Skip to main content
ฟังให้รู้ Listening can change your life

ฟังให้รู้ Listening can change your life

By Nui Supasinee

สุขภาพกายใจ และสัพเพเหระใกล้ตัว
Available on
Apple Podcasts Logo
Overcast Logo
Pocket Casts Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

Ep 52: It's OK to be an introvert

ฟังให้รู้ Listening can change your life Nov 29, 2020

00:00
53:41
84-2: การปล่อยให้ท้องว่าง แนวทางเยียวยาที่ไม่ควรมองข้าม (2/2)

84-2: การปล่อยให้ท้องว่าง แนวทางเยียวยาที่ไม่ควรมองข้าม (2/2)

การจัดเวลาให้ท้องว่างนั้นไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด
ระหว่างนอนหลับเรากินไม่ได้อยู่แล้ว
และอย่างน้อยทำแค่สัปดาห์ละครั้งก็ได้รับประโยชน์บ้างแล้ว
ทั้งอวัยวะภายในได้พัก ทั้งลดไขมัน ทั้งฟื้นฟูให้กลับมาอ่อนเยาว์สดชืน

Dec 02, 202128:19
84-1: การปล่อยให้ท้องว่าง แนวทางเยียวยาที่ไม่ควรมองข้าม (1/2)

84-1: การปล่อยให้ท้องว่าง แนวทางเยียวยาที่ไม่ควรมองข้าม (1/2)

คุณเคยรู้สึกท้องว่างจริงๆไหม
คุณเคยคิดบ้างไหมว่าแต่ละวันกินมากเกินไปหรือเปล่า
ปกติคุณจะกินก็เมื่อหิว หรือแค่กินไปตามเวลา

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำำหรับการดำรงชีวิต
แต่ปริมาณและระยะเวลาของการกินก็มีอิทธิพลต่อการมีสุขภาพที่ดีได้เช่นกัน

「空腹」こそ最強のクスリ
"Hunger is the most strongest medicine"
หนังสือขายดีที่เขียนโดยนพ. อาโอกิ อัตซึชิ
คุณหมอได้บอกเล่าถึงประโยชน์ของการปล่อยให้ท้องว่างที่สร้างสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นในร่างกายในแบบที่เราไม่อาจมองข้ามได้

Nov 30, 202125:01
83: สัญญาณฟ้องว่าซึมเศร้า

83: สัญญาณฟ้องว่าซึมเศร้า

เศร้า หงอย หดหู่ ไร้คุณค่า
ไม่ว่าจะมาจากเหตุใด เช่น เครียดเรื้อรัง ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาสุขภาพฯลฯ
อย่าปล่อยให้ถึงขั้นซึมหนักจนหมดอาลัยตายอยากเลย
ลองสังเกตสัญญาณก่อนจะซึมจนกู้ลำบาก  
จะได้รับมือแต่เนิ่นๆ 

Nov 04, 202138:20
82: การลงทุนให้ตัวเอง

82: การลงทุนให้ตัวเอง

ในการสร้างความมั่งคั่งผ่านการลงทุนไม่ได้มีแค่เรื่องของการเงินเท่านั้น
การลงทุนให้ตัวเองเป็นการพัฒนาได้หลากหลายด้าน
ทั้งการลงทุนให้ได้มาซึ่งความรู้ ร่างกายที่มีสุขภาพดี และอื่นๆ
ทุกด้านล้วนสร้างประโยชน์ พัฒนา และเสริมสร้างทักษะให้เราเอง
ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินหรือไม่ในตอนแรก
แต่ในอนาคตก็สามารถสร้างรายได้หรือสนับสนุนอาชีพที่ทำอยู่ก็เป็นได้

Oct 24, 202143:42
Ep 81: การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

Ep 81: การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ในภาวะที่เรากำลังอยู่ท่ามกลางโรคภัยไข้เจ็บเช่นนี้
การมีภูิมคุ้มกันที่แข็งแรงถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยให้เราต้านทานกับภาวะนี้ได้ในระดับหนึ่ง
การมีด่านปราการป้องกันที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อสิ่งที่อาจจะเลวร้ายกว่าไม่ให้เกิดขึ้น
หรือแม้จะเกิดก็ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
หันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับด่านหน้านี้ด้วย 3 แนวทาง
1. แนวทางในพฤติกรรมการใช้ชีวิต
2. แนวทางการรับมือกับความเครียด
3. แนวทางด้านพฤติกรรมการกินและโภชนาการ

Oct 13, 202145:11
Ep 80: วิธีรับมือกับคนเจ้าปัญหาโดยไม่ให้เราประสาทเสีย

Ep 80: วิธีรับมือกับคนเจ้าปัญหาโดยไม่ให้เราประสาทเสีย

ความคิดเห็นที่แตกต่างเป็นเรื่องปกติ เนื่องด้วยแต่ละคนมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน
บ่อยครั้งที่เราอาจจะอารมณ์เสียไปกับคนที่มองต่างและโต้แย้งกลับอย่างไม่ลดราวาศอก
ยิ่งแย่งกันพูดก็ยิ่งเติมเชื้อไฟให้การโต้แย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ กลายเป็นทะเลาะกันใหญ่โตได้
ซึ่งอาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ลงได้
หากเราต้องเผชิญกับสถานการณ์ยาก ๆ กับคนยาก ๆ แล้ว
การโต้เถียงคืนก็อาจไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ใคร แถมทำให้ประสาทเสัยได้อีก
ลองฟังคำแนะนำนี้ดู เผื่อคราวหน้าจะได้ไม่เสียอารมณ์อีก

