดีย์...ในครั้งเก่าก่อน: SNC Library Podcast S3 Eps.126

งานนมัสการพระปฐมเจดีย์...ในครั้งเก่าก่อน: SNC Library Podcast S3 Eps.126

งานนมัสการพระปฐมเจดีย์ประจำปี ที่ชาวนครปฐมมักเรียกกันว่า "งานกลางเดือน" สันนิษฐานว่ามีมาแต่ครั้งโบราณ ทั้งนี้ พบเอกสารจดหมายเหตุ กระทรวงศึกษาธิการ สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องเกี่ยวกับเงินรายได้การจัดงานเทศกาลนมัสการพระปฐมเจดีย์ ใน ร.ศ. 126 และ 127 (พ.ศ. 2450 และ 2451 ) กล่าวถึงระยะเวลาการจัดงานระบุคือ วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 นอกจากนี้มีนิราศอย่างน้อย 2 เรื่อง ที่ระบุช่วงเวลาของการมานมัสการพระปฐมเจดีย์ คือ โคลงนิราศพระประทม พระนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ในสมัยรัชกาลที่ 3 เสด็จมานมัสการในวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1196 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2377 ตรงกับวันลอยกระทง กลางเดือน 12 และ นิราศพระประธม ของสุนทรภู่ ก็ได้กล่าวถึงการมานมัสการพระปฐมเจดีย์ในช่วงเวลาเดือน 12 เช่นกัน โดยมาในวันจันทร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2385 ระยะเวลาการจัดงานในครั้งต้นรัตนโกสินทร์ที่พบหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการจัดงานสมโภช และออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ของประชาชน 5 วัน และในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน การจัดงานได้มีการขยายทั้งในส่วนกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนเวลาในการจัดงานที่เพิ่มขึ้นเป็น 7 วัน ผนวกเพิ่มด้วยงานของกาชาดจังหวัดนครปฐมต่อท้ายงานอีก 2 วัน รวมเวลา 9 วัน 9 คืน สำหรับในปี 2565 นี้ จัดขึ้นในวันที่ 5-13 พฤศจิกายน 2565 ชวนท่านผู้ฟังทุกท่านมาเที่ยวงานวัดกันค่ะ

Oct 29, 202233:28
อุโมงค์น้ำ (Swimming Flume): SNC Library Podcast S3 Eps.125

อุโมงค์น้ำ (Swimming Flume): SNC Library Podcast S3 Eps.125

ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงอุโมงค์น้ำเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะนึกไปถึงอุโมงค์ระบายน้ำ หรือ หากท่านใดติดตามโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ก็อาจจะนึกถึงภาพอุโมงน้ำ หรือ ม่านน้ำ (Water Salute) ที่มีการฉีดน้ำจากสองฝั่งทำให้เกิดเป็นอุโมงค์น้ำ ขณะที่เครื่องบินของสายการบินเอทิฮัดลงจอดที่สนามบินนานาชาติภูเก็ตเป็นลำแรก ซึ่งเป็นธรรมเนียมสากลทั่วโลกในการแสดงความยินดี หรือ การต้อนรับเที่ยวบินสำคัญ เช่น เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เที่ยวบินที่มาสนามบินแห่งนั้นเป็นครั้งแรก หรือแม้แต่เที่ยวบินครั้งสุดท้ายของสนามบินนั้น ซึ่งกรณีของภูเก็ต เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 นั้น เป็นการต้อนรับเครื่องบินลำแรกที่เข้ามาตามโครงการและนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยหลังวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ในส่วนของอุโมงค์น้ำ (Swimming Flume) ซึ่งเป็นกระแสวิพากษ์กิจกรรมหนึ่งทางโลกออนไลน์ขณะนี้นั้น เป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพในการว่ายน้ำ และยังสามารถใช้ในการกายภาพบำบัดทางการแพทย์ รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อุโมงค์น้ำเป็นเทคโนโลยีของประเทศเยอรมัน ที่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเข้ามาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2560 นับเป็นห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ตั้งอยู่ที่อาคารจุฬาพัฒน์ 10 นอกจากใช้เพื่อการเรียนการสอนแล้วยังใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น ฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มสมรรถนะของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูล

- เรื่อง รู้จัก “อุโมงค์น้ำ” เพื่อการกีฬา ใช้งานอย่างไร    
เผยแพร่เมื่อ 19 ต.ค. 2565 ทาง
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2530698  
- เรื่อง รู้จัก "อุโมงค์น้ำ" ธรรมเนียมการต้อนรับเครื่องบินลำแรก ไม่ใช่ฉีดฆ่าเชื้อแต่อย่างใด   
เผยแพร่เมื่อ 2 ก.ค. 2564 ทาง https://mgronline.com/travel/detail/9640000064132  
- เรื่อง อุโมงค์น้ำ “Swimming Flume” : พบหมอรามา ช่วง Idea ชีวิตดี 29 พ.ย.60 (4/6)  
เผยแพร่โดย RAMA Channel เมื่อ 29 พ.ย. 2560  ทาง https://www.youtube.com/watch?v=57uX5iiRswM  
- เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการว่ายน้ำ 200 เมตร
ท่าฟรอนท์ ครอลในรยางค์ส่วนบนของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย  
เผยแพร่ทาง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/view/250798

ขอบคุณภาพปกจาก “รู้จัก อุโมงค์น้ำ (Swimming Flume) นวัตกรรมเสริมความแกร่ง”
เผยแพร่โดย อีจัน เมื่อ 19 ต.ค. 2022
เผยแพร่ทาง https://www.ejan.co/general-news/n49pkhztnj

ขอบคุณเพลงนำรายการ รักข้ามโขง หนู มิเตอร์
เผยแพร่โดย noometermusic ทาง https://www.youtube.com/watch?v=MlYyqUq0DB0

Oct 21, 202220:01
Midnight Library: SNC Library Podcast S3 Eps.124

Midnight Library: SNC Library Podcast S3 Eps.124

The Midnight Library เรื่องราวของนวนิยายที่ชวนให้ตั้งคำถาม ให้ลองค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่ ให้ลองเปิดมุมมองของความเป็นไปได้อย่างไร้ขีดจำกัดบนทางเลือกใหม่ของโลกที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง ที่ที่อาจทำให้เราฉุกคิดในทางใดทางหนึ่ง ที่ที่อาจทำให้เราค้นพบอย่างแท้จริง มาสัมผัสพลังสร้างสรรใน มหัศจรรย์ห้องสมุดเที่ยงคืน นวนิยายที่เปี่ยมไปด้วยความอบอุ่นและอารมณ์ขัน ที่จะเข้าถึงหัวใจของสิ่งที่มีความหมายในชีวิต หาอ่านได้ที่ PR6108.A33 ม56 ชั้น 3 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้องสมุดที่มีหลากหลายฝันให้คุณมาค้นหา กับช่วงเวลา Midnight Library ที่ขอเชิญชวนชาวศิลปากรมาอ่านกันยาวๆ จนเที่ยงคืนค่ะ

Oct 15, 202217:21
Dooword รู วง และเส้นสาย ของผู้ชายชื่อ เค้ง-ณภัทร : SNC Library Podcast S3 Eps.123
Oct 08, 202229:31
105 ปี สถาปนาธงชาติไทย...ความเข้าใจใหม่เรื่องธงไตรรงค์: SNC Library Podcast S3 Eps. 122

105 ปี สถาปนาธงชาติไทย...ความเข้าใจใหม่เรื่องธงไตรรงค์: SNC Library Podcast S3 Eps. 122

...ไตรรงค์ธงไทย ปลิวไสวสวยงามสง่า สีแดงคือชาติ สีขาวศาสนา น้ำเงินหมายว่าพระมหากษัตริย์ไทย พระมหากษัตริย์ไทย...

เนื้อเพลงไตรรงค์นี้เชื่อว่าในยุคของการเรียนวิชาลูกเสือ อนุกาชาด นักเรียนน้อยใหญ่ต่างร้องจำกันจนขึ้นใจ และหากจะย้อนถามความหมายของแถบ 3 สี ของธงชาติไทยนั้น ก็เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะตอบได้ในความหมายเดียวกันกับเนื้อเพลงที่ร้องนั้น แต่ที่มาของการใช้แถบสีทั้ง 3 คือ แดง ขาว น้ำเงิน เชื่อว่าคนไทยอีกส่วนใหญ่ ที่จะไม่ทราบเหตุผลที่มาที่ไปของการใช้สีดังกล่าว มาทำความรู้จักและเข้าใจในประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย ตลอดจนความหมายภายใต้ริ้วสีของธงไตรรงค์อย่างแท้จริง กับ อ.พฤฒิพล ประชุมผล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ผู้ทุ่มเทศึกษาค้นคว้าสร้างความเข้าใจใหม่ให้เราได้รู้จักกับ ธงไตรรงค์ ได้อย่างสมภาคภูมิเมื่อได้ยินคำว่า ... ธงชาติ และเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และเสียสละของบรรพบุรุษไทย...ขอขอบพระคุณผู้ให้สัมภาษณ์
อ.พฤฒิพล ประชุมผล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ขอบคุณภาพปกจาก
https://www.facebook.com/thai.national.flag.museum/videos/512559980876700

ขอบคุณเพลงประกอบ "ธงไตรรงค์"
โดย
พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย จาก https://youtu.be/fOzYZWhCnXc

 

Oct 01, 202243:18
Disruption ยุคสมัยแห่งการฉีกทุกเกณฑ์ : SNC Library Podcast S3 Eps. 121

