Skip to main content
START IT UP

START IT UP

By start it up

START IT UP Podcast บอกเล่า และแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ และแนวทางการเป็นผู้ประกอบการในยุคอินเทอร์เน็ต
Available on
Apple Podcasts Logo
Google Podcasts Logo
Pocket Casts Logo
PodBean Logo
RadioPublic Logo
Spotify Logo
Currently playing episode

EP 22 - แนวทางการสร้าง Information Product สกัดความรู้ที่เรามีมาเขียนเป็น Ebook ขายให้กับผู้คน

START IT UPJun 01, 2019

00:00
27:45
EP 22 - แนวทางการสร้าง Information Product สกัดความรู้ที่เรามีมาเขียนเป็น Ebook ขายให้กับผู้คน

EP 22 - แนวทางการสร้าง Information Product สกัดความรู้ที่เรามีมาเขียนเป็น Ebook ขายให้กับผู้คน

ติดไว้ตั้งแต่ EP 21 กับแนวทางการเขียน Ebook เพื่อขายให้กับผู้คน ธุรกิจที่สร้างจากความรู้ที่เรามี แต่ความรู้อะไรเล่าที่ผู้คนต้องการ EP 22 นี้ผมจะมาแนะนำแนวทางในการเริ่มต้นทำ Information Product โดยเฉพาะการเขียน Ebook ขายให้กับผู้ที่สนใจ ความดีงามของ Ebook คือ มันเป็น Digital Product คือ การสร้างมาครั้งเดียว และสามารถขายได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องมีการสต๊อกสินค้า และต้นทุนการจัดส่งที่แทบจะเป็นศูนย์ นั่นทำให้เวลาที่ผมขาย Ebook ผมสามารถเซ็ตระบบจัดส่งสินค้าอัตโนมัติ หรือจัดส่งไปให้ทางอีเมล์ของลูกค้าได้โดยทันที ซึ่ง Physical Product ทำแบบนั้นไม่ได้ และมันเป็นสเน่ห์ของคนทำ Information Product 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เสาะหาแนวทางในการสร้าง Information Product เพื่อสร้างรายได้เสริม EP 22 นี้มีประโยชน์กับคุณแน่นอนครับ หากต้องการข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นผมได้เขียนแนวทางไว้ในบล็อก START IT UP แล้ว สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://startitup.in.th/share-experience-and-how-to-write-ebook-generating-passive-income/

Jun 01, 201927:45
EP 21 - แชร์ความสนใจเกี่ยวกับการทำ Video Content และการสร้างคอร์สออนไลน์ Digital Asset ยอดนิยมในยุคปัจจุบัน

EP 21 - แชร์ความสนใจเกี่ยวกับการทำ Video Content และการสร้างคอร์สออนไลน์ Digital Asset ยอดนิยมในยุคปัจจุบัน

EP 21 เบา ๆ สบาย ๆ กับช่วงที่ผมหยุดอัด Podcast ไป 1 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เกี่ยวกับการทำ Video Content ซึ่งผมไปลงเรียนคอร์สออนไลน์มา 2 ตัว คือ 1) คอร์ส Youtube 100,000 Sub ของคุณโอเฟิร์สคลิก และ 2) Udemy Masters: Learn Online Course Creation - Unofficial ของ Phil Ebiner เจ้าของคอร์สเรียนออนไลน์กว่า 90 คอร์ส และมีนักเรียนกว่า 900,000 คน บน Udemy

คอร์ส Youtube 100,000 Sub คือ ผมอยากรู้กระบวนการการเป็น Youtuber ตั้งแต่การหาไอเดีย การสร้าง Content การเผยแพร่ และการสร้างรายได้

คอร์ส Udemy Masters ผมต้องการรู้เทคนิคทั้งหมดในการผลิตคอร์สออนไลน์  ตั้งแต่การหาไอเดีย การเลือกอุปกรณ์ในการผลิต การเลือกแพลตฟอร์มสำหรับคอร์สออนไลน์ และการทำการตลาด

Phil Ebiner เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมเห็นว่าอะไรก็สามารถเอามาผลิตเป็นคอร์สออนไลน์ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่คุณทำเป็นประจำอยู่แล้วจากงานประจำ หรืองานอดิเรก

เอาเป็นว่าไม่ได้หายไปไหนนะครับ สำหรับ START IT UP Podcast มาช้าหน่อย เพราะมันแต่ตื่นเต้นกับการเรียนรู้การทำ Video Content เพื่อนำไปสู่การสร้างคอร์สออนไลน์ของตัวเองในอนาคตครับ ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

May 04, 201915:60
EP 20 - เรื่องราวของ Travis Kalanick กับการก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพปฏิวัติอุตสาหกรรมขนส่ง นามว่า Uber

EP 20 - เรื่องราวของ Travis Kalanick กับการก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพปฏิวัติอุตสาหกรรมขนส่ง นามว่า Uber

แม้ว่า Travis Kalanick จะลาออกจากการเป็น CEO ของ Uber ไปแล้วในปี 2017 จากปัญหาต่าง ๆ นานาที่ Uber ต้องเผชิญและยังแก้ไม่ขาด แต่ความน่าสนใจของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงที่สุดตัวหนึ่งของโลกอย่าง Uber เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าธุรกิจสตาร์ทอัพควรเริ่มต้นจากปัญหา ปัญหาที่หนัก ใหญ่ และยาวนี่แหละ คือ โอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ในโลกของสตาร์ทอัพ

START IT UP Podcast - EP 20 ว่าด้วยเรื่องราวของ Travis Kalanick ชายผู้ก่อตั้ง Uber ประวัติของผู้ชายคนนี้ไม่ธรรมดา เขาฉายแววความเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการเร่ขายชุดมีดทำครัวตามบ้านในละแวะที่เขาอยู่ และในวัย 18 ปี เขาเปิดธุรกิจติวสอบ SAT ที่ชื่อว่า New Way Academy ขึ้น 

ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย Travis ยอมลาออกจากมหาวิทยาลัยกลางคัน และชวนเพื่อนมาเปิดธุรกิจ Search Engine แบบ P2P นามว่า Scour ก่อนที่จะถูกบอกบริษัทสื่อ 33 แห่งฟ้องร้องเป็นเงินกว่า 250,000 ล้านเหรียญ จนเขาต้องยื่นล้มละลาย จากนั้นเพื่อแก้แค้นบริษัทสื่อเขากับพรรคพวกได้เปิดบริษัทแชร์ไฟล์อีกบริษัทที่ชื่อว่า Red Swoosh และไม่นานก็ถูกซื้อไปโดย Akamai Technologies

หลังจากที่ขาย Red Swoosh ไป Travis มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ทันที เขาได้พบกับ Garrett Camp ซึ่งเป็น CEO ของ StumbleUpon ที่งาน LeWeb ในกรุงปารีส เหตุการณ์การถูกรถ Taxi ปฏิเสธนี่เอง ที่ทั้งคู่นำปัญหานี้มาขบคิดจนได้ไอเดียการเรียกรถลีมูซีน ให้ไปรับไปส่งง่าย ๆ จากการกดปุ่มเดียวบนแอพมือถือ

Garrett Camp กลับมาสานต่อไอเดียที่ซานฟรานซิสโก เขาทำ Prototype ก่อนที่จะชวน Travis ให้มาเป็นที่ปรึกษาในปี 2009 และเดือนมกราคม 2010 พวกเขาทดสอบไอเดีย Uber ในนิวยอร์คด้วยรถเพียงแค่ 3 คน

Uber เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเมืองนิวยอร์ค เดือนกรกฎาคม 2010 และนั่นทำให้บริการที่เรียบง่ายอย่างการกดปุ่มเดียว แล้วมีรถมารับฮิตระเบิดไปทั่วทั้งเมือง พวกเขาได้รับเงินลงทุนอย่างรวดเร็วในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พวกเขาขยายบริการ Uber ไปยังเมืองต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และต้องเจอปัญหาทั้งทางด้านกฎหมาย และผู้ประกอบการรถ Taxi ในท้องถิ่น 