Apr 14, 202129:09
Ep 79: การสัมผัส หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของมนุษย์

Ep 79: การสัมผัส หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของมนุษย์

ร่างกายของเราถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อการสัมผัส
เพื่อรับรู้สภาพแวดล้อม เพื่อการสื่อสารและสังคม เพื่อแสดงและรับรู้ทางอารมณ์
นับเป้นส่วนหนึ่งของวิถีการใช้ชีวิต
แต่เมื่อการ Social Distancing พรากเราให้วางตัวต่อกันใหม่
แล้วเราจะจัดการกับสภาวะที่ต่างกับธรรมชาติที่เราคุ้นเคยได้อย่างไร

Apr 08, 202124:32
Ep 78: ทำไมการนอนหลับนานๆกลับยิ่งทำให้เพลียกว่าเดิม

Ep 78: ทำไมการนอนหลับนานๆกลับยิ่งทำให้เพลียกว่าเดิม

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการนอนหลับไม่พอทำให้สุขภาพเสีย
แต่การนอนหลับนานเกินไปก้ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน
การนอนทดแทนชั่วโมงการนอนที่หายไปใช่ว่าจะทำให้สดชื่น
แต่กลับทำให้สมองตื้อ ตัวหนัก และขี้เกียจ
รวมถึงโรคภัยที่หนักหนากว่า เช่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
ดังนั้น ไม่ว่าจะวันไหน ๆ
วันทำงาน หรือวันหยุด ก็สมดุลชั่วโมงการนอนให้พอดีๆกันล่ะ

Apr 01, 202122:11
Ep 77: ภาวะวัยทอง ไขข้อสงสัยที่ได้ยินมา

Ep 77: ภาวะวัยทอง ไขข้อสงสัยที่ได้ยินมา

วัยทองหรือภาวะวัยหมดประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนต้องได้เจอ
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งในชีวิตผู้หญิง
หลายคนอาจรู้สึกหาความสงบไม่ได้ในช่วงนี้
บางคนก็อาจไม่ทันสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นกัยตัวเองบ้าง
บางคนก็กังวลที่รอบเดือนเริ่มหายไป  
และเช่นกัน บางคนก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองถึงวัยที่ภาวะนี้มาถึงหรือยัง
หลายข้อมูลที่ได้ยินเขาว่ากันมากับคำถามที่อยู่ในใจ
มาคลายความสงสัยกัน กับประเด็นพื้น ๆ ที่เกี่ยวกับภาวะวัยหมดประจำเดือน

Mar 13, 202125:30
Ep 76: ทำไมน้องเหมียวถึงคลั่งไคล้กล่องกันนัก

Ep 76: ทำไมน้องเหมียวถึงคลั่งไคล้กล่องกันนัก

เหตุการณ์แบบนี้ ทาสแมวคงพอจะมีประสบการณ์กันมาบ้างแล้ว
ของเล่นดีๆมีไม่เล่น แต่ดันสนใจกล่องของเล่นมากกว่า
ที่นอนก็มีให้แต่กํดันชอบไปนอนที่ทีไม่ใช่ที่นอน
จะว่าไป น้องแมวก็ไม่รู้หรอกว่าอะไรถูกอะไรแพง ทาสจ่ายมาเท่าไร
น้องก็แค่ชอบกล่องน่ะ ด้วยเหตุผลหลายประการ
มาลองฟังดูนะ จะได้รู้กัน


Mar 07, 202119:08
Ep 75: การออกกำลังกาย เคล็ดลับสำคัญในการชะลอวัย

Ep 75: การออกกำลังกาย เคล็ดลับสำคัญในการชะลอวัย

ควาเสื่อมเป็นเรื่องธรรมชาติ ความชราภาพเป็นเรื่องหลีกหนีไม่ได้
แต่อายุนั้นเป็นแค่ตัวเลขได้ด้วยการออกกำลังกาย
ดูอย่างคุณยายทากิมิกะ แม้จะอายุ 90 ปีแล้ว แต่ยังฟิตปั๋ง
ยกเวตเห็นกล้ามเป็นลำ กางขาโน้มตัวสบายๆ
เดินได้วิ่งได้ ช่วยเหลือตัวเองได้อย่างไม่มีปัญหา
แถมยังสอนทั้งคนรุ่นเดียวกัน และรุ่นเด็กกว่าให้ออกกำลังกายอย่างแข็งขัน
อยากหน้าตากระชากวัย และสูงวัยอย่างมีสุขภาพต้องอย่าละเลยการออกกำลังกาย

Mar 01, 202139:51
Ep 74: Fasting กินเมื่อไร งดเมื่อไรดี

Ep 74: Fasting กินเมื่อไร งดเมื่อไรดี

การงดอาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ
การมีช่วงงดอาหารนับเป็ฯการเปิดโอกาสให้บางอวัยวะได้พักและบางอวัยวะได้ทำงานตามเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่การจะกินและการจะงดให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย ก็มีเรื่องจังหวะเวลามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
ลองจัดปรับตารางการกินกันดู

Feb 24, 202130:40
Ep 73: ภาษารัก

Ep 73: ภาษารัก

การแสดงความรักสามารถสื่อสารออกมาได้หลายแบบ
รูปแบบที่ต่างกันก็เหมือนภาษาที่ต่างกัน
หากไม่เข้าใจภาษารักของอีกคน ก็อาจตีความหมายหรือเจตนาผิด
เช่นกันหากเขาไม่รู้ภาษารักของเรา ความรักที่แสดงออกไปนั้นก็อาจไร้ความหมาย
การเรียนรู้ภาษารักของกันและกัน ช่วยส่งเสริมความเข้าใจ และประสานความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น

