Skip to main content
โลกคือละคร

โลกคือละคร

By THE STANDARD POP

มีเพื่อนดูละครหรือเปล่า? พอดแคสต์ ‘โลกคือละคร’ ขอเป็นเพื่อนคุณเอง และเราอยากชี้ชวนให้คุณมาดูละครแล้วย้อนดูตัว สำรวจโลกจำลองที่สะท้อนสังคมไว้ในนั้น เพราะถ้าหากละครคือการนำเสนอภาพของสังคมนั้นๆ ที่ดำเนินอยู่ แล้วสิ่งที่อยู่ในละครไทยกำลังบอกอะไรเรา
Available on
Apple Podcasts Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

EP.13 ลิสต์ละครไทย 2022 มีอะไรน่าดูบ้าง? สำรวจทุกค่าย ทุกช่อง!

โลกคือละครJan 05, 2022

00:00
47:07
EP.13 ลิสต์ละครไทย 2022 มีอะไรน่าดูบ้าง? สำรวจทุกค่าย ทุกช่อง!

EP.13 ลิสต์ละครไทย 2022 มีอะไรน่าดูบ้าง? สำรวจทุกค่าย ทุกช่อง!

สวัสดีปีใหม่ 2022 กับ ‘โลกคือละคร’ ตอนใหม่ ที่จะชวนคุณมาสรุปเรื่องราวของละครไทยอย่างสั้นในปีที่ผ่านมา และลิสต์ละครไทยในปีนี้ที่กำลังออกฉาย ทั้งที่ถูกเลื่อนมาหรือแม้แต่โปรเจกต์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ว่ามีเรื่องไหนเข้าตาคุณบ้าง? ครบครันทุกค่าย ทุกช่อง หรือหากคุณมีลิสต์ในใจของคุณแล้ว เอามาแชร์ให้เรารู้กันหน่อยว่าคุณรอคอยเรื่องไหนเป็นพิเศษ

Jan 05, 202247:07
EP.12 วิเคราะห์เรื่องรักใน กะรัตรัก ละครน่าสนใจแต่ทำไมไม่เปรี้ยงเท่าที่ควร?

EP.12 วิเคราะห์เรื่องรักใน กะรัตรัก ละครน่าสนใจแต่ทำไมไม่เปรี้ยงเท่าที่ควร?

กะรัตรัก คือละครรอมคอมที่ว่าด้วยเรื่องของความสัมพันธ์ต่างวัยของพระ-นาง อย่าง  เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข และการกลับมาเล่นละครอีกครั้งในรอบหลายปีมากๆ ของ แอน ทองประสม นอกจากเส้นเรื่องหลักแล้ว นี่เป็นละครไทยเรื่องหนึ่งที่เราว่าค่อนข้างน่าสนใจ แต่คำถามคือว่าทำไมถึงไม่เปรี้ยงปร้างเท่าที่ควร ทั้งเรื่องกระแสและเรตติ้ง เราขอมาชำแหละเรื่องราวความรักในเรื่องนี้กันเข้มๆ ว่าอะไรที่น่าสนใจ และมีอะไรที่ทำให้ละครเรื่องนี้ไม่เป็นที่พูดถึงมากนักทั้งๆ ที่ครบเครื่องขนาดนี้

Dec 14, 202130:16
EP.11 ทำไมซีรีส์วายไทย ถึงฮอตฮิตไปทั่วโลก?

EP.11 ทำไมซีรีส์วายไทย ถึงฮอตฮิตไปทั่วโลก?

โลกคือละครชวนคุณทะยานเข้าสู่โลกของ #ซีรีส์วาย งานบันเทิงแขนงใหม่ในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่สร้างทั้งชื่อและรายได้ให้กับประเทศ ปั้นซูเปอร์สตาร์หน้าใหม่ขึ้นมามากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายๆ คนคงตั้งคำถามว่า ทำไมซีรีส์วายถึงสามารถพางานบันเทิงไทยไปถึงจุดนั้นได้ วันนี้เราจึงชวน ออฟ-นพณัช ชัยวิมล ผู้กำกับซีรีส์ชื่อดังมากมาย ทั้ง นิทานพันดาว หรือที่กำลังออนแอร์อยู่อย่าง แค่เพื่อนครับเพื่อน มาร่วมพูดคุยในประเด็นนี้กัน พูดเลยว่าสนุกมาก!