ด้วยความที่ Travis ไม่ยอมแพ้ เขากัดฟันสู้ยิบตากับปัญหาเหล่านั้น จน Uber สามารถขยายไปหลายเมืองทั่วโลกได้สำเร็จ นอกจากนี้พวกเขายังมองไปไกลกว่าในปัจจุบัน ด้วยการปรับตัวจากธุรกิจเรียกรถ Taxi ไปสู่บริการทางด้าน Logistic ซึ่งมีบริการรับส่งของที่เกิดขึ้นจาก Uber มากมาย รวมไปถึงการลงทุนวิจัยรถยนต์ไร้คนขับ เพื่อช่วยให้ต้นทุนค่าบริการในอนาคตของ Uber นั้นถูกลง

ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ Uber ได้ถอนตัวออกไป เช่น จีน รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทย เพราะไม่คุ้มกับการผลาญเงินเพื่อแข่งกับเจ้าตลาดในภูมิภาคนั้น ๆ อย่าง Didi และ Grab ธุรกิจต้องกลับมาโฟกัสที่การสร้างรายได้ เพื่อให้ได้ผลกำไร เพราะธุรกิจในทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเงินลงทุนจากนักลงทุน ซึ่งอันตรายมาก ๆ อย่างไรก็ตาม Uber วางแผนที่จะเข้า IPO ปี 2019 ด้วยมูลค่าที่ถูกคาดการณ์ไว้สูงถึง 120 Billion Dollar 

Mar 17, 201931:33
EP 19 - Blue Bottle Coffee กับความคาดหวังในการเป็น "คลื่นลูกที่สาม" ในวงการธุรกิจกาแฟ

EP 19 - Blue Bottle Coffee กับความคาดหวังในการเป็น "คลื่นลูกที่สาม" ในวงการธุรกิจกาแฟ

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Starbucks เป็นหนึ่งในเชนร้านกาแฟที่ใหญ่เป็นลำดับต้น ๆ ของโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบแนวคิดบ้านหลังที่ 3 จะมีธุรกิจกาแฟอะไรบ้างที่สามารถกลายเป็น "คลื่นลูกที่สาม" เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตได้บ้าง ชื่อ Blue Bottle Coffee คงดังขึ้นมาจากการได้รับเงินลงทุนจาก Venture Capital หรือเรียกสั้น ๆ ว่า VC ที่เราคุ้นหูกันดีในวงการสตาร์ทอัพ

Blue Bottle Coffee ได้รับเงินลงทุนมา 3 รอบ Series A, B และ C จาก VC หลายเจ้าในแวดวงซิลิคอน วัลเลย์ ปัจจุบันธุรกิจถูก Nestle ซื้อไปในราคา 500 ล้านเหรียญ นักลงทุนซื้ออะไรใน Blue Bottle ธุรกิจหน้าร้านที่มองยังไงก็ขยายตัวได้ยาก คำตอบ คือ วิสัยทัศน์ของ James Freeman อดีตนักเป่าแคลริเน็ตฟรีแลนซ์ ชายผู้มองหากาแฟรสชาติที่เขาต้องการ ซึ่งไม่มีร้านไหนในซาน ฟรานซิสโกตอบสนองความต้องการของเขาได้ ด้วยความหลงในการชงกาแฟแบบญี่ปุ่นด้วยเครื่องสูญญากาศ Blue Bottle Coffee หรือร้านกาแฟขวดน้ำสีฟ้าจึงถือกำเนิดขึ้น

ด้วยความเรียบง่ายของแบรนด์ รวมถึงการอนุมาณถึงความต้องการของนักดื่มกาแฟแบบถึงแก่นทำให้ Blue Bottle ถูกคาดหวังว่านี่ คือ Apple แห่งวงการธุรกิจกาแฟ ถึงขั้นสร้างปรากฏการณ์คนต่อแถวซื้อกาแฟจนล้นออกมานอกร้าน ราวกับวันแรกที่ไอโฟนวางขายไม่มีผิด 

ด้วยรสชาติกาแฟที่ยอดเยี่ยม บวกกับสไตล์ของ James Freeman ที่เป็นผู้ประกอบการหัวก้าวหน้า ทำให้เขาได้พบกับ Bryan Meehan ที่ตกหลุมรักกาแฟของ Blue Bottle เข้าอย่างจัง จนนำไปสู่การพบปะนักลงทุนในแวดวงซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งนักลงทุนต่างทึ่งในวิสัยทัศน์ของ Freeman นั่นคือ วิสัยทัศน์เชิงประชาธิปไตย ซึ่งมาจากการรับฟังเสียงของผู้คน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงธุรกิจของตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เดียวกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมีกัน

แม้ว่า Blue Bottle Coffee จะไม่ได้มีสาขาไปทั่วโลกแบบ Starbucks แต่พวกเขาก็สามารถเป็นแบรนด์ที่ผู้คนหลงรักได้ Freeman ยืนยันว่า เป้าหมายของเขาไม่ใช่การรักษาคุณภาพ แต่เป็นการปรับปรุงไปเรื่อย ๆ แม้ว่าธุรกิจจะเติบโตช้าก็ตาม เพราะการขยายตัวเร็วเกินไป อาจทำให้ธุรกิจสูญเสียสิ่งที่ทำให้ผู้คนหลงใหลนับตั้งแต่ที่เปิดสาขาแรก ซึ่งนักลงทุนยังเชื่อมั่นในแนวทางนี้ของ Freeman 

ปัจจุบัน Blue Bottle Coffee มีจำนวน 50 กว่าสาขา และถูกบริษัท Nestle ซื้อไปในเดือนกันยายนปี 2017 ในราคา 500 ล้านเหรียญ

Mar 13, 201921:33
EP 18 - เรื่องราวการก่อตั้ง Lyft ธุรกิจสตาร์ทอัพกับ Passion การลดจำนวนรถบนท้องถนน โดยให้คนแปลกหน้าโดยสารร่วมกัน (ตอนจบ)

EP 18 - เรื่องราวการก่อตั้ง Lyft ธุรกิจสตาร์ทอัพกับ Passion การลดจำนวนรถบนท้องถนน โดยให้คนแปลกหน้าโดยสารร่วมกัน (ตอนจบ)

คุณจะเลือกอยู่ต่อกับบริษัทที่ก่อตั้งมากับมือถึง 5 ปี หรือจะยอมเสี่ยงกับไอเดียโปรเจ็คใหม่ที่เพิ่งเริ่มได้เพียง 3 อาทิตย์

นี่คือคำถามที่บอร์ด และนักลงทุนถาม John Simmer กับ Logan Green ตอนที่ทั้งคู่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคต Zimride ด้วยความที่ Zimride มันเข็นไม่ขึ้นในแง่ของยอดผู้ใช้ พวกเขาลองทำทุกวิถีทางแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จ แน่นอนว่าพวกเขายอมเดิมพันกับ Lyft เพราะอนาคตมันสดใสกว่าจากขนาดของตลาดที่ใหญ่กว่า รวมถึงความถี่การใช้งานที่มากกว่า

START IT UP Podcast - EP 18 บอกเล่าเรื่องราวการตัดสินใจครั้งใหญ่ของสองผู้ก่อตั้ง Zimride ในช่วงที่บริษัทเต็มไปด้วยข้อคำถาม จากการพยายามเพิ่มยอดผู้ใช้ ที่ไม่ได้ผลหลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุดพวกเขาเลือกที่จะหยุด และจัด Hack Day ขึ้น เพื่อหาไอเดียใหม่ที่จะช่วยให้ยอดผู้ใช้เติบโตต่อไปได้ หนึ่งในไอเดียที่ทุกคนอยากทำ คือ Zimride Instant ซึ่งเป็นไอเดียการเรียกรถจากคนใน Comminity ของ Zimride คล้ายกับ Uber มารับและไปส่งยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Lyft