Feb 14, 202128:52
Ep 72: ความหิวทั้ง 7 ประเภท

Ep 72: ความหิวทั้ง 7 ประเภท

ความหิวมิได้ต้องตอบสนองด้วยอาหารเสมอไป
มันขึ้นอยู่กับประเภทของความหิว
และถึงแม้เป็นความหิวที่ต้องตอบสนองด้วยอาหาร
ก็ใช่ว่าจะกินปริมาณเท่าไรก็ได้
สำคัญกว่าคือ กินในปริมาณที่เรารู้ตัว และปริมาณที่จำเป็นจริง ๆ 

Feb 10, 202129:56
Ep 71: ทุกสรรพสิ่งในชีวิตล้วนมีขั้วตรงข้าม

Ep 71: ทุกสรรพสิ่งในชีวิตล้วนมีขั้วตรงข้าม

ประสบการณ์แย่ๆ เป็นคู่ตรงข้ามกับประสบการณ์ดี ๆ
คู่ตรงข้ามทำให้เราได้ตระหนักว่า เวลามีอะไรดีๆ เข้ามา สิ่งที่เคยแย่มันไม่เป็นเป็นอดีตไปแล้ว
อะไรก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ แม้จะวันดีๆ ก็จงมีสติ ไม่ประมาท พลาดท่าหากอีกวันมันจะกลับตาลปัตร
ทุกสรพพสิ่งไม่ว่าจะด้านบวกหรือลบ ล้วนมีบทเรียนให้เราเสมอ
อยู่ที่เราจะเอาพลังงานไปโฟกัสที่ด้านใด

Feb 06, 202116:26
Ep 70: การพักผ่อนไม่ได้มีแค่การนอนหลับ

Ep 70: การพักผ่อนไม่ได้มีแค่การนอนหลับ

"พักผ่อนนอนหลับ" วลีที่คุ้นเคยจนเราคุ้นชินว่าหากอยากพักก็ให้ไปนอน
แต่บางครั้งแม้จะนอนพักแล้วก็ยังไม่ฟื้นกลับมาสมองปลอดโปร่ง
หากเป็นเช่นนี้ ไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่อาจเพราะเลือกรูปแบบการพักที่ไม่เหมาะกับสภาพความเหนื่อยของเรา
การพักไม่ใช่แค่การพักทางกาย แต่ยังแบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ
ลองฟังดู เผื่อคราวหน้าจะได้พักให้ถูกทาง

Feb 02, 202122:30
Ep 69: อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อ้างอิงจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

Ep 69: อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อ้างอิงจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

อะไรที่ว่ากินแล้วดี กินแล้วไม่ดีนั้น เคยตั้งคำถามไหมว่าเราเอาคามเชื่อนั้นๆมาจากไหน
หากหมั่นหาข้อมูลเราก็น่าจะพอมั่นใจในส่ิงที่เราเชื่อ
แต่ก็คงมีไม่น้อยที่เราแค่ได้ยินมาหรือเขาแชร์กันมาว่าดี
เมื่อเขาว่าดีเราก็ว่าตามนั้นโดยไม่เคยลองเช็คแหล่งที่มาเลย
หนังสือ The Best Diet: Simple and Evidence-based Guide to Healthy Eating
เขียนโดย อ. ซึงาวะ ยูสุเกะ ได้รวบรวมประเด็นที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากการวิจัยมากมาย
โดยเน้นเฉพาะหลักฐานที่เชื่อถือได้นำมาเสนอ
มุ่งเน้นเพื่อให้เจ็บป่วยได้ยาก และอายุยืนยาว

Jan 29, 202130:13
Ep 68: ขี้เอาอกเอาใจ นิสัยที่ซ่อนความเป็นพิษต่อตนเอง

Ep 68: ขี้เอาอกเอาใจ นิสัยที่ซ่อนความเป็นพิษต่อตนเอง

การเอาใจเขามาใส่ใจเรา นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น นับเป็นส่ิ่งที่ดี
แต่หากเป็นการกระทำไปเพื่อเอาอกเอาใจอีกฝ่าย โดยเพิกเฉยต่อความรู้สึกของตัวเองหรือศักยภาพของตัวเอง ก็อาจนำพาความเดือดร้อนมาให้ตัวเองแทนก็ได้
ยิ่งหากเป็นการทำไปเพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบของอีกฝ่าย ก็เท่ากับปิดกั้นความเป็นตัวเอง แล้วยอมปล่อยตัวเองให้เป็นไปตามความต้องการของผู้อื่น
ส่งผลให้เราเสียความเป็นตัวของตัวเอง และนำมาซึ่งความเครียดสะสมได้ในภายหลัง

Jan 25, 202138:58
Ep 67: การรู้หลายภาษามีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง

Ep 67: การรู้หลายภาษามีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง

การเข้าใจภาษานั้นพึ่งพากิจกรรมทางสมองมากมายหลายอย่าง
ตั้งแต่การออกเสียง การทำความเข้าใจความหมาย การสร้างประโยค และไวยกรณ์
รวมถึงการใช้หูฟัง สายตาในการอ่าน ปากและอวัยวะทั้งหมดที่ใช้ในการออกเสียง
เราใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งอยู่ทุกวัน จนอาจไม่เคยสังเกตว่ากระบวนการทั้งหมดต้องเชื่อมต่อและรวดเร็วขนาดไหน
ยิ่งตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไป กระบวนการเหล่านี้ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น
และสมองต้องตื่นตัวเพื่อรับมือการสลับเปลี่ยนภาษา
รวมถึงประมวลผลที่ยิ่งยากขึ้นหากเป็นภาษาที่มีโครงสร้างต่างกันมาก ๆ และอาจมีบริบทจากความต่างทางวัฒนธรรมอีก
เหล่านี้ล้วนช่วยฝึกกระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัว และตอบสนองอย่างเฉียบคมขึ้น


Jan 20, 202134:35
Ep 66: คำถามที่ช่วยปรับปรุงการตัดสินใจของคุณ

Ep 66: คำถามที่ช่วยปรับปรุงการตัดสินใจของคุณ

ในแต่ละวันเรามีสิ่งให้ตัดสินใจมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่
อะไรเป็นสิ่งที่คำนึงจนส่งผลทำให้เราตัดสินใจเช่นนั้น
ส่วนใหญ่คนมักคำนึงถึงผลลัพธ์เป็นหลัก
แต่ผลลัพธ์ที่ดีก็ไม่ได้มากับการตัดสินใจที่ใช่เสมอไป ตัดสินใจพลาดแต่กลับเป็นเรื่องดีก็มีถมไป
ดังนั้น แทนที่จะคำนึงแต่ผลลัพธ์ ลองเปลี่ยนมาคำนึงถึงกระบวนการเพื่อการตัดสินใจ
เพื่อให้การตัดสินใจของเราเป็นไปอย่างรอบคอบมากขึ้น

Jan 17, 202120:14
Ep 65: สวัสดีแสงยามเช้า

Ep 65: สวัสดีแสงยามเช้า

พระอาทิตย์ให้ทั้งความอบอุ่นและความสว่างซึ่งบ่งบอกถึงสัญญาณในการเริ่มต้นวันใหม่
มีส่วนสำคัญต่อนาฬิกาชีวิตของเราในเรื่องของการตื่นและการนอน รวมถึงอารมณ์ด้วยเช่นกัน

Jan 14, 202112:43
Ep 64: WFH อย่างไรไม่ให้อีเรื่อยเฉื่อยแฉะ

Ep 64: WFH อย่างไรไม่ให้อีเรื่อยเฉื่อยแฉะ

Work from Home ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเทคโนโลยีสมัยนี้
เราใช้กันมากขึ้นตั้งแต่ปีก่อนในช่วงล็อคดาวน์
ปีนี้ทั้ง ๆ ที่ต้นปี ก็ต้องหันมา WFH กันอีกแล้ว
ทำงานที่บ้านอย่างไรให้ได้งาน
มาฟังเคล็ดลับกัน

Jan 12, 202125:14
Ep 63: Less is More ทำน้อยแต่ได้มาก

Ep 63: Less is More ทำน้อยแต่ได้มาก

ปริมาณไม่ได้บ่งบอกคุณภาพเสมอไป
ในการทำงานหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ หากเราจัดสรร แบ่งหมวดหมู่
คัดเลือกสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญออกมาจากสิ่งไม่ไม่สำคัญ
เราจะสามารถโฟกัสพลังงานของเราให้กับสิ่งนั้นได้อย่างเต็มที่
ได้งานที่มีคุณภาพ และผ่านกระบวนการที่ทำอย่างรอบคอบแล้ว
เมื่อเราสามารถขจัดสิ่งที่ไม่จะเป็นออกไปได้ เราก็จะพบว่า 24 ชั่วโมงที่มีเท่าๆกันในแต่ละวันนั้น
เรากลับมาเวลาเหลือไปทำสิ่งอื่น ๆ ที่เราชอบได้อีก

Jan 09, 202121:15
Ep 62: เรื่องเล็กๆโดยคนเล็กๆเพื่อโลกใบใหญ่

Ep 62: เรื่องเล็กๆโดยคนเล็กๆเพื่อโลกใบใหญ่

การเปลี่ยนแปลงระดับโลกมิสามารถเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้หากปราศจากการลงมือทำเพียงเล็กๆน้อยๆของแต่ละคน
แม้เราจะเป็นคนตัวเล็กๆ แต่หากช่วยกันทำแล้ว
ย่อมส่งผลและให้ประโยชน์ในวงกว้างได้
ปีใหม่ทั้งที นอกจากเป้าหมายเพื่อตัวเองแล้ว
ลองเพิ่มหัวข้อที่มีส่วนเชื่อมโยงกับคนรอบข้าง ชุมชน และสังคมกัน

Jan 06, 202137:54
Ep 61: ปลุกความมั่นใจและหันมารับรู้คุณค่าในตนเอง

Ep 61: ปลุกความมั่นใจและหันมารับรู้คุณค่าในตนเอง

ความก้าวหน้าและความสำเร็จมิอาจเกิดขึ้นได้หากเรามัวสบประมาทตัวเอง
ความคิดในมแง่ลบนั้นเป็นตัวลดคุณค่าในตนเอง
ทุกคนล้วนแตกต่างกัน มีแบบฉบับเป็นของตนเอง
ไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง
จงมองหาในสิ่งดีๆที่มีอยู่ในตัว คนอื่นจะมีดีก็ชื่นชมได้
แต่อย่าเอามาเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เราย้ำอยู่กับที่
ปีใหม่แล้ว มาเริ่มต้นใหม่ โอกาสที่จะดีขึ้น อยู่ในมือเรา ขอแค่ลงมือทำ