Dec 07, 202149:56
EP.10 ย้อนยุคบ่อยมาก! ทำไมละครพีเรียดไทยมีเยอะจัง?

EP.10 ย้อนยุคบ่อยมาก! ทำไมละครพีเรียดไทยมีเยอะจัง?

เคยรู้สึกไหมว่าทำไมเราถึงเห็นละครพีเรียดไทยๆ เยอะเหลือเกินในตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา จำพวกละครย้อนยุคที่เผยให้เห็นเรื่องราวในอดีต หรือแม้แต่ละครแฟนตาซีที่ตัวละครหลงยุคเข้าไปในอดีตก็มีให้เห็นมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่การได้เห็นเสื้อผ้าสวยๆ งามๆ ฉากหลังของประเทศสมัยต่างๆ หรือประวัติศาสตร์บางส่วน แต่ละครเหล่านี้กำลังฉายภาพในสิ่งที่หล่อหลอมให้คนไทยเป็นคนไทยอย่างทุกวันนี้อย่างไร?

Nov 30, 202134:33
EP.9 ลายเซ็นค่ายละครไทย ค่ายไหนมีจุดเด่นรสชาติเด็ดอะไร มาดู!

EP.9 ลายเซ็นค่ายละครไทย ค่ายไหนมีจุดเด่นรสชาติเด็ดอะไร มาดู!

ละครไทยแต่ละค่ายก็ล้วนมีรสชาติสูตรลับฉบับเด็ดเป็นของตัวเอง และเราอยากชวนทุกคนมาพูดคุยถึงลายเซ็นของแต่ละค่ายละครไทยที่ทุกคนต่างจดจำได้ ไม่ว่าจะเป็นละครเอ็กแซ็กท์, ละครดีด้า, ละครค่ายอาหลอง, ละครแบบพี่ฉอด หรืออื่นๆ อีกมากมาย ที่มีความสนุกแตกต่างกันไป แล้วคุณล่ะ? ชื่นชอบละครค่ายไหนบ้าง แชร์ให้เรารู้ได้นะ

Nov 25, 202140:27
EP.8 รีเมกเก่ง! ทำไมละครไทยถึงรีเมกละครเก่าซ้ำไปมาอยู่นั่นแหละ

EP.8 รีเมกเก่ง! ทำไมละครไทยถึงรีเมกละครเก่าซ้ำไปมาอยู่นั่นแหละ

หนึ่งในความคิดเห็นของผู้ชมชาวไทยที่มีต่อละครไทยคือ ‘รีเมกอยู่นั่นแหละ’ ซึ่งมันก็จริงและเราต่างปฏิเสธไม่ได้ว่า ละครรีเมกบนจอโทรทัศน์ไทยมันมีจำนวนมากมายเหลือเกินจนเราสงสัยว่า ทำไมเรามีละครรีเมกเยอะจัง? #โลกคือละคร ขอชวนคุณมาค้นหาคำตอบนี้ด้วยกัน ว่านอกเหนือจากการทำซ้ำแล้ว ละครรีเมกกำลังสะท้อนสภาพสังคมหรือบริบทของวงการละครไทยอย่างไร?

Time Index

00:00 Intro

01:00 ละครรีเมกเยอะมากจริงๆ

03:34 สถิติละครรีเมกของไทย เรื่องไหนเยอะสุด?

04:28 ผู้กองยอดรัก รีเมกทุกครั้งที่มีรัฐประหาร

05:43 คู่กรรม น้ำผึ้งขม อย่างละ 6 รอบไปเลยค่ะ!

06:20 ละครรีเมกกำลังสะท้อนสภาพสังคมอย่างไร?

10:56 รีเมกแล้วไม่ประสบความสำเร็จก็มีเยอะนะ

13:14 ละครรีเมกล็อตใหม่

18:17 หรือคนเขียนบทไทยไม่ผลิตของใหม่?

20:36 ทำไมละครไทยนำเสนอเรื่องอาชีพไม่ได้?

23:58 ละครไทยจะหยิบประเด็นสังคมมาเล่าได้ไหม?

Nov 16, 202130:02
EP.7 ละครไทยจะส่ง Soft Power แบบไหนไปสู้กับงานบันเทิงโลก?

EP.7 ละครไทยจะส่ง Soft Power แบบไหนไปสู้กับงานบันเทิงโลก?