Disruption ยุคสมัยแห่งการฉีกทุกเกณฑ์ : SNC Library Podcast S3 Eps. 121

Disruption ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง การลองผิด ลองถูก การกลับหัวคิด ในการดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ  ไม่เว้นทั้งองค์กรรัฐและเอกชน ทุกกิจการจำฉีกทุกเกณฑ์เดิม ๆ วางทุกความสำเร็จที่เคยผ่านมา ค้นหากระบวนการที่จะ Lean องค์กรให้กระชับ ปรับตัวตอบสนองความต้องการของตลาด ความต้องการของผู้บริโภคได้ทันเวลา และมีประสิทธิภาพเทียบคู่ต่อสู้ มัดใจ Gen Now ด้วย Empathy ซึ่งจะทำให้เกิด Innovation บนความเข้าถึงและเข้าใจในความแตกต่าง บนความหลากหลายของแต่ละบุคคล จึงสามารถเข้าไปนั่งในใจกลุ่มเป้าหมายของเราได้

ขอบคุณข้อมูล
ยุค Disruption คืออะไร ต้องทำอย่างไรให้อยู่รอดและรุ่งในยุคนี้

จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/survival-in-disruption-era.html

Sep 23, 202227:43
ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ: SNC Library Podcast S3 Eps.120

ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ: SNC Library Podcast S3 Eps.120

รถไฟเป็นพาหนะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในหลากมิติ ภาพจำของคนไทยกับรถไฟในแต่ละยุคสมัยและช่วงวัยอาจมีความต่าง คนรุ่นปู่ย่าที่การไปมาระหว่างถิ่นยังไม่สะดวก ชีวิตที่ยังไม่รีบร้อนเร่งเร้าถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อาจนึกถึงรถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล หากแต่คนยุคปัจจุบันในวิถีที่จำรีบเร่งแข่งกับเวลา รถไฟความเร็วสูงที่อาจเป็นรองเพียงเครื่องบินจึงถูกแทนที่  
ภาพจำรถไฟอาจเปลี่ยนตามสังคม ยุคสมัย และถูกถ่ายทอดในต่างรูปแบบของเรื่องเล่า เรื่องราวของ “รถไฟสายภาพยนตร์” บทแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี บอกเล่าสังเขปความสัมพันธ์ของรถไฟบนแผ่นฟิล์ม ขณะที่หนังคลาสสิกต่างประเทศบางเรื่องราวสะท้อนประวัติศาสตร์การรถไฟในบริบทของภาพยนตร์ ในมิติของการเคลื่อนพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทับซ้อนด้วยเรื่องราวของชนชั้น เพศ และอื่นๆ
...การเล่าประวัติศาสตร์หนังผ่านฉากรถไฟ อันเป็นยานพาหนะที่ถูกนำเสนอในหนังยุคแรก...จึงถูกนำเสนอตั้งแต่หนังคาวบอย แอ็กชัน ไปจนฉากรักวาบหวิว

ขณะที่หน้าหนังสือหลากเรื่องรถไฟของเมืองไทยบ่อยครั้งที่เรื่องราวของเส้นทางรถไฟสายมรณะ ถูกปลุกเร้าความวิปโยคของผู้ฝังร่างใต้ไม้หมอนที่จำพรากจากครอบครัวชั่วนิรันดร์ขึ้นมาให้สังคมได้ซึมซับรับรู้ถึงบาดแผล ผู้คน และสงคราม  “รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู” หนังสือเล่มเล็กขนาดพ้อคเก็ตบุ๊คเพียง 261 หน้า ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทนวนิยาย
จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2565 จึงเป็นหนังสือที่ชวนอ่าน ด้วยเรื่องราวกึ่งจริงกึ่งเรื่องเล่าแบบนวนิยาย จากปลายปากกาของ สุมาตร ภูลายยาว ผู้ซึ่งเคยทำงานอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ภาคสนามในการเก็บข้อมูลผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน นักเขียนสารคดี เรื่องสั้น และบทความท่านนี้ เชื่อว่าหากได้สัมผัสตั้งแต่หน้าแรกความนำสำนักพิมพ์
ไปจนหน้าสุดท้ายจากปลายปากกาของผู้เขียน จะนำพาให้เราจะรับรู้ได้ถึง
...ความปวดร้าวอย่างเหลือคณานับ เมื่อรู้ว่าเราจะได้กลับบ้าน ด้วยการโดยสารรถไฟบนเส้นทางที่เราได้สร้างมันขึ้นมา เส้นทางที่สร้างด้วยร่างเพื่อนของเรา ในวันที่เขาทอดร่างให้เราข้ามผ่านเพื่อกลับคืนสู่แผ่นดินที่จากมา พวกเขาเหล่านั้นกลับไม่มีโอกาสได้กลับ ไม้หมอนรถไฟเหล่านั้นคือตัวแทนเพื่อนของเรา...


ขอบคุณข้อมูลจาก

ก้อง ฤทธิ์ดี. (2565, กันยายน-ตุลาคม). รถไฟสายภาพยนตร์. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, 12 (71), p. 16.

สุมาตร ภูลายยาว. (2564). รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู. กาญจนบุรี: บ้านแม่น้ำ.

ภาพปก โดย นฤมล บุญญานิตย์

Sep 16, 202241:33
เยว์ปิ่ง...ขนมไหว้พระจันทร์: SNC Library Podcast S3 Eps.119

เยว์ปิ่ง...ขนมไหว้พระจันทร์: SNC Library Podcast S3 Eps.119

เทศกาลไหว้พระจันทร์มีชื่อทางการภาษาจีนว่า จงชิวเจี๋ย  หรือ  ตงชิวโจ็ยะ  ในภาษาแต้จิ๋ว ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 8 ตามปฏิทินจีน ชาวจีนแทบทุกถิ่นฐานนับเทศกาลนี้ว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากตรุษจีน ในวันไหว้พระจันทร์ทุกคนในครอบครัวจะกลับมาอยู่พร้อมหน้าจึงนิยมเรียกว่า ถวนหยวนเจี๋ย  หรือ  ถ่วงอี๊โจ็ยะ  ในภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งแปลว่า เทศกาลชุมนุมพร้อมหน้า เทศกาลนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น มรดกวัฒนธรรมวิถีชนชิ้นเยี่ยมของจีน เมื่อ พ.ศ. 2549 กิจกรรมสำคัญของเทศกาล คือ การไหว้พระจันทร์ ซึ่งในการไหว้นั้นนอกจากสิ่งของเครื่องไหว้ เครื่องกระดาษ ตามแบบประเพณีจีนแล้ว สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ภาษาจีนเรียกว่า เยว์ปิ่ง หรือ ง็วยะเปี้ย ในภาษาแต้จิ๋ว เย่ว์ คือ พระจันทร์ ปิ่ง หมายถึง ของกินทรงแบนเป็นวงกลมรี หรือ อาจเป็นเหลี่ยม แต่ต้องไม่เป็นก้อนหรือลูกกลม เยว์ปิ่ง เป็นขนมทรงแบนเป็นวงกลมคล้ายดวงจันทร์ คนไทยจึงเรียกว่า ขนมไหว้พระจันทร์ ตำนานของขนมไหว้พระจันทร์ มีหลากหลายเรื่องเล่า ดุจเดียวกับที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ ความน่าสนใจของแต่ละตำนานเป็นอย่างไร ชวนให้ติดตามค่ะ

Sep 10, 202224:59
จากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อันดับ 2 ของประเทศ: SNC Library Podcast S3 Eps.118

จากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อันดับ 2 ของประเทศ: SNC Library Podcast S3 Eps.118

เรื่องราวความเป็นมาของการฝึกหัดครูในประเทศไทย จากย่างก้าวแรกของวิชาชีพครูซึ่งเริ่มให้การศึกษาเพียงในวัด ในวัง สู่การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งต้องการกำลังของครูจำนวนมาก
รองรับการขยายการศึกษาสู่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เลือกหญิงชาย ทำให้เกิดสถาบันการฝึกหัดครูอย่างเป็นระบบนับแต่ พ.ศ.2435 โดยการฝึกหัดครูนั้น เริ่มขึ้นในส่วนกลางพระนคร และขยายออกสู่หัวเมืองมณฑลท้องถิ่นต่าง ๆ ในส่วนมณฑลนครชัยศรีนั้น เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ในยุคโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม และโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม ยุคต่อมาได้พัฒนาจากโรงเรียนฝึกหัดครู สู่วิทยาลัยครูนครปฐม จนเข้าสู่ยุคสถาบันราชภัฏและยุคมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน ความเป็นมาของสถาบันแม่พิมพ์ของชาติที่นครปฐมนั้น ในยุคพัฒนาเริ่มแรกมี “ครู” ผู้เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ นำการพัฒนาอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย ปลูกฝังสามัคคี ร่วมแรง อุทิศตนกันเพียงใด มาติดตามเรื่องราวจิตวิญญาณของชาวเฟื่องฟ้ากันค่ะ

Sep 03, 202245:01
นิทานร้อยบรรทัด แบบเรียนสมัยปฏิวัติจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์: SNC Library Podcast S3 Eps.117

นิทานร้อยบรรทัด แบบเรียนสมัยปฏิวัติจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์: SNC Library Podcast S3 Eps.117