Jan 03, 202128:29
Ep 60: สิ่งที่ควรทำให้เสร็จก่อนวันสิ้นปี

Ep 60: สิ่งที่ควรทำให้เสร็จก่อนวันสิ้นปี

อย่าให้ปีเก่าผ่านไปอย่างไร้ความหมาย
ใช้เวลาที่เหลืออีกน้อยนิดในปีนี้มาทบทวนว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ได้เรียนรู้หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกับตัวเองบ้าง
จะได้นำมาเป็นแนวทางสำหรับปีหน้า
ไม่ว่าจะเรื่องการใช้ชีวิต การงาน สุขภาพ การเงิน ความสัมพันธ์ ฯลฯ
หากมีอะไรต้องสะสางก็จะได้จัดการให้เรียบร้อย
เตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไปในปีหน้า

Dec 30, 202019:59
Ep 59: รวมบทเรียนที่ได้ในปี 2020

Ep 59: รวมบทเรียนที่ได้ในปี 2020

ปีแห่งความไม่ปกติที่กลายเป็นปกติ
ความไม่ปกติที่พาการเปลี่ยนแปลงมาในหลายรูปแบบ
กระทบกับคนทั้งโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติที่มีร่วมกันและต่างกันไป
สิ่งไม่ปกติที่มองดูเป็นเรื่องแย่
แต่ในความแย่นั้นมีอะไรให้เรียนรู้ มีอะไรในแง่ดีอยู่ด้วย
อยู่ที่เราว่าจะเลือกเก็บสิ่งใด

Dec 28, 202039:13
Ep 58: ข้าวโอ๊ตกินดีมีประโยชน์

Ep 58: ข้าวโอ๊ตกินดีมีประโยชน์

ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยสารอาหารมากมาย
ทั้งวิตามิน เกลือแร่ ไฟเบอร์
แถมยังไม่มีกลูเตน และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
มีหลากหลายประเภทให้เลือกนำไปทำอาหารหรือขนมได้ตามความชื่นชอบ และความสะดวก
รวมถึงยังถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณอีกด้วย

Dec 24, 202033:54
Ep 57: Comfort zone .... ความทุกข์บนความสบาย

Ep 57: Comfort zone .... ความทุกข์บนความสบาย

เคยคิดเบื่อในการงาน ในวิถีชีวิตที่ทำอย่างคุ้นเคย

คุ้นเคยจนสบายแบบไม่ต้องกังวล

ดูเหมือนสบายใจ แต่ก็เบื่อในความจำเจ แต่ก็ไม่กล้าจะออกไปทำอะไรใหม่ ๆ ทั้งๆที่ก็โหยหาอะไรแปลกใหม่

คิดวนไป จมปรักอยู่ที่เดิม

นี่แหละทุกข์บนความสบาย

Dec 20, 202026:52
Ep 56: อย่ามองข้ามกรดไขมันที่จำเป็น

Ep 56: อย่ามองข้ามกรดไขมันที่จำเป็น

สุขภาพจิตบางกรณ๊ก็เป็นตัวสะท้อนของปัญหาสุขภาพกายจากการขาดสารอาหารบางอย่างได้เช่นกัน
กรดไขมันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม
แน่นอนว่าเราไม่ควรบริโภคไขมันมากเกินไป
แต่ต้องแบ่งแยกก่อนว่าเป็นประเภทไขมันอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว
ที่เราควรเลี่ยงคือประเภทอิ่มตัว
ส่วนพวกไม่อิ่มตัวนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรตัดออกจากโภชนาการโดยสิ้นเชิง
เพราะไขมันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสมอง และสมองก็ต้องการมันไปตลอดชีวิตเรา

Dec 17, 202024:40
Ep 55: รอได้ก็จะได้ดีเอง

Ep 55: รอได้ก็จะได้ดีเอง

การรอให้เป็นช่วยฝึกเราหลายอย่างดังคำสอนของหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล ที่ว่า

“นิ่งได้ ทนได้ รอได้ ช้าได้ ดีได้”

เมื่อช้าลง รอได้ มันก็จะดีทั้งกับตัวเราทั้งทางกายและจิตใจ
คนรอบข้างก็จะได้อานิสงค์จากที่เราเป็นคนน่ารักขึ้นด้วย
แค่รอให้เป็นเท่านั้นเอง ชีวิตก็เปลี่ยนได้

Dec 13, 202037:33
Ep 54: นิสัยแย่ๆที่ควรละทิ้งเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Ep 54: นิสัยแย่ๆที่ควรละทิ้งเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่ใครก็ล้วนปรารถนา หลายคนจึงไขว่คว้าหาแนวทางต่าง ๆ ในการพัฒนาตัวเอง เติมความรู้ เพิ่มทักษะ เพื่อเสริมศักยภาพให้มากขึ้น การพัฒนาตนเองในเชิงรุกนับว่าเป็นเรื่องดี แต่ของใหม่ที่เราจะเติมเข้าไปนั้นมันอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลได้ยากหากเรายังไม่ทิ้งเก่าที่แย่ ๆ ออกไปเสียก่อน

ในการจะเปลี่ยนแปลงนั้น หลายคราเราอาจนึกโทษคนอื่น และสภาพแวดล้อมรอบตัว แต่การจะเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่นนั้น เราย่อมรู้ดีกันแล้วว่าเป็นเรื่องแสนยากขนาดไหน ดังนั้น แทนที่จะละทิ้งสิ่งนอกตัว จะดีกว่าไหมที่ตั้งต้นเปลี่ยนแปลงจากการละทิ้งนิสัยเดิมแย่ๆ ของเราก่อน