ละครไทยจะสามารถยืนหยัดอยู่ในงานระดับสากลได้หรือเปล่า? เราชวนคุณมาตั้งคำถามกับข่าวการผลักดัน Soft Power ของไทยให้แข็งแรงขึ้นจากภาครัฐ หลังกระแสของซีรีส์ Squid Game หรือแม้แต่การเติบโตอย่างสวยงามของ ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล จาก BLACKPINK ในระดับโลกนั้น ทำให้เราต้องย้อนกลับมามองตัวเองว่า แล้วงานบันเทิงของเรามองไปข้างหน้ามากพอหรือยัง? #โลกคือละคร ตอนใหม่นี้ ขอชวนคุณมาทบทวนความทรงจำของคอนเทนต์ไทยที่เคยหรือกำลังโด่งดังไปทั่วโลก ตั้งแต่ยุค T Wind ที่เราสามารถตีตลาดประเทศจีนได้ในช่วงหนึ่ง หรือยุคซีรีส์วายที่ปลุกปั้นซูเปอร์สตาร์สัญชาติไทยให้ไปไกลในระดับสากลได้มากมาย

แล้วถ้าหากว่าเป็นคุณล่ะ? คุณว่าเราจะสามารถส่งออก Soft Power ผ่านงานบันเทิงไทยได้อย่างไรบ้าง ลองมาแชร์ไอเดียกันดู


Time Index

00:00 Start

03:20 Intro

03:53 Soft Power คืออะไร ทำความเข้าใจง่ายๆ กันก่อน

07:15 ละครไทยต้องเริ่มก้าวเล็กๆ ดีกว่าอยู่เฉยๆ

09.09 T Wind กระแสลมแรงของคอนเทนต์ไทย

12:49 กระแสลมแรงกลายเป็นแค่ลมปาก

15:40 แค่นโยบายไม่พอ ต้องมีกลยุทธ์ที่ดี

21:11 แล้ว Soft Power ไทยเราอยู่ตรงไหน?

21:56 สถิติคอนเทนต์ไทยฮิตบน OTT

24:50 ละครแย่งผัวแย่งเมีย Universal Plot ที่เราทำให้แหลมคมไม่ได้

27:00 ซีรีส์วาย ความหวังใหม่ของ Soft Power ไทย

31:19 อยากผลักดันซีรีส์วาย แล้วประเทศนี้เข้าใจความหลากหลายทางเพศแค่ไหน?

32:03 Bite Me ส่งร้อนเสิร์ฟรัก สีสันใหม่ที่น่าสนใจ

32:35 ปรับเปลี่ยนความคิดสักนิดในเรื่องส่งออกวัฒนธรรมแช่แข็ง

36:57 ไอเดียการส่งออก Soft Power จากโฮสต์ของเรา

Nov 02, 202142:23
EP.6 เป็นบ้า หน้าเสียโฉม หรือต้องตาย ทำไมจุดจบนางร้ายละครไทยถึงวนลูปเดิม?

EP.6 เป็นบ้า หน้าเสียโฉม หรือต้องตาย ทำไมจุดจบนางร้ายละครไทยถึงวนลูปเดิม?

เป็นบ้า หน้าเสียโฉม หรือต้องตาย ทำไมจุดจบนางร้ายละครไทยถึงวนลูปเดิม?

ดูละครไทยมันเดาง่ายจะตาย เราเชื่อว่าคุณก็อาจจะเดาถูกว่า ถ้าละครเรื่องไหนมีนางร้าย จุดจบของพวกหล่อนก็จะมีอยู่ไม่กี่แบบนักหรอก อาจจะเป็นบ้า สติแตก ถูกฆ่าตาย หรือไม่ก็กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นล่ะ? หรืออาจเป็นเพราะละครไทยของเรามักจะยึดติดกับศีลธรรมอันดี มีแค่ขาวกับดำ หรือไอเดียของ ‘กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง’ บทสรุปของนางร้ายที่มักจะถูกจัดเป็นคนไม่ดีจึงวนซ้ำและใช้วิธีการ ‘ลบตัวตน’ ของพวกเธอออกไป และเราจำแนกออกมาให้เป็น 5 แบบที่อยากชวนคุณมาฟังกัน

Time Index

00:00 Intro

01:45 จุดจบนางร้ายเดาง่ายจะตาย!

05:07 ละครไทยพื้นฐานวิธีพุทธ ลบตัวตนของตัวร้ายออกไป

06.32 เสียโฉมไปเลยสิคะ!