เรื่องราวความเป็นมาของ "นิทานร้อยบรรทัด" แบบสอนอ่านวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-7 ตั้งแต่ครั้งสมัยปฏิวัติจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยแบบเรียนชุดนี้ มี 6 เล่ม เนื้อหาแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นร้อยกรองที่เรียบเรียงง่าย สื่อความหมายได้ไพเราะไม่ซับซ้อน มีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยม คือ กลอนสุภาพ ซึ่งมีลักษณะคำประพันธ์เป็นบท บทหนึ่งมี 4 วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง แต่ละวรรคมี 8 คำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
หนังสือ "นิทานร้อยบรรทัด" เนื้อหาแต่ละเรื่องจะมี 25 บท ทำให้เรื่องหนึ่งๆ มีจำนวนวรรค รวม 100 วรรค โดยหนังสือชุดนี้ใช้รูปแบบการจัดหน้า คือ บรรทัดละหนึ่งวรรค จึงทำให้ทุกเรื่องมีความยาว 100 บรรทัด จึงเป็นที่มาของชื่อ นิทานร้อยบรรทัดนั่นเอง เนื้อหาของแต่ละเรื่องในหนังสือ เป็นทำนองนิทานสั้นๆ ไม่ซับซ้อน สอดแทรกแนวคิด ค่านิยม หน้าที่พลเมือง และคติในการดำเนินชีวิต ซึ่งหากกล่าวในแง่เนื้อหานั้นก็นับได้ว่ายังคงคุณค่าในความเป็นแบบเรียนคลาสสิคจนปัจจุบัน

ที่มาของข้อมูล

· อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสำเร็จวรรณกิจ (บุญ เสขะนันทน์)https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:1680

· ประวัติอาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์
https://www.art-gallery4u.com/ประวัติอาจารย์-เฉลิม-นาค/

· นิทานร้อยบรรทัด: ว่าด้วยความรักแห่งชาติในแบบเรียน
www.thekommon.co/100-buntud เผยแพร่ February 13, 2021

· "นิทานร้อยบรรทัด" โดย Somchai Ruengdecha จากเพจ ภาพเก่าในอดีต เผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายน 2019 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1377511189054584&set=gm.2250561001940073&type=3&theater

Aug 27, 202237:05
สมบัติ เมทะนี...พระเอกตลอดกาล: SNC Library Podcast S3 Eps.116

สมบัติ เมทะนี...พระเอกตลอดกาล: SNC Library Podcast S3 Eps.116

สมบัติ เมทะนี พระเอกตลอดกาล ที่แฟนคลับมักเรียกเขาว่าอาแอ๊ด เป็นดาราอีกท่านหนึ่งที่นับเป็นตำนานของวงการภาพยนตร์ไทย เขาเป็นนักแสดงที่มากความสามารถแสดงได้หลายบทบาท ประกอบกับบุคลิกส่วนตัวที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย จึงทำให้มีบุคลิกโดดเด่นด้วยร่างกายที่กำยำ อีกทั้งยังเป็นดาราที่ร้องเพลงได้ไพเราะซึ่งมีไม่มากนักในยุคนั้น เขาได้รับการบันทึกสถิติโลก โดยกินเนสบุ๊คระบุว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลกถึง 617 เรื่อง และหากนับรวมการแสดงทุกประเภท ทุกบทบาทแล้วจะมีมากกว่า 2 ,000 เรื่อง เส้นทางชีวิตที่ชักนำเข้าสู่วงการบันเทิงของดาราอาวุโส ซึ่งยังคงให้ความสำคัญด้านการศึกษาจนสำเร็จในระดับด็อกเตอร์ ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ม.เทคโนโลยีแห่งอโยธยา อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งท่านได้จากไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา มีความน่าสนใจอย่างไรเชิญติดตามรับฟังค่ะ


..................................................................

ขอบคุณข้อมูลและเพลงประกอบ

· พระเอกที่แสดงหนังมากที่สุดในโลก ดร.สมบัติ เมทะนี สติเตือนใจ “อย่าหลงตัวเอง”. โดย สุทธิคุณ กองทอง เผยแพร่ทาง http://www.changeintomag.com/index.php/2015-04-02-17-28-3/3907-the-scenery-vintage-farm-121

· พนมเทียน เล่าความหลัง“จุฬาตรีคูณ”.  โดย ผู้จัดการออนไลน์  เมื่อ 2 พ.ค. 2563 เผยแพร่ทาง https://mgronline.com/drama/detail/9630000045469

· สมบัติ เมทะนี. โดย วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เผยแพร่ทาง https://th.wikipedia.org/wiki/สมบัติ เมทะนี

· เพลงชุด "จุฬาตรีคูณ" (เลือกเพลงฟังได้). โดย นฤรัตน์ เพชรบุรี - เพลงลูกกรุงเก่า
เผยแพร่ทาง https://www.youtube.com/watch?v=v7PZ1h8mzXQ&t=911s&ab_channel=นฤรัตน์เพชรบุรี-เพลงลูกกรุงเก่า

Aug 19, 202238:54
Green Campus...วิทยาเขตสีเขียวกับครูเขียว: SNC Library Podcast S3 Eps.115

Green Campus...วิทยาเขตสีเขียวกับครูเขียว: SNC Library Podcast S3 Eps.115

Library Talks เรื่อง นโยบาย Green Campus ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ร่วมพูดคุยกับท่านรองอธิการบดี พระราชวังสนามจันทร์ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต เขียววิชัย เรียนรู้เรื่องราวของ UI Green Metric หรือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก แนวทางและภาพรวมที่ได้ดำเนินการแล้วของ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  ตลอดจนแนวทางในการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ในอนาคต 

Aug 13, 202201:02:56
ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่ ทำไมกลายเป็น หวย: SNC Library Podcast S3 Eps.114

ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่ ทำไมกลายเป็น หวย: SNC Library Podcast S3 Eps.114

เรื่องราวของพยัญชนะไทย 44 ตัว ทำไมจึงไปพัวพันกับหวย ทั้งนี้ในอดีตการเรียนรู้พยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว ไม่มีเครื่องช่วยจำ การเรียนรู้ จดจำพยัญชนะโดด ๆ ในเวลาอันจำกัด
ด้วยมีเวลาเรียนน้อยนิดเพราะต้องช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน การอ่านออกเขียนได้ในเวลาอันสั้นจึงเป็นไปได้ยาก กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดภาวะข้าวยากมากแพง นายอากรสุราจีนหงได้เสนอให้ตั้งหวยอย่างจีน เมื่อ พ.ศ. 2378 มีการเอาพยัญชนะไทย ก-ฮ มากำกับตัวหวย ผูกคำเป็นกลอนมีภาพประกอบทำให้ง่ายต่อการจดจำ กระทั่ง พ.ศ.2420 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้เขียนวิธีสอนหนังสือไทยจึงคิดคำกำกับพยัญชนะเฉพาะตัวที่มีเสียงพ้องกันขึ้น 27 ตัว ต่อมา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำกำกับชื่อ ก ข ทั้ง 44 ตัว ในหนังสือแบบเรียนเร็ว  เล่ม 1 ตอนต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2442 เมื่อทรงเป็นอธิบดีกรมธรรมการ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ

คณะทำงานพจนานุกรม ฉบับมติชน.  หวย ก ข ต้นเหตุให้คิดเรียกชื่อ ก ไก่ - ฮ นกฮูก. ศิลปวัฒนธรรม. 24, 9 (ก.ค. 2546) : 40-43.

เรื่อง เลิกหวย ก.ข. และต้นเหตุที่เกิดหวย ก.ข. โดย คอลัมน์ วัฒนธรรมแพร่เผยเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ.2561 

จาก www.silpa-mag.com/culture/article_10768

Aug 05, 202224:02
ปรัชญาชีวิตของ Sam Berns เด็กหนุ่มผู้มีความสุขกับโรคร้าย: SNC Library Podcast S3 Eps.113

ปรัชญาชีวิตของ Sam Berns เด็กหนุ่มผู้มีความสุขกับโรคร้าย: SNC Library Podcast S3 Eps.113

เรื่องราวของ แซม เบิร์นส์ นักเรียนชั้นมัธยมต้น โรงเรียนมัธยมฟอกซ์โบโร รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 2 ขวบ ว่าเป็นโรค Progeria หรือ โรคชราก่อนวัย ที่ทั้งโลกมีคนที่เป็นโรคนี้ประมาณ 350 คน ขณะที่ต้องเผชิญโรคร้ายเขาก็ไม่ได้เพิกเฉยกับความรู้สึกแย่ๆ นั้น ตรงข้ามเขายอมรับมันและยอมให้มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยไม่เสียเวลากับความรู้สึกหดหู่ที่จะทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับความสุข สิ่งที่เขาทำคือก้าวข้ามมันไป ตลอดเวลาที่เขามีชีวิตอยู่
แทนการให้คนอื่นมาดูแลทำตัวไร้ค่า เขากลับใช้ชีวิตแบบคนปกติสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนที่มีร่างกายสมประกอบ เขาได้ขึ้นพูดบนเวที TEDx MidAtlantic เขาพูดถึงแนวคิดการใช้ชีวิตท่ามกลางโรคที่ใคร ๆ มองว่าเป็นโชคร้าย แต่เขากลับมองว่ามันทำให้รู้ถึงคุณค่าของชีวิต ทำให้เขาได้มีโอกาสทำตามความฝันมากมาย ภายหลังจากที่ได้ขึ้นเวที TEDx เพียง 1 ปี เขาได้เสียชีวิตในวันที่ 10 มกราคม 2014 แม้ว่าเขาจะจากไปแล้วเมื่อ 8 ปี ที่ผ่านมา แต่ข้อคิดที่เขาฝากไว้บนเวทีนั้น เป็นแรงบันดาลใจที่ดีสำหรับอีกหลาย ๆ คน ที่มีปัญหาในชีวิต มาติดตามเรื่องราวของหนุ่มน้อย ผู้ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่โชคชะตาค่ะ