สิ่งที่ Lyft แตกต่างจาก Uber คือ เรื่องประสบการณ์การโดยสารไปกับคนแปลกหน้าที่เป็นมิตรกว่า พวกเขาสร้างวัฒนธรรมใหม่ โดยการให้ผู้โดยสารไปนั่งข้างหน้ากับคนขับ แทนที่จะนั่งข้างหลังแบบ Taxi หรือ Uber เพื่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนเพื่อนร่วมเดินทาง นอกจากนี้ยังมีการทักทายกันแบบ Fist Bump หรือเอากำปั้นชนกันก่อนออกเดินทาง

หลังจากที่รู้แล้วว่าบริษัทควรโฟกัสไปในทิศทางไหน John กับ Logan ตัดสินใจขาย Zimride เพื่อนำเงินทุนมาขยายธุรกิจ Lyft ให้เติบโตมากขึ้น ทั้งหมดเพิ่มเติมเต็มวิสัยทัศน์ และ Passion ของพวกเขาในการลดจำนวนรถบนท้องถนน โดยการลดจำนวนพื้นที่ว่างภายในรถ จากการให้คนแปลกหน้าเดินทางหรือโดยสารไปด้วยกัน พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจากการเดินทางอันยาวนานถึง 5 ปี

Mar 06, 201928:50
EP 17 - เรื่องราวการก่อตั้ง Lyft ธุรกิจสตาร์ทอัพกับ Passion การลดจำนวนรถบนท้องถนน โดยให้คนแปลกหน้าโดยสารร่วมกัน (ตอนแรก)

EP 17 - เรื่องราวการก่อตั้ง Lyft ธุรกิจสตาร์ทอัพกับ Passion การลดจำนวนรถบนท้องถนน โดยให้คนแปลกหน้าโดยสารร่วมกัน (ตอนแรก)

ในตลาดแอพเรียกรถแบบ On-demand ของอเมริกา จะมีเจ้าใหญ่ 2 เจ้า คือ Uber กับ Lyft แม้ว่าบริการทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกัน จนผู้คนต่างสงสัยว่าใครลอกใครก่อน แต่หากเรามาเจาะลึกถึงที่มา และ Passsion ในการเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพของทั้งคู่ แน่นอนว่าไม่มีใครลอกใครก่อน เพราะที่มาของไอเดียนั้นไม่เหมือนกันเลย

ไอเดียการทำ Uber เกิดขึ้นในปลายปี 2008 ช่วงที่ Travis Kalanick ไปงาน Tech Conference ชื่อดังอย่าง LeWeb ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หลังจากจบงาน เขากับ Garrett Camp ต้องเจอกับฝนตกหนัก และรถ Taxi ทุกคันในตอนนั้นปฏิเสธที่จะพาพวกเขากลับโรงแรม ปัญหา Taxi ปฏิเสธลูกค้านี้แหละ ที่เป็นแรงผลักดันใน Travis กลับมาที่อเมริกาและคิดค้นบริการ Taxi ที่ไม่ปฏิเสธลูกค้า และสามารถเรียกได้ทันทีที่ต้องการ

ส่วน Lyft นั้นเป็นโครงการที่มาจากธุรกิจสตาร์ทอัพชื่อ Zimride ที่ Logan Green และ John Zimmer เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Logan มองเห็นปัญหา จากการที่มีรถบนท้องถนนจำนวนมากใน L.A. ซึ่งรถแต่ละคันต่างก็มีผู้โดยสารคนเดียวนั่นคือคนขับรถ ด้วยเหตุนี้ทำให้เขาเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหานี้ โดยการไม่ใช้รถส่วนตัวในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย แต่อาศัยการแชร์รถกับผู้อื่น และใช้บริการขนส่งมวลชน ซึ่งทำให้เขาพบว่าทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่รถส่วนตัวนั้นมันย่ำแย่มาก ๆ 

การเดินทางไปเที่ยวที่ Zimbabwe หลังเรียนจบ จุดประกายให้ Logan อยากนำวิธีที่ผู้คนใน Zimbabwe อาศัยรถคนอื่นโดยสารไปด้วยกัน มาใช้แก้ปัญหาในเมือง Santa Barbara ที่เราอยู่ เขาเริ่มไอเดีย Zimride หรือรถร่วมโดยสารขึ้นในปี 2006 และได้พบกับผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง John Zimmer ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ ในรถยังมีที่ว่างอยู่อีกมาก ทำไมเราไม่ใช้ประโยชน์จากที่ว่างเหล่านั้น เพื่อลดจำนวนรถบนท้องถนน แน่นอนว่าพวกเขาเริ่มต้นไอเดียนี้จากลุ่มเด็กมหาวิทยาลัยก่อน โดยการแชร์รถจากบ้านไปที่มหาวิทยาลัย

Logan และ John ทำ Zimride มาได้ 3 ปี และกำลังถึงจุดคุ้มทุน พวกเขาไปโคกับมหาวิทยาลัย และบริษัทต่าง ๆ ธุรกิจเริ่มอยู่ตัว แต่สองหนุ่มมีความทะเยอทะยานมากกว่านั้น พวกเขาได้เงินทุนรอบ Series A มาเพื่อพา Zimride เขาสู่ตลาดผู้คนทั่วไป แต่ความยาก คือ ผู้คนทั่วไปไม่กลับมาใช้ Zimride ซ้ำ เพราะพวกเขาใช้แค่ปีละ 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น

ทีมงาน Zimride ทำทุกวิถีทางที่จะเพิ่มยอดการใช้ซ้ำ (Retention Rate) แต่ก็ไม่ได้ผล พวกเขากำลังจะทำแอพบนมือถือ แต่บรรดาวิศวกรต่างไม่มั่นใจว่าทำแอพแล้ว มันจะช่วยกู้สถานการณ์ที่ธุรกิจเป็นอยู่ตอนนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะพวกเขาเองก็ไม่กล้าชวนคนรู้จักมาใช้ Zimride ซ้ำเหมือนกัน สัญญาณอันตรายเกิดขึ้นให้ทำ Logan และ John ต้องมาขบคิดว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจสตาร์ทอัพรถร่วมโดยสารนี้มีทางไปต่อได้  นี่คือเรื่องราวคร่าว ๆ ที่คุณจะได้ฟังใน START IT UP Podcast - EP 17 นี้ครับ

Mar 05, 201935:16
EP 16 - วิถีสตาร์ทอัพ: ธุรกิจที่ส่งมอบคุณค่าโดยการแก้ปัญหาให้กับผู้คน

EP 16 - วิถีสตาร์ทอัพ: ธุรกิจที่ส่งมอบคุณค่าโดยการแก้ปัญหาให้กับผู้คน

"Value is created when a person makes something useful and shares it with the world" หรือ 

"คุณค่าเกิดขึ้นเมื่อใครสักคนสร้างบางสิ่งที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา และแบ่งปันมันให้กับโลกใบนี้"

ข้อความจากหนังสือ The $100 Startup ที่สอนให้ผมรู้ว่า ธุรกิจ คือ การส่งมอบคุณค่า และคุณค่านั้น คือ การช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้คน ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ธุรกิจออนไลน์ หรือธุรกิจออฟไลน์

ทำไมธุรกิจจึงต้องเริ่มต้นด้วยปัญหา เพราะปัญหา = โอกาสทางธุรกิจ

ในมุมของธุรกิจสตาร์ทอัพเรามักเจอคำถามว่า ปัญหาของคุณคืออะไร และ "ปัญหาของคุณใหญ่แค่ไหน" คำว่า "ใหญ่" ไม่ได้หมายถึง ความซับซ้อนของปัญหาที่ต้องใช้สมการคณิตศาสตร์ขั้นสูง หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มาแก้ แต่หมายถึง “ขนาดของตลาด” ว่ามีคนประสบปัญหานี้กี่คนเชียวบนโลกใบนี้ ซึ่งธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นเป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้กับผู้คนในวงกว้าง