10:20 จุดจบสุดคลาสสิกของนางร้ายไทย - เสียสติไปเล้ย!

13:37 ตายไปเลยสิคะ เรียบง่าย ฉับไว

17:42 ตัวร้ายหลายคนเองก็ ‘ตายทั้งเป็น’

18:33 พุดกรอง จาก เลือดรักทระนง คนบางคนอาจไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นแม่คน

21:40 กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี ก็คลาสสิกนะ!

25:40 ทุกคนเป็นนางเอกในเรื่องของตัวเองเสมอ

27:37 เส้นแบ่งของ ‘ตัวเอก’ กับ ‘ตัวร้าย’ ที่ค่อยๆ พร่าเลือนไป

Oct 26, 202131:08
EP.5 Hometown ของผู้ใหญ่ลีกับนางมา Cha-Cha-Cha! ความคล้ายคลึงบนสภาพสังคมที่แตกต่าง

EP.5 Hometown ของผู้ใหญ่ลีกับนางมา Cha-Cha-Cha! ความคล้ายคลึงบนสภาพสังคมที่แตกต่าง

ควันหลงจากซีรีส์รอมคอมชุบชูใจแห่งปี #HometownChaChaCha ทำให้โลกคือละครของเราได้มาพานพบกับสองพี่ ทั้ง พี่จิม และ พี่เอ็ด จาก #ดูซีรีส์ให้ซีเรียส เราจะมาร่วมกันพูดคุยถึงประเด็นในซีรีส์เรื่องดังกล่าว ที่ไฉนดูไปดูมาแล้วมันก็คลับคล้ายคลับคลาเหมือนละครไทยแถวนี้อย่าง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา อยู่ไม่เบานะ!

นอกเหนือจากประเด็นของคาแรกเตอร์ของตัวละครทั้ง หัวหน้าฮง vs. ผู้ใหญ่ลี หรือ ฮเยจิน vs. นางมา ภูมิลำเนา การสำนึกรักบ้านเกิดใดๆ และประเด็นหลายๆ อย่างที่คล้ายกันมากๆ แล้ว เรายังอยากชวนมาตั้งคำถามว่า ในเมื่อละครไทยเองก็มีส่วนประกอบที่น่าสนใจเช่นเดียวกันแทบจะทาบทับกันได้ แต่ทำไมเราถึงยังไม่สามารถไปได้ถึงจุดนั้นบ้าง?


Time Index

00:00 Intro

02:15 เรื่องย่อ Hometown Cha-Cha-Cha และ ผู้ใหญ่ลีกับนางมา

06:50 ฮเยจิน vs. นางมา

09.35 ผู้ใหญ่ลี vs. ฮงดูชิก

11:14 กงจิน vs. คลองหมาหอน

15:28 สำนึกรักบ้านเกิดต้องไปทำเกษตรกรรมเท่านั้นหรือ?

17:02 ละครไทยวางความทันสมัยไว้ตรงข้ามกับความดั้งเดิมเสมอ

19:04 กรณีเทียบเคียง #มนต์รักหนองผักกะแยง และ #หลงกลิ่นจันทน์

23:03 พื้นฐานใกล้กัน แต่ทำไมละครไทยทำไม่ถึงเขาล่ะ?

28:22 ต้องคิดว่าซีรีส์หนึ่งเรื่องฉายให้ Global Audience ชมแล้ว

32:11 การสนับสนุนจากภาครัฐที่เข้มข้น

Oct 19, 202137:48
EP.4 คบเด็กมันผิดหรือไง? อิสรภาพความรักต่างวัยของผู้หญิงยุคใหม่ในละครไทย

EP.4 คบเด็กมันผิดหรือไง? อิสรภาพความรักต่างวัยของผู้หญิงยุคใหม่ในละครไทย

อายุมันก็แค่ตัวเลข และความรักที่ต้องเป็นไปตามกรอบของสังคมกำหนดมันกำลังจะหมดไปแล้ว #โลกคือละคร ขอชวนคุณมาสำรวจละครที่มีตัวนำฝ่ายหญิง ‘อายุมากกว่า’ ฝ่ายชาย ออกฉายอย่างแพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้ง ให้รักพิพากษา, รักใช่ไหมที่หัวใจต้องการ, เกมรักเอาคืน และอีกมากมาย เมื่อถึงวันที่ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำเสมอไป และผู้หญิงไม่ได้มีบทบาทแค่เป็นแม่และเป็นเมียเท่านั้น ไอเดียของละครรักต่างวัยนี้กำลังบอกสภาพสังคมของเราอย่างไร?