ขอบคุณข้อมูล

เรื่อง My philosophy for a happy life | Sam Berns | TEDxMidAtlantic

โดย TEDx Talks  เผยแพร่ทาง https://www.youtube.com/watch?v=36m1o-tM05g&ab_channel=TEDxTalks


เรื่องเฮย์ลีย์ โอไคน์ส เด็กสาวป่วยด้วยโรคแก่ก่อนวัย เสียชีวิตแล้ว

โดย รามาแชนแนล Rama Channel แพร่เผยเมื่อ 20 เมษายน 2015

เผยแพร่ทาง https://www.facebook.com/ramachannel/photos/พบหมอรามาวันนี้-กับช่วง-rama-update-มาอัพเดทข่าวสุขภาพ-กับ-ผศนพเฉลิมพงษ์-ฉัตรดอก/1616587451890816/?locale=th_TH


เรื่อง TEDx Talks พากษ์ไทย: ปรัชญาสร้างความสุขของคนเป็นโรคแก่ก่อนวัย | Sam Berns

โดย Art of Story - อาร์ตเล่าเรื่อง แพร่เผยเมื่อ 1 เม.ย. 2022

เผยแพร่ทาง https://www.youtube.com/watch?v=uP-2Ou-F6Ng&ab_channel=ArtofStory-อาร์ตเล่าเรื่อง


เรื่อง 4 ข้อ ของความสุขในชีวิต จากเด็กหนุ่มผู้มีความสุขที่สุด

โดย LIFE's Chapter TH แพร่เผยเมื่อ 7 กันยายน 2562

เผยแพร่ทาง https://medium.com/@Lifes_ChapterTH/4-ข้อ-ของความสุขในชีวิต-จากเด็กหนุ่มผู้มีความสุขที่สุด-แรงบันดาลใจ-8016ef7ab22c

Jul 30, 202235:45
ตุ๊กตาหิน...ปริศนาที่รอการค้นหา: SNC Library Podcast S3 Eps.112

ตุ๊กตาหิน...ปริศนาที่รอการค้นหา: SNC Library Podcast S3 Eps.112

เรื่องชวนค้นหาจากปริศนาตุ๊กตาหินที่ถูกฝังไว้ใต้ดินมากกว่าร้อยตัวบริเวณประตูมณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการเล่าลือกันหลากกระแส
บ้างว่าเป็นอับเฉาเรือสินค้า บ้างโยงใยไปถึงเรื่องลี้ลับไสยศาสตร์ การวิพากษ์อย่างกว้างขวางกรณีตุ๊กตาหินนี้ มีบุคคลที่สำนักข่าวแห่งหนึ่งนำข้อความของท่านมาเผยแพร่ ระบุว่า เหลน 'กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร' ยืนยันตุ๊กตาหิน ไม่ใช่ 'อับเฉา' แต่สั่งมาประดับงานฉลองพระนคร มาติดตามเรื่องราวของตุ๊กตาหินที่เป็นเครื่องประดับ “ของแปลก” เมื่อครั้งฉลอง 100 ปีพระนคร และในวันนี้ยังคงเป็นปริศนาที่น่าค้นหาสาเหตุของการฝังใต้ดินนั้นกันค่ะ

Jul 23, 202236:59
ขนมเมื่อครั้งพุทธกาล: SNC Library Podcast S3 Eps.111

ขนมเมื่อครั้งพุทธกาล: SNC Library Podcast S3 Eps.111

เรื่องราวของ ขนมเบื้อง ขนมในครั้งพุทธกาล ซึ่งมีเรื่องเล่าจากธรรมบทกล่าวถึง การที่พระพุทธองค์ทรงให้บทเรียนแก่เศรษฐีโกศิยะผู้มีความตระหนี่ในการบริจาคทานแม้กระทั่งทานขนมเบื้อง แต่เมื่อเขาได้รับการสั่งสอนจากพระพุทธองค์และทรงอนุโมทนาที่ถวายขนม ก็ทำให้เศรษฐีและภรรยาบรรลุโสดาปัตติผลทำให้เขาก็เลิกตระหนี่และเรื่องราวของขนมเบื้องนอกจากในครั้งพุทธกาลแล้ว ยังถูกบันทึกในมิติอื่น ๆ อาทิ ในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนที่นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้า ประชันฝีมือทำขนมเบื้องกัน หรือในคำให้การขุนหลวงหาวัด คราวเสียกรุงครั้งที่สอง ก็มีกล่าวถึงขนมเบื้องว่า “…บ้านหม้อ ปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง…” ตลอดจนในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีการกล่าวในพระราชพิธี ๑๒ เดือน ในเดือนอ้าย คือ เดือนธันวาคม มีการพระราชกุศลเลี้ยงขนมเบื้อง และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ ขนมเบื้องได้รับการประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในสาขาความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ประเภทอาหารและโภชนาการ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม


Jul 16, 202234:49
หนังกลางแปลง ก่อนยุคกรุงเทพกลางแปลง: SNC Library Podcast S3 Eps.110

หนังกลางแปลง ก่อนยุคกรุงเทพกลางแปลง: SNC Library Podcast S3 Eps.110

กรุงเทพกลางแปลง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นกระแสตอบรับจากประชาชนอย่างล้นหลามที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กิจกรรมนี้เป็นการเปิดโลกทัศน์เก่าให้แก่เด็กยุคใหม่ ที่อาจเคยได้เพียงสัมผัสคำบอกเล่าถึงเรื่องราวของ หนังกลางแปลง ภาพของครอบครัว ภาพกลุ่มเพื่อนฝูง ผู้คนหลากรุ่น หลายวัย ที่ต่างพากันมาจับจองพื้นที่รอชมสิ่งที่เคยถูกเล่าขานในอดีต ภาพพ่อค้า แม่ขาย หาบเร่แผงลอย ที่พาย้อนวันเวลาเก่าๆ ให้ได้เห็นบรรยากาศ ความครึกครื้น อิ่มหนำสำราญกับอาหารขบเคี้ยว ของกินอันหลากหลาย ที่ซื้อหามารับประทานได้อย่างเสรีระหว่างรอ ระหว่างชม หนังกลางแปลง โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงป๊อบคอร์นสมัยใหม่ในถังใบใหญ่แพคคู่กับน้ำอัดลมในสนนราคาสูงลิ่ว ดังที่เด็กรุ่นใหม่ๆ มักเคยชินในโรงภาพยนตร์ทันสมัยในปัจจุบัน การพักผ่อนในพื้นที่เปิดโล่ง โดยเว้นระยะทางสังคม ในยามวิกฤติภัยจากโรคร้าย โดยส่วนตัวพี่พร้อมเองก็ยังรู้สึกว่าเป็นอีกทางเลือก กลยุทธ์ ซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) โดยการนำกิจกรรมที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงความคิด เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แทนอำนาจบังคับขู่เข็ญ (Hard Power) จะช่วยหนุนส่งแรงกระเพื่อมในเชิงสังคมและเศรษฐกิจอย่างไร จะนำมาซึ่งชีวิตที่ดีกว่าสมดังคุณค่าของภาพยนตร์ที่หน่วยงานหลัก คือ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ผู้ทำหน้าที่โดยตรงและเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรม ยึดถือเป็นปรัชญาขององค์กรว่า ภาพยนตร์ ยังให้เกิดปัญญา ผนวกกับแนวคิดของอาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 17 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูเยียวยาวิกฤตในช่วงที่ผ่านมาได้มากน้อยเพียงใด หนังกลางแปลงจะกลับมาสู่วิถีเดิมไม่เป็นเพียงมหรสพแห่งท้องทุ่งที่ใช้เพื่อแก้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือฉายตามงานวัดหรือไม่ เป็นเรื่องที่ชวนให้ติดตามเรียนรู้


ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.silpa-mag.com/history/article_19046
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/243806/165405

ขอบคุณภาพปกจาก
www.bangkokbiznews.com/news/1014435



Jul 09, 202238:57
เมื่อในหลวง ร.6 ทรงเป็นนายแบบโฆษณา: SNC Library Podcast S3 Eps.109

เมื่อในหลวง ร.6 ทรงเป็นนายแบบโฆษณา: SNC Library Podcast S3 Eps.109

เรื่องราวของกระดาษเก่า ๆ เป็นสมุดบันทึกเล่มหนึ่งที่จะเล่าถึงประวัติส่วนตัว ของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้เป็นบุคคลสำคัญในการวางรากฐานทางการศึกษาสมัยใหม่ของไทย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งหากจะกล่าวไปหน่วยงานต่าง ๆ หลายแห่ง ที่ท่านเคยมีบทบาทเกี่ยวข้องต่างก็ได้จัดทำประวัติของท่านไว้อย่างน่าสนใจ  แต่จะมีที่ใด หรือใคร จัดทำได้ละเอียดลออดังที่พบข้อมูลจากเอกสารส่วนบุคคลของท่านนี้หรือไม่ ยังไม่มีข้อมูล และข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากสมุดบันทึกเล่มนี้ซึ่งจะเล่าสู่กันฟัง อยู่ในหัวข้อ ซ้อมรบ หน้า 21 ซึ่งมีข้อความสั้นๆ บันทึกไว้ว่า “ถ่ายรูป ‘ยากฤษณากลั่น’ 14 ก.พ. 2462” อันเป็นเรื่องที่ผูกโยงเสริมต่อกับเรื่องราวจากหนังสือที่พบในเอกสารส่วนบุคคลของท่าน คือ การซ้อมรบเสือป่า พ.ศ. 2462 และ พระราชวังสนามจันทร์ ได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องราวจะเกี่ยวข้องกับการที่ในหลวงทรงเป็นนายแบบโฆษณาอย่างไร โปรดติดตามรับฟังค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ แผนกกรมสามัญและกรมวิสามัญศึกษา เรื่อง ให้ยาน้ำกฤษณากลั่นแก่โรงเรียนในกระทรวงศึกษาธิการ. (2464, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38. หน้า 2353. เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2565.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2353.PDF

แจ้งความ เรื่องนายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ ทูลเกล้าฯ ถวายยา. (2461, 2 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35. หน้า 3044-3045.
เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2565. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/3044.PDF

ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 15.  (2457, 12 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 31. หน้า 63-69.
เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2465. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/63.PDF

ปิ่น มาลากุล, ม.ล. การซ้อมรบเสือป่า พ.ศ. 2461 และพระราชวังสนามจันทร์. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2511.