Garrett Camp และ Travis Kalanick ถูกปฏิเสธจากรถ Taxi ทุกคันในวันที่ฝนตก ณ กรุงปารีส พวกเขาจึงคิด Uber ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา Taxi ที่ชอบปฏิเสธลูกค้า

Kevin Systrom และ Mike Krieger เจอปัญหาแอพถ่ายรูปที่มีอยู่ในตลาดนั้น ถ่ายรูปไม่สวย แชร์รูปลงบนโซเชียลมีเดียหลายตัวพร้อมกันไม่ได้ และอัพโหลดรูปได้ช้า พวกเขาจึงสร้าง Instagram ขึ้นมาเพื่อให้ใครก็ตามแต่สามารถอัพรูปที่สวยงามขึ้นไปอวดเพื่อน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

Danae Ringelmann เคยผู้คุยกับผู้ประกอบการที่มีไอเดียดี แต่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนได้ เธอกับเพื่อนจึงร่วมกันก่อ Indigogo เว็บไซต์ระดมทุนมวลชนชื่อดัง เพื่อช่วยให้ฝันของผู้ประกอบการเหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมาได้

Brian Chesky และ Joe Gebbia เกิดถังแตกในช่วงที่อเมริกาเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจปี 2008 พวกเขาคิดไอเดียหาเงิน โดยการเอาห้องของตัวเองมาปล่อยเช่าให้กับคนแปลกหน้าเข้ามาพัก กลายเป็น Airbnb สตาร์ทอัพที่พักราคาถูก และช่วยให้ผู้คนทำเงินได้จากการปล่อยเช่าห้องพักของตัวเองที่ยังว่างอยู่ได้

Dan Norris ไอ้หนุ่มถังเกือบแตก ก่อตั้ง WPCurve ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาจุกจิกให้กับเจ้าของเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ทุกคนบนโลกตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน

Katherine Krug เจอปัญหาอาการปวดหลังจากการนั่งทำงานนาน ๆ ทุกวัน กอปรกับในตลาดก็ไม่มีตัวเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้เธอหายขาดจากอาการปวดหลังได้ เธอจริงคิดค้น BetterBack ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับตัวเธอเอง และเธอก็คิดว่าไอเดียนี้มีศักยภาพดีพอที่จะเป็นไอเดียเงินล้าน เพราะยังมีผู้คนอีกหลายล้านคนที่ปวดหลังแบบเธอ ดังนั้น Krug จึงลองทดสอบไอเดียกับเว็บไซต์ระดมทุนจากมวลชนนามว่า Kickstarter และต่อมา BetterBack ก็กลายเป็นธุรกิจเงินล้านในที่สุด

นี่คือ ตัวอย่างธุรกิจที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนในวงกว้าง โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ก่อตั้งธุรกิจประสบพบเจอ พวกเขาจะอินเป็นพิเศษ จนนำไปสู่หนทางสร้างนวัตกรรม หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ที่ไม่มีใครแก้มาก่อน และมันก็กลายเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจนถึงขั้นปฏิวัติวงการในหลาย ๆ อุตสาหกรรมเลยทีเดียว  

Mar 04, 201922:49
EP 15 - อดีตพนักงาน Google ขายบ้านราคาครึ่งล้าน เพื่อสานฝันปั้นโคตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์

EP 15 - อดีตพนักงาน Google ขายบ้านราคาครึ่งล้าน เพื่อสานฝันปั้นโคตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์

กัดไม่ปล่อย และคิดใหญ่ คือ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จาก Renee Wang - CEO ของธุรกิจสตาร์ทอัพพอดแคสต์นามว่า CastBox

Renee เกิดในครอบครัวคนจีนฐานะยากจน เธอเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งถึงช่วงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย คือ จุดเปลี่ยนที่ทำให้ผู้หญิงคนนี้รู้จักการเขียนโปรแกรม จากความจำเป็นที่ต้องช่วยแฟนหนุ่มแก้บั๊คส่งการบ้าน

อย่างไรก็ตามตำแหน่งเซลส์ในบริษัทเล็ก ๆ ก็ดูจะไม่เพียงพอสำหรับคนที่มีฝันใหญ่อย่าง Renee เธอไฝ่ฝันที่จะได้เข้าทำงานกับบริษัทระดับโลกอย่าง Google 

แน่นอนว่า Renee ต้องเจอกับความผิดหวังนับครั้งไม่ถ้วน จนกระทั่งพยายามก็เกิดผล เมื่อเธอได้เข้าทำงานกับ Google ในปี 2011

ก่อนที่อีก 4 ปีจะลาออกจาก Google มาแก้ปัญหาส่วนตัวที่เธอพบเจอช่วงต้องนั่งรถไฟไปทำงานที่ออฟฟิศของ Google นั่นคือการค้นหา Content Podcast ดี ๆ ฟังนั้นมันเป็นเรื่องยากเหลือเกิน

เธอสร้างแอพ Podcast ที่ชื่อ CastBox ขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะช่วยให้ผู้คนสามารถค้นหา Content เสียงได้ง่ายขึ้น และมันก็ได้รับความนิยมทันทีในช่วงเดือนแรกที่ปล่อยออกไป มีคนดาวน์โหลดไปใช้ถึง 500,000

Renee ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ใช้มากกว่านี้ การสินใจครั้งใหญ่ที่สุดของเธอ คือ การขายบ้านตัวเอง เพื่อนำมาเป็นทุนให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเธอเดิมพันกับ CastBox ไว้ว่ามันจะกลายเป็น Search Engine สำหรับ Content ประเภทเสียง

CastBox ได้เงินทุนก้อนแรก 1 ล้านเหรียญ และในปี 2017 ได้รับอีก 16 ล้านเหรียญ มีผู้ใช้งาน 7 ล้านคน พร้อมกับปล่อยฟีเจอร์ in-audio search หรือค้นหา Podcast จาก Keyword โดยพวกเขาใช้เทคนิคการถอดคำพูดจากไฟล์เสียงเพื่อทำ Index สำหรับการค้นหาด้วย Keyword

ปัจจุบัน CastBox มีผู้ใช้งาน 15 ล้านคน ในอนาคต Renee คาดการณ์ว่าอุปกรณ์เสียงจะไปอยู่ในรถของผู้คนเช่น Alexa, Google Home, Android Auto และ iOS CarPlay ทำให้คนคุยกับคอมพิวเตอร์มากขึ้น และนั่น คือ โอกาสของ CastBox

Feb 27, 201932:19
EP 14 - Scott Britton กับแนวทางการเป็นผู้ประกอบการคอร์สเรียนออนไลน์ แม้คุณจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็ตาม

EP 14 - Scott Britton กับแนวทางการเป็นผู้ประกอบการคอร์สเรียนออนไลน์ แม้คุณจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็ตาม

ชื่อเสียงทำให้สินค้าของคุณขายง่าย แต่หากคุณเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก คุณจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการปลดล็อคมัน นี่ คือสิ่งที่ Scott Britton ผู้ประกอบการคอร์สเรียนออนไลน์สร้างรายได้ 6 หลักบน Udemy แนะนำครับ

Scott Britton แนะนำว่าต่อให้คุณไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ เรียนจบในศาสตร์นั้น ๆ มา หรือสอบเทียบเพื่อขอใบรับรอง คุณก็สามารถผลิตคอร์สเรียนเพื่อสอนผู้คนได้

ชายคนนี้ ไม่ได้จบแพทย์มา แต่เขาสามารถสร้างคอร์สเรียนออนไลน์ชื่อว่า Sleep Hacking ที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์การนอนของตนเอง คุณค่าที่ Scott ส่งมอบให้กับผู้เรียน คือ ช่วยให้พวกเขาประหยัดเวลาได้อีก 1 ชั่วโมง 30 นาที จากการหลับในตอนกลางคืน ความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้มาจากการวิจัยด้วยตนเอง