Time Index

00:00 Intro

01:02 นางเอกแก่กว่า เทรนด์ใหม่หรือเปล่า?

02:57 ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงต้องจบแบบโศกนาฏกรรม

04:29 ผู้หญิงไม่ใช่แค่เมียและแม่อีกต่อไปแล้ว

06:38 ทิชา จาก #ให้รักพิพากษา

08:35 ณใจ จาก #รักใช่ไหมที่หัวใจต้องการ

12:17 นี่คือยุคของหญิงโสดติดทีวีหรือเปล่า?

15:01 คุณหญิงบ่าวตั้ง คุณหญิงกีรติ ตำนานของนางเอกกินเด็ก

17:26 เจ๊ดัน + หน้าใหม่ ส่วนผสมของนักแสดงจากสองยุค

19:50 อิสรภาพของผู้หญิงยุคใหม่

22:10 อย่าเอากรอบสังคมมาบังคับตัวเอง

Oct 12, 202123:59
EP.3 ซักประวัติ ‘รำนำ’ จาก #กระเช้าสีดา ทำไมถึงต้องแย่ง? หรือกาฝากจะอยากโตด้วยตัวเอง?

EP.3 ซักประวัติ ‘รำนำ’ จาก #กระเช้าสีดา ทำไมถึงต้องแย่ง? หรือกาฝากจะอยากโตด้วยตัวเอง?

ต้อนรับการกลับมาออกอากาศอีกครั้งของ #กระเช้าสีดา ละครม้ามืดเรตติ้งเปรี้ยงแห่งปีที่ทำให้ผู้ชมเซอร์ไพรส์ #โลกคือละคร จึงอยากขอชวนคุณมาซักประวัติผู้หญิงที่ชื่อ ‘รำนำ’ ผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นเพียง ‘กาฝาก’ เกาะกินไม้ใหญ่ ที่ทั้งทะเยอทะยานและหน้าด้าน แล้วเหตุใดเธอจึงมีนิสัยและการแสดงออกเช่นนี้ โดยสรุปคร่าวๆ จากบทประพันธ์ รวมถึงหยิบเอารำนำในเวอร์ชันปี 2537 มาพูดคุยเปรียบเทียบกับเวอร์ชันปัจจุบันด้วย มองตัวละครนี้ในมุมมองที่แตกต่างออกไปในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแบบไทยๆ ทั้งเรื่องต้นทุนและชนชั้นทางสังคม หรือศีลธรรมอันดีงามที่ตีกรอบไว้

หมายเหตุ: แก้ไขข้อมูลผิดพลาด นาทีที่ 03:30 ใบไม้ที่ปลิดปลิว เป็น บทประพันธ์ของ ทมยันตี ไม่ใช่กฤษณา อโศกสิน ทีมงานขออภัยไว้ ณ ที่นี้ และจะรอบคอบให้มากขึ้นในครั้งต่อๆ ไป


Time Index
03:11 เนื้อหาของกระเช้าสีดา เวอร์ชัน พ.ศ.2537
05:47 รำนำ ในนวนิยายเรื่องกระเช้าสีดา
08:30 ใครคือกระเช้าสีดา?
09:10 กระเช้าสีดา เวอร์ชัน พ.ศ.2564
14:00 มิติตัวละครและปมทางใจของรำนำ
20:38 รำนำ เวอร์ชัน พ.ศ.2564
22:45 สังคม และการให้เกียรติทุกอาชีพอย่างเท่าเทียม
26:09 ต้นทุนทางสังคมที่อาจต้องจ่ายในอนาคต

Oct 05, 202130:46
EP.2 สู้เขาสิวะอีหญิง! วิเคราะห์ 5 ผู้หญิงในละครไทยที่สะท้อนสังคมแต่ละยุคสมัย