ปิ่น มาลากุล, ม.ล. การซ้อมรบเสือป่า พ.ศ. 2462 และพระราชวังสนามจันทร์. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2511.

ปิ่น มาลากุล, ม.ล. (2462, กุมภาพันธ์ 14). บันทึกการซ้อมรบเสือป่า. ห้องอนุสรณ์ศาสตราจารย์ ม..ล.ปิ่น มาลากุล,
 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. กันป่วย. พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2513.

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.6. (2561, 23 กุมภาพันธ์). หน้าหลัก. [เข็มสมาชิกสมาคมบำรุงเสือป่า]. เฟสบุ๊ค.
เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/rama6memorial/

โอสถสภา. เกี่ยวกับโอสถสภา: ประวัติองค์กร. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565,
จาก https://www.osotspa.com/new/th/about/index.php

Jul 02, 202245:02
Ko-fi แพลตฟอร์มสร้างรายได้ให้เหล่าครีเอเตอร์: SNC Library Podcast S3 Eps.108

Ko-fi แพลตฟอร์มสร้างรายได้ให้เหล่าครีเอเตอร์: SNC Library Podcast S3 Eps.108

ยุคนี้ ใครๆ ก็สามารถเป็นครีเอเตอร์ ด้วยการนำเสนอผลงานบนโลกโซเชียลได้ แต่ไม่ว่าผลงานจะดีแค่ไหนถ้าขาดรายได้ ก็อาจทำให้หลายคนถอดใจเลิกทำในสิ่งที่รัก วันนี้โลกโซเชียลมีตัวช่วยให้เราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก พร้อมกับการสร้างรายได้ โดยมีแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์แนว Crowdfunding ซึ่งถ้าสิ่งที่คุณทำ ไม่ว่าจะเป็น นักเขียน นักพูดพอดแคสต์ นักคอสเพลย์ ศิลปิน สรุปก็คือ ครีเอเตอร์ทุกสาย ถ้าโครงการ หรือ คอนเทนท์คุณมีความน่าสนใจพอ ก็จะได้รับการระดมทุนนำเงินไปสานต่อให้สำเร็จ หรือพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นได้ Ko-fi เป็นแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์ ที่ให้เหล่าครีเอเตอร์มีช่องทางสร้างรายได้ด้วยคอนเซปต์ เลี้ยงกาแฟ ที่มักจะเชิญชวนให้มีส่วนร่วมสนับสนุนครีเอเตอร์ที่เราชื่นชอบ ด้วยคำว่า Buy Me a Coffee การส่งกาแฟเป็นกำลังใจดีๆ ให้นักสร้างคอนเทนท์ขวัญใจ เปรียบไปก็คือการขอบคุณผู้สร้างเรื่องราวดี ๆ บนโลกออนไลน์ให้เราได้เสพ ได้ดู ได้อ่าน ได้ฟัง ง่ายๆ เลยนะคะสำหรับการแบ่งปันกับคำขอบคุณอย่างมีความสุข

ขอบคุณข้อมูล
- เรื่อง Ko -fi แพลตฟอร์ม
โดย ลงทุนเกิร์ล เผยแพร่ใน blockdit เมื่อ 17 มิย 2565
จาก
https://www.blockdit.com/posts/62ab043558dc25212605a73a

- Startup คือธุรกิจอะไรกันแน่
โดย เว็บไซด์ SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คอลัมน์ห้องเรียนผู้ประกอบการ
จาก https://classic.set.or.th/set/enterprise/article/detail.do?contentId=5464

- รู้จัก Patreon แพลตฟอร์มระดมทุนให้คนสร้างงานอาร์ตด้วยโมเดลจ่ายรายเดือน
โดย sunnywalker เผยแพร่เมื่อ 1 เมษายน 2562
จาก https://www.blognone.com/node/108947

Jun 18, 202223:30
เมื่อศิลปากรรับปริญญาครั้งแรก: SNC Library Podcast S3 Eps.107

เมื่อศิลปากรรับปริญญาครั้งแรก: SNC Library Podcast S3 Eps.107

งานพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากรมีประวัติความเป็นมายาวนานเข้มขลัง นับจากปีแรกของการสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 มีนักศึกษาคนแรกและคนเดียวที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2496 ระดับปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรมประติมากรรม  คือ นายชลูด นิ่มเสมอ จากนั้นจึงมีผู้จบการศึกษาในระดับเดียวกัน รวมทั้งระดับอนุปริญญา ทั้งที่ร่วมและต่างคณะอีก 3 คณะ ทยอยจบการศึกษาในปีต่อ ๆ มา คือ คณะสถาปัตยกรรมไทย (สถาปัตยกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ปี 2498 คณะโบราณคดี ปี 2498 และคณะมัณฑนศิลป์ ปี 2499 ขณะที่บางปีก็ไม่มีผู้จบการศึกษา จนกระทั่งเมื่อผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีจำนวนมากพอโดยการรวมบัณฑิตถึง 10 ปีการศึกษา นับแต่ปีการศึกษา 2496 - 2506 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดเอาวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507 เป็นวันพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก การรอคอยอันยาวนานกว่าที่ศิษย์คนแรกจะได้รับปริญญาบัตรก็ให้หลังจากจบการศึกษามาแล้วถึง 10 ปีการศึกษา และด้วยเหตุที่เป็นครั้งแรกบรรดาศิษย์ผู้จบการศึกษาจึงต่างมีหน้าที่อันสำคัญ กล่าวคือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ซึ่งขณะนั้นเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำในคณะที่ร่ำเรียนมา ได้รับมอบหมายจาก ศ.ศิลป์ พีระศรี ให้ออกแบบใบปริญญาบัตร ท่านได้ออกแบบโดยใช้สัญลักษณ์แทนทุกคณะวิชาเป็นภาพพื้นหลัง ทั้งระดับปริญญาและอนุปริญญาใช้แบบเดียวกัน และแบบใบปริญญานี้ได้ใช้เพียงครั้งแรกและครั้งเดียว ด้วยในปีถัดมามีการเปลี่ยนแปลงแบบใบปริญญาใหม่ จากนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนอีกรวม 4 ครั้ง จนเป็นรูปแบบในปัจจุบัน ส่วนชุดครุยในการเข้ารับพระราชทานปริญญานั้น อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิษย์ผู้น้องรุ่นที่ 4 ของคณะ ซึ่งเป็นบัณฑิตรุ่นปีการศึกษา 2502 หนึ่งในจำนวนนักศึกษา 10 รุ่น ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งแรกนั้น ได้เป็นหัวแรงหลักในการออกแบบมีคุณเต๋อ (ไม่ทราบนามจริง) เป็นผู้สเก็ตแบบและใช้มาจนปัจจุบัน ส่วนสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีเมื่อแรกนั้นใช้ที่ท้องพระโรงวังท่าพระ กระทั่ง พ.ศ. 2515 เมื่อมีนักศึกษารุ่นแรกของคณะอักษรศาสตร์เข้าร่วมพระราชพิธี ด้วยจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นสถานที่ท้องพระโรงจึงไม่พอรองรับต่อไป ในปีถัดมาจึงมีการเปลี่ยนสถานที่เป็นหอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ อนึ่ง การใช้สถานที่ท้องพระโรงวังท่าพระ เป็นความงดงามและเหมาะควรกับสถานที่อันมีศักดิ์ นั้นคือผู้เข้ารับพระราชทานจะเข้ารับในท่าคุกเข่า โดยชันเข่าขึ้น 1 ข้าง หัวเข่าแตะพื้น 1 ข้าง ต่อหน้าพระพักตร์ทั้ง  2 พระองค์ ซึ่งประทับบนพระเก้าอี้ในระนาบเดียวกัน ไม่มีพระแท่นที่ประทับเป็นส่วนกั้นดังเช่นการยืนรับพระราชทานในปัจจุบัน

Jun 10, 202238:31
ไหว้บ๊ะจ่าง...เทศกาลไหว้ครั้งที่ 4 ของปี: SNC Library Podcast S3 Eps.106