เขาแนะนำว่าอินเทอร์เน็ต คือ โอกาสที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนสู่การเป็นผู้ประกอบการ การเป็นผู้สอนได้นั้น คือ คุณเพียงรู้มากกว่าผู้เรียน โดยการนำตัวเองเข้าไปคลุกคลี และวิจัยในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะมีขมวดไปคอร์สสอนในแนวทางของคุณเอง

หากคุณเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก การพาสินค้า (คอร์สเรียน) ไปยังตลาดที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Udemy คือ เรื่องที่ควรทำ เพราะมันช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าจำนวนมหาศาลได้

อย่างไรก็ตาม คุณต้องมีเทคนิคในการเรียกลูกค้าในอนาคต โดยช่วยแรก Scott ยอมแจกคูปองเรียนฟรี ให้กับเพื่อน ๆ และครอบครัวที่เขาคิดว่าสนใจในคอร์สนี้ผ่านทางอีเมล์ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเขียนรีวิวเชิงบวกให้กับเขา ซึ่งเราได้มา 10 รีิวิว

จากนั้นเขาทำการปล่อย Teaser คอร์สตัวนี้ ลงไปใน Social Network เพื่อสร้างการรับรู้แก่เพื่อน ๆ ของเขา รวมถึงการไปโพสต์กระทู้เชิญชวนให้เข้าไปเรียนฟรีในเว็บไซต์ BlackHatForum.com  จนในที่สุดเขาได้ผู้เรียนครบ 1,000 คน จึงหยุดการแจกคูปองเรียนฟรี

การสร้างอัตราเร่งทั้งจำนวนรีวิว และผู้เข้าเรียน คือ ปัจจัยที่อัลกอริทึมของ Udemy ใช้ในการคำนวณ เพื่อจัดอันดับคอร์สเรียนใหม่ ๆ ยิ่งมีจำนวนรีวิว และผู้เข้าเรียนเยอะในช่วง 7 วันแรก คอร์สเรียนใหม่นั้นจะมีโอกาสทะยานขึ้นไปเป็นคอร์สที่ Udemy แนะนำ ซึ่งช่วยดึงดูดให้ผู้เรียนใหม่ ๆ มาลงทะเบียนเรียนมากขึ้น ยิ่งมียอดรีวิว และผู้เข้าเรียนเยอะก็ทำให้คอร์สนั้นดูน่าเชื่อถือ

สำหรับเทคนิคการเรียกยอดรีวิว Scott แนะนำว่าให้ยึดหลักกฎ 10% นั่นหมายถึงจะมีผู้เรียนเพียงแค่ 10% ที่ดูวิดีโอจนจบ เพราะบางคนร้อนวิชาอยากนำความรู้ที่ได้ในช่วงต้น ๆ ไปลองก่อน ดังนั้นเขาจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 Part ให้ ซึ่งการดูจบแต่ละ Part จะมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนรีวิวคอร์สเรียน ถ้าเนื้อหาของคุณดี ผู้คนจะยอมสละเวลา 1 นาที เพื่อรีวิวให้กับคุณ

สำหรับเรื่องการตั้งราคา คอร์สเรียน Sleep Hacking มีราคา 49 เหรียญ แต่ตอนที่แจกคูปองเรียนฟรี Scott ใช้เทคนิคบอกว่า เรียนฟรีจากราคาเต็ม 99 เหรียญ แทนที่จะเป็นเรียนฟรีจากราคาเต็ม 29 เหรียญ แม้ว่ามันจะฟรีเหมือนกัน แต่คนให้ค่ากับสิ่งของที่ราคาสูงกว่า

สุดท้าย คือ การทดสอบการเปลี่ยนชื่อคอร์ส เพื่อดูว่าชื่อแบบไหนดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แน่นอนว่ามันไม่มีสูตรตายตัว แต่คุณสามารถวัดความสนใจของว่าที่ลูกค้าได้โดยใช้ Google Analytics เพื่อวัด Conversion Rate หรืออัตราคนที่เข้ามาดูคอร์สกับคนที่กดสั่งซื้อ

คุณจะเห็นได้ว่าเทคนิคของ Scott นั้นน่าทึ่งมาก ๆ สิ่งสำคัญ คือ กลยุทธ์การให้ก่อนได้รับ เพื่อให้ได้มาซึ่งการพิสูจน์ทางสังคม (Social Proof) บน Udemy คือ จำนวนรีวิว และนักเรียน เพราะจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะช่วยให้คอร์สเรียนของ Scott สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้แบบอัตโนมัติ เรียกได้ว่าเป็น Long Term Marketing อย่างแท้จริงครับ

Feb 21, 201920:07
EP 13 - 5 แหล่งเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเงินล้าน

EP 13 - 5 แหล่งเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเงินล้าน

การเรียนรู้ คือ กุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกคุณไปสู่การเป็นผู้ประกอบการเงินล้าน สิ่งสำคัญ คือ การเลือกให้ถูกต้องว่าคุณควรใช้เวลากับการเรียนรู้จากแหล่งไหนบ้าง

EP 13 ขอนำเสนอ 5 แหล่งเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเงินล้าน ให้กับคนที่สนใจฝีกฝนและพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการครับ

Feb 19, 201913:59
EP 12 - Pat Flynn สถาปนิกตกอับสู่ผู้ประกอบการออนไลน์รายได้กว่า 60 ล้านบาท

EP 12 - Pat Flynn สถาปนิกตกอับสู่ผู้ประกอบการออนไลน์รายได้กว่า 60 ล้านบาท

เรื่องนี้ต้องยกเครดิตให้กับคุณพอล CEOBlog ที่นำเรื่องราวของ Pat Flynn มาตีพิมพ์ให้คนไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของผู้ชายธรรมดาคนหนึ่งที่ก้าวหน้าสุด ๆ ในสายอาชีพสถาปนิกในปี 2006 

ชายคนนี้ติวตัวเองในการพิชิตข้อสอบ LEED AP (ซึ่งยากมาก มีคนสอบผ่านเพียง 35%)  ด้วยการสร้างบล็อกชื่อ Green Exam Academy (GEA) มาเพื่อทบทวนความรู้ก่อนสอบ ทั้งหมดเพื่อช่วยให้เขาไปถึงตำแหน่งงานอันสูงสุดในสายอาชีพนั่นคือ Job Captain หรือหัวหน้าโครงการ

เขาทำมันได้สำเร็จ และขอแฟนแต่งงาน ชีวิตกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ก่อนที่วิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกาจะเล่นงานเขากลายเป็นคนตกงานในปี 2008 

แต่ในวิกฤตก็ยังมีโอกาส ก่อนถึงเส้นตายวันที่ต้องลาออกในอีก 4 เดือนข้างหน้า แรงบันดาลใจจากการฟัง Podcast รายการ Internet Business Mastery (IBM) ช่วยให้ Pat Flynn นึกไปถึงการสร้างรายได้จาก GEA บล็อกที่เขาสร้างขึ้นช่วงติวสอบ LEED AP

โดยเขาไม่เคยทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตมาก่อน นอกจากการประกาศขายของทาง Ebay เหตุการณ์นี้ทำให้ Pat Flynn กลับมาติดตั้งตัว Tracking เพื่อดูว่าจำนวนผู้เข้าชมต่อวันเท่าไหร่ และมาจากที่ไหนบ้าง พอเห็นดังนั้นวิธีทำเงินตัวแรกที่เขาใช้ คือ การติด Google Adsense ไปในบล็อก และมันก็ทำเงินให้เขาได้ วันละประมาณ 30 เหรียญ