Dec 10, 202029:46
Ep 53: คุณมีโครงสร้างร่างกายแบบไหน

Ep 53: คุณมีโครงสร้างร่างกายแบบไหน

โครงสร้างร่างกายนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการออกกำลังกายที่ลงแรงทำไปได้ออกมาต่างกัน รวมถึงอาหารการกินด้วย
หลังจากมีการศึกษาผ่านภาพถ่ายแล้ว จึงแบ่งคนออกมาเป็น 3 โครงสร้างในแบบที่ต่างกัน
คือ 

  • Ectomorph = ผอมแห้ง
  • Mesomorph = สมส่วน
  • Endomorph = อ้วนกลม

ทั้ง 3 แบบมีโครงสร้างของกระดูก รูปแบบกล้ามเนื้อ และแม้แต่บุคลิกภาพเด่นประจำแต่ละแบบ
ดังนั้น รูปแบบการออกกำลังกายของแต่ละแบบและโภชนาการจึงแตกต่างกันไปด้วย

Dec 03, 202018:59
Ep 52: It's OK to be an introvert

Ep 52: It's OK to be an introvert

Introvert หรือคนชอบเก็บตัว ถือเป็นบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง ไม่ได้ตีความจากการเป็นพวกแสดงตัวตนหรือไม่
แต่เป็นคนที่อ่อนไหวง่ายทั้งร่างกายและอารมณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงเล็ๆน้อยๆ และสิ่งเร้าภายนอก โดยเฉพาะจากคน
จึงมีพื้นที่ในการเก็บตัว ปลีกออกผู้คนเป็นการชั่วคราวอยู่เสมอเพื่อชาร์ทพลังงานกลับ
การเป็นคนพูดน้อย ใช้เวลาในการวางแผนและตัดสินใจจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
คนชอบเก็บตัวจะมีจังหวะในแบบของตัวเอง และจะง่ายกว่าถ้าปล่อยให้เขาดำเนินไปตามจังหวะของเขา
รวมถึง หากการขอปลีกตัวไปชั่วคราว นั่นก็เป็นประสงค์ของเขาจริงๆ
ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะเหงา เชื่อเถอะ เขาอยู่ได้จริง ๆ

Nov 29, 202053:41
Ep 51: เห็ด....จากเชื้อราธรรมดามาเป็นแหล่งสารอาหาร

Ep 51: เห็ด....จากเชื้อราธรรมดามาเป็นแหล่งสารอาหาร

จากเชื้อราชั้นสูงตามป่า กลายมาเป็นสิ่งที่มีติดครัว นำมาปรุงอาหารทั้งธรรมดาและชั้นหรู
มีประวัติการนำมาใช้มาแล้วยาวนานในโลกฝั่งตะวันออก และสุดท้ายรวมถึงฝั่งตะวันตก
ด้วยสรรพคุณมากมาย และเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากผักอื่นๆ
จึงถูกนำมาใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ด้วย
ไฟเบอร์ก็มากทำให้อิ่มท้อง ถอยห่างจากความอ้วน
สำคัญคือชะลอความเสื่อมตามวัยด้วยนะ

Nov 26, 202029:30
Ep 50: คาร์โบไฮเดรตเป็นของต้องห้ามจริงหรือ

Ep 50: คาร์โบไฮเดรตเป็นของต้องห้ามจริงหรือ

 คาร์โบไฮเดรตถือเป็นหนึ่งในสารอาหารหลักของมนุษย์

เมื่อเป็นสารอาหารหลักก็แสดงว่าเป็นสิ่งจำเป็น

แต่เมื่อพูดถึงโรคภัยที่มาจากการกิน  คาร์โบไฮเดรตก็เป็นผู้ถูกกล่าวหาลำดับต้นๆ

เราควรดำรงชีวิตโดยปราศจากคาร์โบไฮเดรตจริงๆหรือ?

ความจำเป็นนั้นมากน้อยต่างกันไปในแต่ละบุคคล 

และคาร์โบไฮเดรตที่่ดีนั้นมีอะไรบ้าง

Nov 22, 202034:42
Ep 49: คาร์ดิโอมีอะไรดีมากกว่าแค่หัวใจแข็งแรง

Ep 49: คาร์ดิโอมีอะไรดีมากกว่าแค่หัวใจแข็งแรง

คาร์ดิโอ มีความหมายว่า การออกกำลังกายที่เพิ่มอัตรการเต้นของหัวใจ
แน่นอนว่ามีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

นอกจากประโยชน์ทางกายภาพแล้ว ยังมีผลดีต่อทั้งสมองและจิตใจ
ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงการงาน การเรียน และชีวิต
หากการกิน การนอน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต 

ก็อย่างลืมนำออกกำลังกายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตด้วยละกัน

Nov 19, 202026:00
Ep 48: ไอเดียดีๆเริ่มต้นจากใต้ฝักบัว

Ep 48: ไอเดียดีๆเริ่มต้นจากใต้ฝักบัว

ความคิดสร้างสรรค์มันจะมาปุบปับแบบไม่ให้ตั้งตัว
ตอนไม่ตั้งตัวนี่แหละที่เป็นช่องทางออกของมัน
ยิ่งพยายามคิดยิ่งตัน
ยิ่งปล่อยสบายๆกลับยิ่งพร่างพรู