ไหว้บ๊ะจ่าง...เทศกาลไหว้ครั้งที่ 4 ของปี: SNC Library Podcast S3 Eps.106

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรือ ไหว้ขนมจ้างนั้น เดิมทีเกิดจากการบูชาเทพเจ้ามังกร ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของชาวไป่เยว่มาตั้งแต่สมัยอดีต การสักตัวด้วยรูปมังกรของพวกเขาจึงเป็นสัญลักษณ์บ่งว่าตนคือลูกหลานมังกร โดยชาวไป่เยว่นั้นเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตั้งแต่ช่วงกลางลงไปยังตอนใต้ พวกเขาใช้พาหนะเดินทางคือเรือที่ทำจากไม้ท่อนเดียว ในอดีตจึงมีการจัดแข่งพายเรือมังกรเพื่อเป็นการเคารพบูชาเทพเจ้ามังกร ในการแข่งเรือพายนั้นจะมีการนำเอาอาหารใส่ลงกระบอกไม้ไผ่ หรือห่อด้วยใบไม้แล้วโยนลงน้ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อเทพเจ้ามังกรให้ปกป้องคุ้มครองลูกหลาน ตำนานเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ในวันที่ 5 เดือน 5 จากการบูชาเทพเจ้ามังกร มีการเคลื่อนเข้าสู่เรื่องราวการรำลึกถึง ชฺวี เหวียน ขุนนางตงฉินผู้เป็นกวีเรืองนาม กระทั่งถูกบอกเล่าสืบกันมาจนกลายเป็นตำนานเอกของเทศกาล แทนที่ตำนานแรกเริ่มจากประเพณีแข่งเรือมังกร กระทั่งภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นเทศกาลรื่นเริงดังปัจจุบัน อีกทั้งเทศกาลนี้ยังเป็นประเพณีแรกของจีน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก สหประชาชาติ เมื่อปี 2009 ด้านมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) อีกด้วย

.

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.blockdit.com/posts/5ef41eda6c5fe80cc4f568ae

https://thaiphdinchina.wordpress.com/2016/06/09/เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง-เทศกา/
http://www.chinatalks.co/ภูมิปัญญาจีน/chinesefestival/dongzhi/
http://www.futurec-cn.com/端午节-วันบ๊ะจ่าง-วันตวนหวู/

Jun 04, 202223:49
Hybrid working สไตล์การทำงานยุค New normal: SNC Library Podcast S3 Eps.105

Hybrid working สไตล์การทำงานยุค New normal: SNC Library Podcast S3 Eps.105

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่จากการพบ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2562 หรือ ปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน มีการระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว กระทั่งองค์การอนามัยโลก ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อมกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในเวลาเพียง 2 เดือนถัดมา คือ มีนาคม 2563 วิกฤติการครั้งนี้ คงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิตประจำวันส่วนตัว การใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นที่ต้องร่วมกันเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากยิ่งๆ ขึ้น เพื่อป้องกันและบรรเทามิให้วิกฤติรุนแรงมากยิ่ง ๆ ขึ้น อันจะส่งผลโดยตรงต่อชีวิตของผู้คนในสังคมโลก อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่จำต้องปรับเปลี่ยนด้วยผลพวงของวิกฤตินั้นก็คือ รูปแบบการทำงาน ซึ่งนับแต่ ปี 2020 รูปแบบการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home ที่เรามักกล่าวโดยย่อว่า WFH ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อลดความเสี่ยงของโรคระบาด และเมื่อสถานการณ์เริ่มทุเลาลง การทำงานยุค New normal รูปแบบใหม่ที่นับว่าตอบโจทย์การทำงานใหม่ก็เกิดขึ้น นั้นคือการทำงานสองระบบควบคู่ที่เรียกว่า Hybrid working โดยเป็นการทำงานในออฟฟิศสลับกับ Work From Home หรือจากที่ไหนก็ได้ ที่เรียกว่า Remote working แทนที่การทำงานในออฟฟิศทุกวันเพียงอย่างเดียว

ขอบคุณข้อมูล
เรื่อง “Hybrid working” ดียังไง? รู้จักสไตล์การทำงานใหม่ในยุค New normal
โดย KONAUMA เผยแพร่เมื่อ 2022-02-20
จาก https://www.metaevent02.com/what-is-metaverse

May 28, 202223:16
GI กับผลไม้ไทย: SNC Library Podcast S3 Eps.104

GI กับผลไม้ไทย: SNC Library Podcast S3 Eps.104

ย่างเข้ารอยต่อร้อนสู่ฝน นับเป็นช่วงเวลาอิ่มเอมของคนรักผลไม้ไทย เพราะนั่นคือสัญญานบ่งบอกว่าถึงฤดูกาลของผลไม้เมืองร้อนยอดนิยมระดับราชาและราชินีผลไม้ของเมืองไทยคือทุเรียนและมังคุด ที่พ่อค้าแม่ขายหน้าเก่ามือใหม่ต่างซื้อหามาวางขายกันดาดดื่น ถึงขนาดว่าในบางปีบางคนถึงกับตั้งตัวได้ยามหน้าทุเรียนกันเลยทีเดียว จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทุเรียนซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงกว่าผลไม้อื่นมานมนานแล้วตั้งแต่อดีตปัจจุบันราคาจะสูงขึ้นไปอีกเท่าไร จากสมัยก่อนที่มักขายกันแบบยกเป็นลูก ราคาคะเนตามขนาดแต่ละลูกตามใจแม่ค้า และแปรผันไปตามสายพันธุ์ เช่น ชะนีก็จะย่อมเยากว่าหมอนทอง ส่วนหมอนทองก็จะย่อมเยากว่าก้านยาว และสมัยที่ยังไม่ได้ชั่งเป็นกิโลก็ไม่มีการแพคแยกขายเป็นถาด ๆ เหมือนปัจจุบัน และสำหรับการเลือกซื้อหาผลไม้ที่มีคุณภาพสมราคามารับประทานนั้น บางครั้งผู้บริโภคก็อาจไม่สันทัดในการเลือก ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐ คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้ามาทำหน้าที่ดูแลสร้างมาตรฐานในด้านคุณภาพของผลไม้ โดยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่เรียกว่า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) หรือ เรียกย่อว่า GI และกำหนดสัญลักษณ์ GI เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้น ๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า เรียกได้ว่าผู้บริโภคมีความอุ่นใจได้ว่า "สินค้าตรงปก" แน่นอน มาติดตามกันค่ะว่า GI มีบทบาทอย่างไรและท้องถิ่นใดมีผลไม้อะไรที่ได้ประทับแบรนด์ GI ผลไม้ไทยบ้าง

May 19, 202233:37
คำบอกเล่า...แม่ - ลูก "วินิจฉัยกุล" ตอนที่ 2: SNC Library Podcast S3 Eps.103

คำบอกเล่า...แม่ - ลูก "วินิจฉัยกุล" ตอนที่ 2: SNC Library Podcast S3 Eps.103

ความจากตอนที่แล้ว ทำให้เราได้ทราบเบื้องลึกเบื้องหลังความเป็นมาบนเส้นทางนักเขียนที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ทั้งยังมีบุคคลสำคัญในชีวิตคือคุณแม่ของท่านผู้เป็นทั้งผู้ส่งเสริมและขัดขวางการเป็นนักประพันธ์อาชีพของรองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยท่านจากนามปากอันโด่งดัง คือ ว. วินิจฉัยกุล และ แก้วเก้า ซึ่งบทประพันธ์จากสองนามนี้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ตลอดจนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย และสำหรับตอนจบนี้จะชวนท่านผู้ฟังมาติดตามคำบอกเล่าของท่านและคนรอบข้างถึงวิถีการเป็นนักประพันธ์มืออาชีพของท่านว่า มีเทคนิคอย่างไรในการแต่งนวนิยาย ซึ่งบางเรื่องนั้นท่านใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลนานนับ 10 ปี และที่น่าประหลาดใจประการหนึ่ง คือ บทประพันธ์บางเรื่องที่อาจจะประทับใจใคร ๆ หลายคน บางครั้งผู้เขียนเองกลับรู้สึกตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง ท่านที่สนใจเรื่องราวอื่น ๆ ในหนังสือ "พระราชทานเพลิงศพ นางกาญจนี วินิจฉัยกุล" คุณแม่ของท่าน ติดตามได้จากลิงค์ http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:184228

May 13, 202255:22
คำบอกเล่า...แม่ - ลูก "วินิจฉัยกุล": SNC Library Podcast S3 Eps.102

คำบอกเล่า...แม่ - ลูก "วินิจฉัยกุล": SNC Library Podcast S3 Eps.102

หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่หลงไหลในวรรณกรรมประเภทนวนิยาย เชื่อว่าจะคุ้นเคยกับชื่อสกุล วินิจฉัยกุล เป็นอย่างดี ด้วยถูกนำมาใช้เป็นนามปากกาของนักประพันธ์นวนิยายร่วมสมัยผู้สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพหลากหลายแนว ทั้งจินตนิยาย ประวัติศาสตร์ โรแมนติก สะท้อนชีวิตและสังคม ภายใต้นามปากกาว่า ว. วินิจฉัยกุล แก้วเก้า ปารมิตา รักร้อย วัสสิกา และอักษราณีย์ ซึ่งเชื่อว่าแต่ละนามปากกานั้นเป็นชื่อที่นักอ่านนวนิยายชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดี โดยท่านเจ้าของหลากนามปากกานี้ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ ผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2547 ผลงานของท่านนั้นนอกจากความสนุกแล้ว ยังเต็มไปด้วยความรู้ทางภาษา วรรณคดี และประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้อ่านได้สัมผัสเรียนรู้ถึงสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัยผ่านตัวละครที่โลดแล่นอย่างมีสีสรร แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินแห่งชาติท่านนี้ มีคุณแม่ผู้เป็นดั่งรากแก้วซึ่งมีบทบาทสำคัญทั้งบ่มเพาะทั้งขัดขวางหนทางการเป็นนักประพันธ์ที่เริ่มฉายแววตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แต่ดูเหมือนชะตาชีวิตของท่านได้ถูกกำหนดมาแล้วจึงยากที่จะผละจากชีวิตการเป็นนักเขียน ทั้งที่ในเส้นทางความเป็นนักวิชาการท่านดำรงตำแหน่งถึงรองศาสตราจารย์อันเกือบจะสุดทางวิชาชีพแล้วเช่นกัน เชิญติดตามเรื่องราวคำบอกเล่าอันสนุกสนานและน่าสนใจของคุณแม่กาญจนีและคุณหญิงนักประพันธ์เลื่องชื่อแห่งกรุงรัตนโกสินทร์กันค่ะ