EP.2 สู้เขาสิวะอีหญิง! วิเคราะห์ 5 ผู้หญิงในละครไทยที่สะท้อนสังคมแต่ละยุคสมัย

คุณคงคุ้นเคยกับชื่อของผู้หญิงเหล่านี้จากจอทีวีไทยทั้ง พจมาน สว่างวงศ์ จาก บ้านทรายทอง, มธุสร จาก ล่า, ปัทมา จาก ขมิ้นกับปูน, สไปร์ท จาก Hormones วัยว้าวุ่น หรือ อรุณา จาก เมีย 2018 ที่เพิ่งลาจอไปไม่กี่ปีก่อน ในเอพิโสดที่ 2 ของ #โลกคือละคร เราอยากชวนคุณมาทำความรู้จักพวกเธอให้มากขึ้นอีกสักหน่อย ทั้งในฐานะที่เป็นตัวละครผู้หญิงที่น่าสนใจ และยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมที่มีต่อ ‘ผู้หญิง’ ในช่วงเวลานั้นๆ พวกเธอทั้ง 5 คนนี้กำลังบอกอะไรเรา? และเธอกำลังหยัดยืนเพื่อเป็นตัวแทนของผู้หญิงหรือสังคมแบบไหนกันล่ะ?

Sep 28, 202135:37
EP.1 งูพิษและผู้หญิง ใน ‘แม่เบี้ย’ ทุกเวอร์ชันกำลังบอกอะไรเรา?

EP.1 งูพิษและผู้หญิง ใน ‘แม่เบี้ย’ ทุกเวอร์ชันกำลังบอกอะไรเรา?

ขอเปิดม่าน ‘โลกคือละคร’ ตอนแรกด้วยละครที่กำลังเป็นที่พูดถึงทั่วบ้านทั่วเมืองอย่าง #แม่เบี้ย ที่ดำเนินมาจนถึงปลายทางตอนจบแล้ว กับละครจากนิยายของ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ที่พร้อมท้าทายศีลธรรม ไม่ใช่แค่ของตัวละคร แต่หมายถึงคนดูอย่างเราๆ นี่แหละ ว่าคุณจะตัดสินและมองเรื่องราวนี้ด้วยความรู้สึกแบบไหน? เราหยิบยกเอา แม่เบี้ย ทุกเวอร์ชันมาพูดคุยกันตั้งแต่ยุค ฮันนี่ ภัสสร หรือ จุ๋ม แสงระวี เรื่อยมาจนเวอร์ชัน มะหมี่ หม่อมน้อย และเวอร์ชันล่าสุดทางช่อง 7 มาถกเถียงและค้นหาว่า ‘งู’ คืออะไร และเราเชื่อว่าทุกคนต่างมี ‘งู’ เป็นของตัวเองกันทั้งนั้น

Sep 21, 202126:47
EP.0 ถามจริงๆ ว่า ‘คุณยังดูละครไทยอยู่หรือเปล่า?’

EP.0 ถามจริงๆ ว่า ‘คุณยังดูละครไทยอยู่หรือเปล่า?’

THE STANDARD POPCAST ขอเสนอรายการพอดแคสต์ใหม่ล่าสุด ‘โลกคือละคร’ พอดแคสต์ที่ชี้ชวนให้คุณมาดูละครแล้วย้อนดูตัว สำรวจโลกจำลองที่สะท้อนสังคมไว้ในนั้น กับ 2 โฮสต์ผู้ชื่นชอบการดูละครไทยเป็นชีวิตจิตใจ วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส อดีตบรรณาธิการนิตยสาร HAMBURGER และ OK Magazine ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิง และยังเขียนบทวิเคราะห์ละครใน THE STANDARD POP อยู่เป็นประจำ ส่วนอีกหนึ่งโฮสต์ อรัณย์ หนองพล จากพิธีกรรายการ POP Live ครั้งนี้เขาจะเอาความชอบของเขาในเรื่องละครแบบไทยๆ มาชวนคุยกันในฐานะเพื่อนดูละครคนหนึ่ง

สำคัญที่สุดคือเราอยากชวนทุกคนสำรวจ ‘โลกคือละคร’ ใบนี้ไปด้วยกันว่า สิ่งที่ปรากฏบนจอกำลังบ่งบอกอะไรในสังคม มีอะไรอีกไหมที่ผู้ชมควรรู้ มีอะไรอีกไหมที่น่าหยิบมาถกเถียงกัน และมีอะไรอีกไหมที่ละครไทยจะสามารถพัฒนาให้ทัดเทียมงานบันเทิงโลกได้ มาร่วมกันรันวงการละครไทยให้เดินหน้าไปด้วยกัน ทุกวันอังคาร เวลา 20.00 น.

Sep 21, 202104:03