และการอาบน้ำ นับเป็นช่วงเวลาส่วนตั๊วส่วนตัว
เงียบ ๆ มีแต่เสียงน้ำที่จิตใจล่องลอยไป ณ จุดเหนือจินตนาการ
จนสุดท้ายเป็นไอเดียเจ๋ง ๆ ในชีวิตนอกฝักบัว
 

Nov 15, 202034:15
Ep 47: ปรับปรุงทักษะการฟังแม้กับสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย

Ep 47: ปรับปรุงทักษะการฟังแม้กับสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย

การสนทนา แปลว่า การพูดคุยกัน ปรึกษาหารือกัน พูดจาโต้ตอบกัน
เป็นการผลัดกันพูดผลัดกันฟัง แต่ดูเหมือนคนส่วนใหญ่ถนัดจะแย่งพูดมากกว่าฟัง
การไม่ฟังอย่างตั้งใจถือเป็นการพลาดโอกาสที่จะรับรู้และเข้าใจอะไรมากขึ้น
การเป็นผู้ฝึกที่ดียอกจากเป็นการแสดงความถ่อมตัวแล้ว ยังถือเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องการพัฒนาตนเอง
เราจะก้วหน้าได้ดีหรือไม่ ก็วัดกันที่การฟังนี่แหละ

Nov 12, 202025:14
Ep 46: ย้อนวัยแม้สูงอายุด้วยการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

Ep 46: ย้อนวัยแม้สูงอายุด้วยการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

ความเสื่อมเป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอนไม่ว่าจะเป็นใคร
เมื่ออายุมากขึ้นแล้ว อวัยวะต่างๆเรอ่มเสื่อม กล้ามเนื้อก็อ่อนแอลง
อะไรเป็นปัจจัยทำให้เกิดการเสื่อมนี้ลง

ข่าวดีคือ แม้สูงวัยแล้ว นักวิจัยพบว่าเรายังสามารถฟื้นฟูมันให้กลับมาแข็งแรงได้
อย่านิ่งนอนใจ ไม่ต้องรอให้แก่ก็ได้ ลุกขึ้นมาออกกำลังกายกัน

Nov 08, 202036:23
Ep 45: ยิ่งผลัดวันประกันพรุ่ง ยิ่งเป็นการผัดผ่อนอนาคตที่ดีขึ้น

Ep 45: ยิ่งผลัดวันประกันพรุ่ง ยิ่งเป็นการผัดผ่อนอนาคตที่ดีขึ้น

ในการทำสิ่งใดก็ตาม ขั้นตอนที่ยากที่สุดคือตอนเริ่มต้น
หากผัดผ่อนมันไปเรื่อย ๆ ก็ไม่มีวันได้ลิ้มลองถึงประสบการณ์อันเป็นช่วงที่ทั้งสนุก ท้าทาย หรือลำเค็ญที่สุดก็เป็นได้
อนาคตจะออกมาอย่างไรก็อยู่ที่วันนี้
วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของวันถัด ๆไป
งานจะเสร็จ ชีวิตจะเปลี่ยน จะเกิดขึ้นได้ถ้าเราเริ่มต้นลงมือทำมันซะเดี๋ยวนี้
แล้วจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้มันไปต่อได้จนจบนั้นเป็นอีกสเต็ปนึง
อย่ารอรี เริ่มตั้งแต่วันนี้เลยนะ

Nov 05, 202018:20
Ep 44: การพัฒนาตนเองควรเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์ มิใช่บั่นทอนตนเอง

Ep 44: การพัฒนาตนเองควรเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์ มิใช่บั่นทอนตนเอง

แนวทางการพัฒนานั้นมีมากมาย แหล่งข้อมูลก็มีไม่น้อยเช่นกัน
อะไรที่เขาว่าดี ก็ใช่ว่าจะเหมาะกับเราเสมอไป
ก่อนจะลงมือทำ เลือกสิ่งที่ตรงจริต เลือกสิ่งที่มันเป็นไปได้สำหรับคุณ เลือกในสิ่งที่ตรงกับพลังงานของคุณ
เมื่อลมือทำแล้ว ค่อย ๆก้าวไปทีละนิด
ทีละนิดพอที่จะทำให้เราได้เห็นความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงได้เสมออย่างไม่กดดัน หรือวิ่งไล่ใคร
แค่วิ่งไล่ตัวเองก็พอแล้ว


Nov 01, 202035:17
Ep 43: ข้อแนะนำเพื่อมีชีวิตอย่างผู้มีชัยจากยอดซามูไรมูซาชิ

Ep 43: ข้อแนะนำเพื่อมีชีวิตอย่างผู้มีชัยจากยอดซามูไรมูซาชิ

มูซาชิเป็นซามูไรระดับตำนานของญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในการต่อสู้ที่ไม่เคยพ่ายแพ้มาก่อน
อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆของเขาทั้งงานศิลป และงานเขียน
งานเขียนที่ได้รับคำยกย่องคือ คัมภีร์ห้าห่วง
คัมภีร์ที่เต็มไปด้วยปรัชญาการดำเนินชีวิตตามวิถีแลัจิตวิญญาณแห่งซามูไร
แม้กาลเวลาผ่านไปนานแค่ไหน แตีข้อคิดจากเขาก็ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้เสมอ