ในช่วงนั้นนักจัด Podcast ของ IBM ได้จัด Meeting พบปะผู้ประกอบการออนไลน์ในเมืองที่ Pat Flynn ทำงานอยู่ เขาได้มีโอกาสเข้าร่วม และพบเจอคนที่ทำเงินบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก คนเหล่านั้นทำเงินได้มากกว่าเขา และแน่นอนว่าไม่มีใครใช้ Google Adsense ทำเงิน

พอถึงช่วงแนะนำตัว Pat Flynn ได้บอกเล่าเรื่องราวการทำธุรกิจของเขา คือ ใช้ Google Adsense เป็นหลัก แต่สิ่งที่คนสนใจกว่านั่นคือจำนวนผู้เข้าชมต่อวันในเว็บ GEA ที่มากถึง 6,000 - 7,000 คน พวกเขาแนะนำให้ Pat Flynn เขียน Ebook ขาย สำหรับวิธีพิชิตข้อสอบ LEED AP ที่ตีพิมพ์ในบล็อก ด้วยเหตุผลที่ว่าคนอยากได้ความรู้จบในเล่มเดียว มากกว่าการเสียเวลาไปนั่งหาข้อมูลเป็นอาทิตย์

ในช่วงที่กำลังเขียน Ebook ความลังเลก็ได้ถาโถมเข้ามา โดยคุณพ่อ Pat Flynn แนะนำให้เขาเรียนต่อป.โท ซึ่งถ้าจบมาก็ประจวบเหมาะกับช่วงเศรษฐกิจดีขึ้น แถมได้อัพเงินเดือนเพิ่มขึ้นด้วย จะเขียนหนังสือต่อดี ซึ่งไม่รู้จะขายได้หรือเปล่า หรือไปเรียนต่อ 

แต่ Pat Flynn นึกย้อนไปถึงวันที่เขาโดนเรียกไปโดนไล่ออกจากงาน เขาระลึกได้ว่าชีวิตมันไม่มีอะไรแน่นอน วิกฤตเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เขาควบคุมไม่ได้ ดังนั้นต่อให้เจ๊งก็ขอเจ๊งด้วยมือตัวเองดีกว่า มันไม่มีอะไรจะเสียอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นชายคนนี้จึงลุยเขียน Ebook ต่อจนเสร็จ

ความกลัวกลับเข้ามาอีกครั้ง ตอนที่เขากำลังจะวางขาย Ebook ว่าจะมีคนซื้อหรือไม่ แต่ตอนนี้ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว Pat Flynn จึง Publish Ebook ของเขาขึ้นไปขายในเว็บของตัวเอง 

ในตอนเช้ายอดการสั่งซื้อยังนิ่งอยู่ที่ศูนย์ และแน่นอนว่าตอนที่ชายคนนี้เดินเข้าไปออฟฟิศ และเขาได้เปิดโน๊ตบุ๊คขึ้นมาก็พบอีเมล์ฉบับหนึ่งจาก Paypal ที่แจ้งว่ามีคนสั่งซื้อ Ebook ของเขาแล้วในราคา 19.99 เหรียญ มันคือจุดเริ่มต้นที่น่าตื่นเต้นสุด ๆ สำหรับ Pat Flynn ในเดือนสุดท้ายที่ต้องทำงานในออฟฟิศ

ปิดท้ายเดือนนั้นรายได้ที่ได้จากการขาย Ebook แซงหน้าเงินเดือนไปเกือย 2 เท่า แน่นอนว่า Ebook คือจุดเริ่มต้นในการก้าวมาสู่ชีวิตผู้ประกอบการออนไลน์ของ Pat Flynn อย่างเต็มตัว ปัจจุบันเขาเปิดเว็บไซต์ smartpassiveincome.com  เพื่อให้ความรู้ และแนวทางการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์

credit: ceoblog.co

Feb 15, 201936:54
EP 11 - CEOBlog แรงบันดาลใจในการเริ่มต้นเขียนบล็อก START IT UP

EP 11 - CEOBlog แรงบันดาลใจในการเริ่มต้นเขียนบล็อก START IT UP

จากคนที่เคยเป็นนักอ่านอย่างเดียว สลับบทบาทมาเป็นนักเขียนคอนเทนต์บนโลกอินเทอร์เน็ต อย่างการเป็นบล็อกเกอร์ ว่าแต่ "จะเขียนอะไรดี" นั่นคือคำถามแรกที่ผมถามตัวเองว่าการทำบล็อกเราควรเขียนเรื่องอะไร

ตัวผมเองมี Passion มากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี สตาร์ทอัพ เกม ภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรม หรือการออกแบบ UI/UX สำหรับแอพ 

สำหรับผม ผมลองเขียนเกือบทุกหมวดที่ผมสนใจ แต่หมวดไหนที่เราสามารถทนอยู่กับมันได้ทุกวัน และรู้สึกดีเวลาที่เขียนมัน ผมเลือกเรื่องนั้น โดยเฉพาะเรื่องราวของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ แนวทางการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ เพราะผมรู้สึกว่ายังมีเรื่องราวดี ๆ ของผู้ประกอบการอีกมากมายบนโลกนี้ ที่เราสามารถบอกเล่าเพื่อนำไปปรับใช้ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นได้

EP 11 ขอพาคุณผู้ฟังย้อนกลับไปช่วงก่อนที่ผมจะตัดสินใจลงมือเขียนบล็อก ผมได้แรงบันดาลใจมาจากเว็บ ๆ หนึ่งที่ชื่อว่า CEOBlog หรือ The CEO Blogger (ชื่อในอดีต) ในนั้นมีบทความที่เล่าถึงแนวทางการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ได้อย่างเหลือเชื่อ เขียนโดยคุณพรพรหม กฤดากร หรือคุณพอล เป็นเจ้าของเว็บไซต์

สารภาพตามตรง ผมไม่เจอเว็บไซต์ที่มีการเล่าเรื่องสไตล์นี้ในไทยมาก่อน และยิ่งยากเข้าไปอีกสำหรับเรื่องของการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์มีรายได้จากการเขียนบล็อก คน ๆ นี้กล้าฉีกแนว จากภาพลักษณ์เดิม ๆ ของการทำธุรกิจออนไลน์ในความคิดของคนทั่วไป เช่น การมีรายได้จากการติดโฆษณา การทำ Affiliate หรือการทำ Dropship

แนวทางของคุณพอล คือ ไม่ใช่แนวที่รวยเร็ว แต่เป็นแนวทางที่เน้นคุณค่า และสร้างความยั่งยืนมากกว่า โดยเฉพาะการสร้าง Digital Assets เป็นของตัวเอง และส่งมอบคุณค่าความรู้หรือทักษะที่ตนเองมีวางขายในรูปแบบ Information Product

การอ่านบทความจาก CEOBlog ทำให้ผมตกผลึกบางอย่างทางความคิด เกี่ยวกับแนวทางการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ และเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมตัดสินใจเปิดบล็อก START IT UP ขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ไปศึกษา เรื่องราวของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพคนอื่น ๆ  ว่าเข้าประสบความล้มเหลวเช่นเดียวกับที่ผมเจอในการทำสตาร์ทอัพตัวแรกหรือไม่ แน่นอนว่าผู้ประกอบการเหล่านั้นล้มเหลวมาก่อน เพียงแต่พวกเขาไม่ยอมแพ้ ก่อนที่จะพิชิตคำดูถูกต่าง ๆ และประสบความสำเร็จในที่สุด

ผมได้แต่อึ้งเวลาที่อ่านเรื่องราวของผู้ประกอบการเหล่านั้น และผมคิดว่าเรื่องราวของพวกเขานี้แหละที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คน ดังนั้น START IT UP จึงเป็นทั้งพื้นที่ที่ผมใช้ศึกษาแนวทางการทำธุรกิจ และส่งต่อแรงบันดาลใจของเจ้าของเรื่องราวเหล่านั้นให้กับผู้คนที่สนใจ