May 07, 202201:04:18
ปูรณฆฏาศรีทวารวดี...อัตลักษณ์ผ้าไทย แห่งปฐมนคร: SNC Library Podcast S3 Eps.101

ปูรณฆฏาศรีทวารวดี...อัตลักษณ์ผ้าไทย แห่งปฐมนคร: SNC Library Podcast S3 Eps.101

อัตลักษณ์ความเป็นไทยแสดงออกได้ในหลากรูปแบบ ซึ่งแต่ละชุมชนท้องถิ่นต่างก็มีอัตลักษณ์อันบ่งบอกถึงตัวตนของชุมชนนั้นๆ สืบทอดส่งต่อเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามจากรุ่นสู่รุ่น และความชัดเจนในอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นมักสื่อผ่านจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นในวิถีการดำรงชีวิต ซึ่ง "ผ้า" นับเป็น 1 ในปัจจัยหลักที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนองปัจจัยในชีวิตประจำวัน โดยการประดิษฐ์เป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ ต่างๆ แต่ทั้งนี้ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปการรับเอาวัฒนธรรมตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้าสู่ชุมชน ทั้งในระดับท้องถิ่น-ประเทศ ทั้งจากสังคมภายใน-ภายนอกประเทศ ล้วนส่งผลให้วัฒนธรรมการใช้ผ้าทอพื้นเมืองของไทยเจือจางลง จนถึงสูญสิ้นไปแล้วในบางแห่ง 

ความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้ความสำคัญและรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูผ้าทอชนิดต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการผลิต การแปรรูป การจำหน่าย เพื่อให้เกิดการใช้ผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น ตลอดจนเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาผ้าไทยในระดับอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมอย่างมีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการออกแบบลวดลายและแฟชั่น เพื่อยกระดับผ้าไทยสู่สากล ภายใต้วิสัยทัศน์ “วัฒนธรรม ทำดี ทำงาน ทำเงิน”เพื่อส่งเสริมให้วัฒนธรรมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างรายให้แก่ชุมชนและประเทศ 

ในปี 2565 นี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลดำริจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ด้วยการร่วมกับ 76 จังหวัด สร้างสรรค์ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดครั้งแรกของประเทศ พร้อมจัดทำหนังสือ “ภูษาศิลป์จากท้องถิ่นสู่สากล” ทำให้จังหวัดนครปฐมได้มีโอกาสสร้างสรรค์ ลวดลายผ้าอันเป็นอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครปฐม คือ “ลายปูรณฆฏาศรีทวารวดี” ขึ้น 

Apr 30, 202222:10
เสาหลักเมือง...มิ่งขวัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์: SNC Library Podcast S3 Eps.100

เสาหลักเมือง...มิ่งขวัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์: SNC Library Podcast S3 Eps.100

ตามธรรมเนียมโบราณ ก่อนที่จะสร้างบ้านเมือง ณ แห่งใด จะต้องมีการทำพิธียกเสาหลักเมืองในสถานที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นมิ่งขวัญ อันสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะตั้งมั่นขึ้นนั้น ในการสถาปนารุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 นาฬิกา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด บรรจุดวงเมืองใหม่ตามพระชะตา พร้อมอัญเชิญหลักเมืองเดิมและหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ตามแบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2395 ต่อมามีการปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมืองอีกหลายครั้ง โดยมีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี เมื่อ พ.ศ. 2525 และหากจะนับเนื่องการลงหลักปักหลักเมืองแต่เมื่อแรกสถาปนากรุงจวบจนปัจจุบัน นับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่มีอายุยืนยาวถึง 240 ปี ใน พ.ศ. 2565 นี้ 

ขอบคุณภาพประกอบจาก: https://www.facebook.com/Signnagas/posts/842679285848968:0

Apr 23, 202219:32
นางลอย...น้ำอบคู่สังคมไทยกว่า 100 ปี: SNC Library Podcast S3 Eps.99

นางลอย...น้ำอบคู่สังคมไทยกว่า 100 ปี: SNC Library Podcast S3 Eps.99

หากกล่าวถึงวันสงกรานต์ เรามักจะนึกถึงเรื่องการทำบุญตักบาตร การอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้อง และที่สำคัญ คือ ประเพณีการสงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ แม้กระทั่งการรดน้ำกันเอง และส่วนประกอบที่จะขาดเสียมิได้ในการรดน้ำ คือ น้ำอบไทย ที่อบด้วยควันกำยาน หรือเทียนอบ และน้ำมาปรุงด้วยเครื่องหอม มีลักษณะเป็นน้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากน้ำหอม หรือน้ำอบฝรั่ง ทั้งลักษณะของกลิ่นและขบวนการผลิต และหากจะนึกถึงน้ำอบไทย เชื่อว่าแทบทุกครัวเรือนต่างรู้จักชื่อ น้ำอบนางลอย ของแม่เฮียง ธ. เชียงทอง ที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานมากกว่า 100 ปี ความเป็นมาของน้ำหอมสีเหลืองอำพัน กลิ่นหอมเย็นสดชื่นติดทนนานแบบไทยๆ ของเราน่าสนใจอย่างไร โปรดติดตาม


ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
เรื่อง น้ำอบนางลอย
จาก
https://nangloy.com/

ขุดเส้นทาง “น้ำอบนางลอย” อีกตำนานคู่สงกรานต์ไทย
โดย: MGR Online  เผยแพร่: 13 เม.ย. 2557 16:29
จาก https://mgronline.com/smes/detail/9480000047871?fbclid=IwAR1R-QK8cPUWr0BHDDoMJGydRnHYysfDiXHJGq3Y0Uqyc20fe2QFlQTiu84 เฮียง ธ.เชียงทอง นวัตกรยุครัชกาลที่ 6 ผู้สร้างตำนาน “น้ำอบนางลอย”
โดย: The People เผยแพร่:  12/04/2019
จาก https://thepeople.co/hiang-t-chiangthong-nang-loy-founder/ ร้านน้ำอบนางลอย
โดย พิชญา อุทัยเจริญพงษ์, ภาพโดย ณัฏฐาจิตรา ชินารมย์รัตน์

เผยแพร่: 12 กุมภาพันธ์ 2562  
คุยกับทายาทรุ่นที่ 4 แห่งร้านน้ำอนนางลอย ธุรกิจอายุกว่า 100 ปี กัน
กระบวนการผลิตที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอน และการต่อยอดเทียนหอมกลิ่น
น้ำอบที่มียอดสั่งจองถล่มทลาย

จาก https://readthecloud.co/nangloy/


Apr 15, 202227:01
เสฐียรพงษ์ วรรณปก...สามเณรเปรียญ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์: SNC Library Podcast S3 Eps.98

เสฐียรพงษ์ วรรณปก...สามเณรเปรียญ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์: SNC Library Podcast S3 Eps.98

หากจะกล่าวถึงนามศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เชื่อว่า ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการพุทธศาสนา แม้ท่านจะละจากสมณเพศมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ส่วนในวงวิชาการนั้นย่อมไม่ต้องกล่าวถึงความมีชื่อเสียงของท่าน แม้กระทั่งในสังคมไทยทั่วไปก็ตาม ดังความที่ท่านกล่าวในอัตชีวประวัติว่า ท่านเป็น อาจารย์ หรือ นักวิชาการทางด้านพุทธศาสนาและภาษาบาลี ซึ่งต้องกล่าวว่าสามเณรเปรียญ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านนี้แตกฉานเชี่ยวชาญทางภาษายิ่ง สิ่งที่ยืนยันประการหนึ่ง คือ หนังสือด้านการตั้งชื่อของท่านที่ได้รับความนิยมจากหลาย ๆ สำนักพิมพ์ อาทิ คู่มือตั้งชื่อลูก : พจนานุกรมชื่อเด็ก ชื่อนี้สิดี (พิมพ์ครั้งที่ 5) จะตั้งชื่อบุตรหลานอย่างไร มีสำนักพิมพ์ถึง 4 แห่งนำไปจัดพิมพ์ นอกจากนี้ท่านยังเป็นราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์ เป็นนักเขียนบทกวี ตำรา และบทความ ความเป็นนักเขียนของท่านนั้น ทำให้พบว่าปกติคุ้นเคยของที่ระลึกงานแต่งงานก็สามารถกลับกลายปกติให้คิดได้ว่า จะมีใครสักกี่คนคิดมอบหนังสือเป็นของชำร่วย ซึ่งบุคคล 2 ท่านนั้น คือ คุณนงนุช พ่วงพงษ์ และคุณพรชัย ไชยรังสินันท์ ได้จัดทำหนังสือของท่าน อันมีชื่อเป็นมงคลว่า 9 พุทธ 9 เต๋า 9 เซ็น เป็นของที่ระลึกวันแต่งงาน เมื่อ 18 สิงหาคม 2545 ความสามารถด้านการเขียนดังที่สหายสนิทท่าน ส. ศิวรักษ์ กล่าวไว้อาลัยท่าน ความตอนหนึ่งว่า "เขาถนัดเป็นนักหนังสือพิมพ์มากกว่าเป็นครูอาจารย์ ทั้งที่เขาเคยอยู่มหาวิทยาลัย" ทำให้นอกจากนามจริงที่ใช้เขียนเรื่องประเภทวิชาการและสารคดีมากมายแล้ว ท่านยังมีนามปากกา ไต้ ตามทาง ซึ่งใช้เขียนเรื่องประเภทขำขันทีเล่นทีจริง อาทิ สารคดีจาริกแสวงบุญ สู่แดนพุทธภูมิ ได้รับการตีพิมพ์ถึง 5 ครั้ง หรือ สองทศวรรษในดงขมิ้น ที่ตีพิมพ์ถึง 3 ครั้ง และนามปากกา เปรียญเก้าประโยค ซึ่งใช้เขียนเรื่องประเภทการใช้ภาษาอีกด้วย ในท้ายนี้ข้าพเจ้าขอน้อมจิตกราบส่งดวงวิญญาณของท่านสู่สัมปรายภพด้วยเทอญ