Oct 29, 202035:33
Ep 42: แบคทีเรียในลำไส้ เลี้ยงดีมีสุข เลี้ยงแย่ระทมทุกข์

Ep 42: แบคทีเรียในลำไส้ เลี้ยงดีมีสุข เลี้ยงแย่ระทมทุกข์

ท้องไส้เรานั้นเชื่อมต่อกับสมอง และมีระบบประสาทที่ใช้ควบคุมการทำงานของมันโดยเฉพาะ
รวมถึง ในท้องไส้ของเราถือเป็นอีกระบบนิเวชหนึ่ง แม้พื้นที่ไม่มาก แต่อุดมไปด้วยแบคทีเรียจำนวนเป็น100ล้านล้าน
จำนวนมากมายที่มีทั้งตัวที่เป็นมิตรและตัวผู้ร้าย
และการเปลี่ยนแปลงของเจ้าแบคทีเรียเหล่านี้มีผลกับการเปลี่ยนแปลงของสารประสาท
สมองในหัวแม้เป็นนายใหญ่ แต่ท้องไส้เรามันก็คิดอะไรเองได้ มันคุยกับนายใหญ่และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้ด้วย
ดังนั้น อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพเจ้าตัวดีนั้นช่วยรักษาระบบนิเวชให้ดี
เมื่อพวกเค้าอยู่อย่างเป็นสุข ก็จะส่งผลให้เราเป็นสุขได้ด้วย

Oct 25, 202033:58
Ep 41: ธรรมชาติของความโกรธ

Ep 41: ธรรมชาติของความโกรธ

ความโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ  เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ฝังแน่นในชีววิทยาของมนุษย์เรา
ในระดับกายภาพแล้ว ปฏิกิริยาหรือการตอบสนองต่อความโกรธนั้น เริ่มต้นจากในสมองซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากในระดับที่เราอาจไม่ทันรู้ตัว
แม้การตอบสนองต่อภัยคุกคามด้วยความโกรธจะเป็นสัญชาตญาณหนึ่งเพื่อเอาตัวรอด
แต่อย่าให้มันครอบงำเราจนเป็นภัยคุกคามต่อตนเองแทนละกัน

Oct 22, 202027:20
Ep 40: มนุษย์กาแฟ VS มนุษย์ชา

Ep 40: มนุษย์กาแฟ VS มนุษย์ชา

ชาและกาแฟ เครื่องดื่มทั้ง 2 ประเภทล้วนมีคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบทั้งคู่ มีประโยชน์ต่อสุขภาพหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เช่น เสริมสร้างความตื่นตัว ปรับอารมณ์ และเพิ่มความสามารถในการเผาผลาญ หากมากเกินไปก็จะให้ผลที่กลับกับ คือสร้างความวิตกกังวล ความฟุ้งซ่าน นอนหลับยาก รวมถึงอาการติด แม้ผลจะเหมือน ๆ กัน แต่รสนิยมที่ต่างกัน เลยมีความชื่นชอบที่ต่างกัน นักดื่มกาแฟกับนักดื่มชา เขาต่างกันอย่างไรหนอมาฟังกัน

Oct 18, 202034:31
Ep 39: 14 วันที่ฉันหายไป

Ep 39: 14 วันที่ฉันหายไป

เรื่องเล่าหลังจากไปเดินนั่งมาราธอนมา

ไม่ใช่แข่งกีฬา แต่เป็นวิปัสสนาค่ะ

ไม่ได้แข่งกับใคร แต่สู้กับใจตัวเอง

ลับคมสติ พาใจกลับบ้านที่เป็น "ปัจจุบัน"

Oct 15, 202040:11
Ep 38: การเลิกสนใจข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูลที่ใช่

Ep 38: การเลิกสนใจข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูลที่ใช่

ในยุดที่อินเตอร์เนตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน
อินเตอร์เนตจึงเป็นแหล่งข้อมูลหลักๆในการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร
แต่ความมากใช่ว่าจะดี ยิ่งมากเรายิ่งไม่ได้สิ่งที่ใช่
แถมกลับเสียเวลาไปมากเกินควรกว่าจะได้ข้อมูลที่ใช่มา
การคัดกรองข้อมูลและละเลยบางข้อมูลบ้างจึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คนยุคนี้ควรมีติดตัวไว้
Oct 11, 202031:57
Ep 37: อุปนิสัยของมนุษย์ที่เปิดใจกว้างแท้จริง

Ep 37: อุปนิสัยของมนุษย์ที่เปิดใจกว้างแท้จริง

การได้ปฏิสัมพันธ์กับคนที่เปิดใจหรือใจกว้างก็เหมือนเราได้อิสระที่ได้เป็นตัวของตัวเองกับใครคนหนึ่ง
และเป็นคุณสมบัติที่แม้เราเองก็ควรมีด้วยเช่นกัน
หากทั้งเขาและเราต่างเปิดใจให้แก่กัน ความขัดแย้งจะน้อยลง
สังคมที่เข้าใจกัน รับฟังกัน ให้โอกาสกัน จะช่วยให้กลายเป็นสังคมที่สงบสุขได้
Oct 07, 202024:22
Ep 36: เราควรออกกำลังกายมากขนาดไหน

Ep 36: เราควรออกกำลังกายมากขนาดไหน

การออกกำลังเป็นหนึ่งในหลักการของการมีสุขภาพที่ดี
แต่ยิ่งมากใช่ว่ายิ่งดี  แต่จะแค่ไหนดีล่ะ มันขึ้นอยู่กับว่าเราทำไปเพื่ออะไร
เป้าหมายต่างกันความเข้มข้นต่างกัน
จะจริงจังแค่ไหนดีมาฟังกัน

Oct 04, 202030:09