ผมหวังว่า EP 11 นี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณผู้ฟังได้ไม่มากก็น้อย ในการทำบางสิ่งที่เป็นการส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในอนาคตครับ

Feb 13, 201925:16
EP 10 - แชร์ประสบการณ์ความล้มเหลวจากการทำสตาร์ทอัพตัวแรก Letzwap

EP 10 - แชร์ประสบการณ์ความล้มเหลวจากการทำสตาร์ทอัพตัวแรก Letzwap

"Most startups don't fail at building product. They fail at acquiring customers" หรือ สตาร์อัพส่วนใหญ่ไม่ได้ล้มเหลวในการสร้าง Product แต่พวกเขาล้มเหลวในการหาลูกค้าต่างหาก

ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยเป็นแบบในวลีข้างต้น คือ เป็นคนที่ต้องการสร้าง Product เพื่อเปลี่ยนโลก แต่ไม่ได้คำนึงถึงการทำธุรกิจ สุดท้ายเราได้แอพหนึ่งตัว แต่เราไม่ได้ทำธุรกิจ

ผมไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน และไม่เคยรู้จักกับการสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบไอเดียธุรกิจกับตลาด สิ่งที่ผมทำมาจากการอยู่ในหมวกของนักพัฒนาในองค์กร ที่ต้องทำแอพหรือเว็บไซต์ที่สมบูรณ์พร้อมส่งให้ลูกค้า (ธุรกิจอื่นที่มาจ้าง) ใช้งาน โดยที่เราแทบไม่เคยไปสัมผัสกับผู้ใช้ปลายทางของธุรกิจเหล่านั้นเลย

จุดเริ่มต้นจากการที่ผมฝึกเขียนแอพ Android ตัวแรก ชื่อ Hi Santa การปล่อยขึ้น Play Store แล้วมาคนมาใช้งานจริง เป็นเด็ก ๆ ที่เขียนจดหมายหาคุณซานต้าในชีวิตของพวกเขา มันทำให้ผมรู้ว่าชีวิตของตัวเองมันถูกเติมเต็มจากสิ่งที่เราทำ

เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกไปถึงการสร้าง Product ที่มีผลกระทบต่อผู้คน แบบที่มาร์ค ซัคเคอร์เบอร์กทำในช่วงแรก (การเชื่อมผู้คนเข้าด้วยกัน) ผมได้ไอเดียจากการไปห้องน้องมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง แล้วเห็นหนังสือที่เขาวางไว้ฝุ่นจับ ผมจึงเกิดไอเดียอยากทำแอพสำหรับเป็นตัวกลางในการแลกหนังสือ ก่อนที่จะต่อยอดมาเป็นแลกอะไรก็ได้

สตาร์ทอัพตัวแรกของผม คือ Letzwap มันเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้คนสามารถนำของที่ไม่ได้ใช้แล้ว โพสต์ขึ้นไปเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้ แนวคิดมันฟังดูดี แต่ไม่มีวิธีการสร้างรายได้ให้กับตัวธุรกิจ แอพตัวนี้ผมใช้เวลาพัฒนา 8 เดือน ปล่อยไป 4 เดือนผมก็ต้องหยุดให้บริการ เพราะผู้คนที่ช่องทางแลกของที่สะดวกกว่านั้น นั่นคือ Facebook Group

EP 10 เป็นการแชร์ประสบการณ์ของผมเอง ในการทำสตาร์ทอัพตัวแรก ซึ่งมันล้มเหลวครับ และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผมลุกขึ้นมาเขียนบล็อก startitup.in.th เพื่อค้นหาแนวทางในการทำสตาร์ทอัพให้กับตัวเอง หากคุณชอบเรื่องราวแบบนี้ฝากกดไลค์ หรือแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้คน Podcast คนนี้ด้วยนะครับ

Feb 12, 201951:09
EP 9 - ไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มต้นอีกครั้ง สำหรับ Kevin Systrom ผู้ให้กำเนิด Instagram

EP 9 - ไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มต้นอีกครั้ง สำหรับ Kevin Systrom ผู้ให้กำเนิด Instagram

Kevin Systrom คือ ชายคนหนึ่งที่สอนให้ผมรู้ว่า "ไม่มีคำว่าสาย ในการทำสิ่งที่ใจเราเรียกร้อง" ผู้ชายคนนี้เคยยอมแพ้กับการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาเรียนได้ไม่ดี แม้ว่าตัวเขาเองจะชอบเขียนโปรแกรมมาก ๆ ก็ตาม 

อย่างไรก็ดีการได้ไปฝึกงานที่ Odeo (บริษัทที่จะกลายเป็น Twitter ในอนาคต) ได้จุดประกายความเป็นผู้ประกอบการให้กับ Kevin เขาต้องการมี Product เป็นของตัวเอง และเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างผลกระทบในยุคอินเทอร์เน็ต

การได้เข้าทำงานกับ Google และลาออกมาอยู่กับธุรกิจสตาร์ทอัพเล็ก ๆ อย่าง Nextstop ในช่วงนั้นเขาได้ใช้ช่วงกลางคืน และวันหยุดรื้อฟื้นทักษะการเขียนโปรแกรมของตัวเองอีกครั้ง ทั้งหมดเพื่อนำไปสู่ความฝันที่ต้องการมี Product เป็นของตัวเอง

Kevin เปิดตัวกับแอพ Burbn ที่มีฟีเจอร์เช็คอินคล้ายกับ Foursquare ที่ฮิตมาก ๆ ในยุคนั้น จนทำให้เขาได้เงินลงทุนจากนักลงทุนมา 500,000 เหรียญ

เขาลาออกจากงานประจำ และลุยธุรกิจสตาร์ทอัพเต็มตัวกับผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Mike Krieger ทั้งคู่พัฒนาแอพ Scotch แต่ก็ต้องล้มเลิกไป ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี และบัคส์ต่าง ๆ 

การที่เสียเวลากับแอพ Scotch ทำให้ Kevin ไม่ต้องการเริ่มจากศูนย์ใหม่ พวกเขาย้อนกลับไปที่แอพ Burbn และตัดฟีเจอร์ต่าง ๆ ออกให้หรือฟีเจอร์สำหรับการถ่าย และแชร์รูปเท่านั้น และในที่สุดก็ได้แอพ Instagram

8 อาทิตย์ คือ ระยะเวลาที่ใช้พัฒนา การปล่อยแอพออกไปเพียงสัปดาห์แรกก็มีผู้ใช้ดาวน์โหลดมากถึง 1 แสนคน และแตะ 1 ล้านคนในระยะเวลา 1 ปี

Instagram ได้รับเงินลงทุน 2 รอบ คือ Series A และ B ทำให้ธุรกิจมีมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ หลังจากรับเงินรอบล่าสุดเพียงแค่ 4 วัน Facebook ประกาศซื้อกิจการ Instagram ในราคา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันแม้ว่า Kevin Systrom กับ Mike Krieger ได้ออกจาก Facebook เพื่อไปหาความท้าทายใหม่แล้ว แต่เรื่องราวจุดเริ่มต้นของ Kevin Systrom กับ Instagram ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนเสมอ ในการเริ่มต้นทำตามฝัน แม้ว่าจะเริ่มแบบเล็ก ๆ ก็ตาม แต่หากคุณมีความต่อเนื่อง สักวันคุณจะเห็นความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่จากความพยายามเหล่านี้แน่นอน

Feb 08, 201923:29
EP 8 - จากธุรกิจขายเมล็ดกาแฟ สู่แบรนด์ร้านกาแฟมูลค่าพันล้าน บทเรียนการทำธุรกิจจาก CEO Starbucks

EP 8 - จากธุรกิจขายเมล็ดกาแฟ สู่แบรนด์ร้านกาแฟมูลค่าพันล้าน บทเรียนการทำธุรกิจจาก CEO Starbucks