...
ที่มาข้อมูล
เนื้อหา: www.facebook.com/เสฐียรพงษ์-วรรณปก-FanPage-1408169992762203
ภาพประกอบ: www.facebook.com/Profเสฐียรพงษ์-วรรณปกFellow-of-the-Royal-Institute-258003264373420/photos/?ref=page_internal

Apr 08, 202224:47
Mindset คิดอย่างไรไม่ติดกับ: SNC Library Podcast S3 Eps.97

Mindset คิดอย่างไรไม่ติดกับ: SNC Library Podcast S3 Eps.97

หากจะนิยาม ความเก่ง+ความเฮง  คือ ความสำเร็จ พี่พร้อมขอเสริมว่า ความสำเร็จที่ยั่งยืนนั้น ควรต้องมีพร้อมทั้ง เก่ง ดี และมีสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมของการทำงานในยุคปัจจุบัน เรามักจะพบว่าหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ เอกชน นอกจากจะให้ความสำคัญด้านทักษะทางวิชาชีพ (Hard Skills) แล้ว คุณสมบัติอีกอย่างที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคือ Soft Skills โดยเห็นได้จากการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ล้วนมีความต้องการคนที่มีทักษะหลากหลายไม่เพียงแค่ความรู้จากการเรียน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำ การสื่อสาร การสร้างความร่วมมือ และนอกจากนี้ ยังต้องมีความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกรอบ พร้อมที่จะปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ดังนั้น การทำงานให้ประสบความสำเร็จจึงต้องอาศัยทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ควบคู่กัน และ Soft Skills ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ Mindset ซึ่งเป็นกรอบความคิด ความเชื่อหรือทัศนคติที่ชี้นำพฤติกรรมของคนนั่นเอง

Apr 02, 202245:47
เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นศาลอาญาสูงสุดกรุงเทพ: SNC Library Podcast S3 Eps.96

เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นศาลอาญาสูงสุดกรุงเทพ: SNC Library Podcast S3 Eps.96

เรื่องราวเล่ห์กลของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสายที่โทรมาเป็นแก๊งมิจฉาชีพ กลโกงซึ่งมิจฉาชีพทางโทรศัพท์เหล่านี้ใช้ มีลักษณะอย่างไรที่พึงสังเกตได้ และวิธีสนุกๆ เตรียมรับมือ 18 มงกุฎ ทำยังไงดี

.

ขอบคุณข้อมูลจาก - “ศาลอาญาสูงสุดกรุงเทพ คุณมีหมายเรียก กรุณากด 9 เพื่อฟังรายละเอียด” โดย Watcharaphon Kupraditz เมื่อ 24 มีนาคม 2565 จาก https://www.facebook.com/watcharaphon.kupraditz

- กลโกงทางโทรศัพท์ โดย ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2565 จาก https://www.1213.or.th/th/finfrauds/callcenter/Pages/Callcenter.aspx

- (-เตือนภัย-) แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์มารูปแบบใหม่ โดย สมาชิกหมายเลข 6755513 เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ทาง https://pantip.com/topic/41270613

- วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์แบบแสบ ๆ คัน ๆ กวน ๆ โดย กมลวรรณ วิชัยรัตน์ เมื่อ กุมภาพันธ์ 2565 ทาง https://tonkit360.com/

Mar 26, 202239:03
มรดกภาพยนตร์ของชาติ...การมีส่วนร่วมของชาวไทย: SNC Library Podcast S3 Eps.95

มรดกภาพยนตร์ของชาติ...การมีส่วนร่วมของชาวไทย: SNC Library Podcast S3 Eps.95

หอภาพยนตร์แห่งชาติ นับเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทด้านการอนุรักษ์ภาพยนตร์ ด้วยการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วโดยจะครบ 12 ครั้ง ในปีปัจจุบัน (2565) และมีรายชื่อภาพยนตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วถึง 221 รายชื่อ ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจร่วมเสนอ "หนึ่งหนังไทยในดวงใจ" เพื่อขึ้นทะเบียนในครั้งที่ 12 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 ติดตาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.fapot.or.th

ขอบคุณข้อมูลจาก
- จดหมายข่าวหอภาพยนตร์ 12, 68 (มีนาคม-เมษายน) 2565
- www.fapot.or.th

ขอบคุณเสียงนำรายการ "ฝันจะเก็บฝันของชาติ The Dream Keepers”
เผยแพร่โดย Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์) เมื่อ Sep 7, 2016
ทาง
https://youtu.be/_VufzKv5zas

Mar 19, 202231:18
ชั๊บ ชั๊บ ชั๊บ กรรม...แก้ได้จริงหรือ?: SNC Library Podcast S3 Eps.94

ชั๊บ ชั๊บ ชั๊บ กรรม...แก้ได้จริงหรือ?: SNC Library Podcast S3 Eps.94

กรรม หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความตั้งใจ หรือจงใจทำ แสดงออกด้วยกาย ด้วยวาจา จะดีหรือชั่วก็ตาม โดยการกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว ในพระไตรปิฏกและอรรถกถา ไม่ปรากฏพุทธพจน์กล่าวถึงคำว่า "แก้กรรม" แต่ปรากฏคำว่า "ดับกรรม" และ "สิ้นกรรม" โดยพระพุทธองค์ทรงแสดงทางดับกรรมไว้ใน อริยมรรค คือ มรรคอันมีองค์ 8 อันได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ พูดชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ ที่ให้ถึงซึ่งความดับกรรม คือ ปฏิปทา ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ กรรมสามารถแก้ไขได้หรือไม่ หนทางดับกรรมทำอย่างไร กระแสความเชื่อเรื่องการแก้กรรมในสังคมไทยมีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบ ความนิยมในวิธีแก้กรรมหลากวิธี ต่างสำนักเป็นอย่างไร โปรดติดตามด้วยพิจารณา หากเราดำเนินชีวิตตั้งอยู่บนความไม่ประมาทอย่างมีสติ ก็ไม่จำต้องพาตนเองไปถึงจุดของการแก้กรรมหรือไม่

Mar 11, 202236:20
ความจริง จะส่งเธอ...คืนสู่หัตถ์พระเจ้า: SNC Library Podcast S3 Eps.93

ความจริง จะส่งเธอ...คืนสู่หัตถ์พระเจ้า: SNC Library Podcast S3 Eps.93

กระแส “ความจริง” นับจากกรณีความจริงมหากาพย์ลอตเตอรี่ 30 ล้าน ระหว่างคุณครูผู้ชายกับคุณลุงตำรวจ ซึ่งผู้คนในขณะนั้นต่างเฝ้าติดตามว่า ที่สุดแล้วใครกันแน่เป็นเจ้าของลอตเตอรี่ มาสู่ ประเด็นร้อน 30 ล้าน จากการให้สัมภาษณ์ของบุคคลผู้หนึ่ง ในกรณีข่าวที่เป็นกระแสอยู่ในความสนใจตลอดสัปดาห์ วันนี้ พี่พร้อมจะชวนฟัง “ความจริง” ซึ่งเป็นเนื้อหาบางส่วนจากบทบรรณาธิการในวารสารวิชาการ 2 ฉบับ คือ วารสารศาสตร์ ฉบับ “ความจริงก็คือความจริง” ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (ม.ค. – เม.ย.) 2563
ของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ก.ย.) 2564 สาระความร่วมสมัยของบทความกับเหตุการณ์ในสังคมวันนี้ มีความน่าสนใจชวนติดตามในเชิงวิชาการ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เราเสพข่าวด้วยความพินิจพิจารณาได้เป็นอย่างดี
.

ติดตามบทความ เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org

ขอบคุณภาพปกจาก
https://mgronline.com/entertainment/detail/9640000099682

ขอบคุณเพลงประกอบรายการ หลับเถิดแตงโม - สมพงศ์วงลูกคลัก [Official Lyric]
เผยแพร่โดย LUKKLAK THAILAND  เมื่อ Feb 27, 2022
ทาง https://youtu.be/laM04j_aNLA

Mar 05, 202229:34