สตาร์บัคส์ทำอย่างไรถึงครองใจคนทั่วโลกได้ แรงบันดาลใจจากการไปเที่ยวอิตาลีของ  Howard Schultz ที่เห็นบาร์กาแฟที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ทำให้เขาคิดที่จะนำแนวคิดนี้มาเปิดร้านกาแฟที่อเมริกาด้วย 

โดยการชักจูงให้เจ้าของธุรกิจสตาร์บัคส์เดิมที่เน้นแต่การขายเมล็ดกาแฟ ให้ลองเปิดร้านกาแฟดู และปรากฏว่าได้รับผลตอบรับที่ดี แต่เจ้าของสตาร์บัคส์ไม่กล้าที่จะเสี่ยงกับธุรกิจร้านกาแฟ Schultz จึงลาออกแล้วไปเปิดร้านกาแฟของตัวเองก่อนที่จะประสบความสำเร็จ แล้วกลับมาซื้อธุรกิจสตาร์บัคส์ในที่สุด

จากความแร้นแค้นในวัยเด็กของ Howard Schultz ทำให้สตาร์บัคส์เป็นธุรกิจร้านกาแฟที่ไม่ได้มุ่งหวังแค่ผลกำไร แต่ยังขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นด้วย พวกเขามีประกันสุขภาพให้ทั้งพนักงานประจำ และพนักงาน Part-time รวมถึงทุนการศึกษาสำหรับพนักงานในสาขาอเมริกา

พวกเขานำแนวคิดบ้านหลังที่ 3 นี้ขยายไปทั่วโลก ปัจจุบันมีสตาร์บัคส์เกือบ 30,000 สาขาทั่วโลก และธุรกิจมีมูลค่าประมาณ 30 พันล้านเหรียญ

Feb 07, 201920:04
EP 7 - ทำอย่างไร Airbnb จึงสามารถขยายธุรกิจไปทั่วโลกได้ 4 บทเรียนจาก Brian Chesky
Feb 06, 201926:19
EP 6 - Dan Norris กับแนวทางการทำสตาร์ทอัพให้สำเร็จใน 7 วัน

EP 6 - Dan Norris กับแนวทางการทำสตาร์ทอัพให้สำเร็จใน 7 วัน

The 7 Day Startup: You Don’t Learn Until You Launch โดย Dan Norris คือ หนังสือที่ตบแนวทางการทดสอบสมมติฐานในหนังสือ The Lean Startup ของ Eric Ries ได้กระจุยเล่มหนึ่งทีเดียว

หากใครเคยอ่าน The Lean Startup มาก่อน หัวใจสำคัญของเล่ม คือ วงจร Build-Measure-Learnหรือการตั้งสมมติฐานขึ้นมาเพื่อทดสอบ วัดผล และเรียนรู้จากสิ่งที่ได้ คล้ายกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมดนำไปสู่การลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในธุรกิจสตาร์ทอัพให้มากที่สุด

แต่ในเคสของ Dan เขาไม่มีเวลามาพอที่จะมาตั้งและทดสอบสมมติฐานในการสร้างธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) เนื่องจากเงินกำลังจะหมด และเขาเองต้องเตรียมตัวย้ายเมืองเพื่อหางานใหม่

สถาณการณ์ที่บีบบังคับเช่นนี้ทำให้ Dan ตัดสินใจปล่อย Product ออกไปก่อนแล้วค่อยมาเรียนรู้ทีหลังจากผลตอบรับที่ได้จากลูกค้าจริง โดยใช้เวลาเพียง 7 วัน เพื่อพิสูจน์ความสำเร็จของธุรกิจได้

Feb 04, 201912:40
EP 5 - ชายผู้ไม่ยอมแพ้ Ben Silbermann ผู้ให้กำเนิด Pinterest โซเชียลเน็ตเวิร์กปักหมุดภาพชื่อดัง

EP 5 - ชายผู้ไม่ยอมแพ้ Ben Silbermann ผู้ให้กำเนิด Pinterest โซเชียลเน็ตเวิร์กปักหมุดภาพชื่อดัง

EP 5 นี้ ขอเล่าเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ยอมลาออกจากงานประจำที่บริษัทไอทีชื่อดังอย่าง Google เพื่อทำตามความฝันของตัวเอง คือ ต้องการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ แม้จะเจอกับอุปสรรค และความผิดหวัง เขาไม่เคยคิดที่จะยอมแพ้ แต่กัดฟันเดินหน้าต่อจนประสบความสำเร็จมาเป็น Pinterest ให้เราได้ใช้จนถึงทุกวันนี้ และนี่ คือ เรื่องราวของ  Ben Silbermann ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO ของ Pinterest ครับ

Feb 03, 201918:30
EP 4 - Nick Walter แรงบันดาลใจจาก The 4-Hour Work Week สู่ธุรกิจคอร์สออนไลน์หลักร้อยล้าน

EP 4 - Nick Walter แรงบันดาลใจจาก The 4-Hour Work Week สู่ธุรกิจคอร์สออนไลน์หลักร้อยล้าน

เรื่องราวของ Nick Walter เด็กหนุ่มวัย 25 ปี ผู้พิสูจน์ไอเดียคอร์สสอนทำแอพไอโฟนบน Kickstarter จนประสบความสำเร็จในปี 2014 ซึ่งเป็นปีที่ Apple ประกาศใช้ภาษา Swift ในการพัฒนาแอพบน iOS เด็กหนุ่มคนนี้เห็นโอกาส แล้วกระโจนเข้าไปทันที

ปัจจุบัน Nick เป็นเจ้าของคอร์สเรียนออนไลน์บน Udemy สอนเขียนโปรแกรมกว่า 28 คอร์ส และมีนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนกว่า 120,000 คน เด็กคนนี้ได้แรงบันดาลใจการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการศึกษาจากหนังสือ The 4-Hour Work Week ของ Tim Ferriss 

ผมเชื่อว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีให้กับใครหลายคน เลยหยิบนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

คอร์สเรียนต่าง ๆ ของ Nick Walter คุณสามารถดูได้ที่นี่ครับ https://www.udemy.com/user/nicholaswalter2/

Feb 02, 201918:58
EP 3 - Airbnb เป็นธุรกิจที่น่าทำหรือไม่ วิเคราะห์จุดแข็ง และข้อจำกัด
Feb 01, 201915:17
EP 2 - 5 ไอเดียเงินล้านจากธุรกิจทำงานที่บ้าน

EP 2 - 5 ไอเดียเงินล้านจากธุรกิจทำงานที่บ้าน

พูดคุย 5 ไอเดียสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจคนเดียวจากที่บ้าน
1. การคิด Product ที่ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคุณเอง
2. เข้าใจ Niche และสร้างร้านค้าออนไลน์ของคุณ
3. ขยายทักษะของคุณผ่านเทคโนโลยี
4. สร้างคอร์สเรียนออนไลน์
5. ตีพิมพ์อีบุ๊ค

Jan 30, 201922:15
EP 1 - มารู้จักกับ Airbnb ธุรกิจให้เช่าที่พักที่ใหญ่ที่สุดในโลก

EP 1 - มารู้จักกับ Airbnb ธุรกิจให้เช่าที่พักที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สวัสดีครับ Podcast EP ที่ 1 ของ START IT UP กับการพูดคุยเกี่ยวกับ Airbnb จากไอเดียธุรกิจที่ฟังดูบ้า คือ การทำให้คนทั่วไปสามารถแบ่งปันหรือให้เช่าที่พักแก่คนแปลกหน้าทั่วโลกได้ สู่การกลายเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น หรือมีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญ ซึ่ง Airbnb ถือเป็นหนึ่งธุรกิจที่สร้างการเปลี่ยนแปลง และพลิกโฉมอุตสาหกรรมโรงแรมไปตลอดการ จะเป็นอย่างไรมาติดตามกันได้เลยครับ

Jan 29, 201918:40